18598 : โครงการอบรมพื้นฐานอาชีพครูฝึกสุนัข
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/7/2565 13:39:01
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/06/2565  ถึง  31/08/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  33  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 33 คน ประกอบด้วย 11.1 ประชาชนทั่วไป อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ2565 2565 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร. พชรพร  ตาดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ไพโรจน์  พงศ์กิดาการ
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล สุนัขถูกนำมาเลี้ยงโดยมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยเริ่มแรกสุนัขถูกฝึกสอนเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงานโดยเฉพาะการหาของป่า ช่วยต้อนฝูงสัตว์ ล่าสัตว์ และเก็บซากสัตว์ที่ถูกล่า ปัจจุบันสุนัขถูกเพิ่มความสำคัญจากสัตว์เลี้ยงกลายเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว สุนัขจึงจำเป็นต้องปรับตัวและเรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับสังคมมนุษย์ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมโดยธรรมชาติของสุนัขบางตัวหรือบางสายพันธุ์์อาจมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ได้แก่ พฤติกรรมทำลายข้าวของและทรัพย์สิน เห่าโดยไม่มีสาเหตุ พฤติกรรมดุร้าย ทำร้ายสุนัขตัวอื่น เจ้าของ หรือเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจเกิดจากการที่ไม่ได้รับการฝึกหรือปรับพฤติกรรมตั้งแต่เด็ก เป็นสุนัขจรจัดมาก่อน หรือไม่เคยเข้าสังคมกับสุนัขตัวอื่น เมื่อสุนัขรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือวิตกกังวลจึงส่งผลให้สุนัขแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามสุนัขเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณในการเรียนรู้และทำตามคำสั่ง สามารถนำมาฝึกสอนให้มีพฤติกรรมที่ดีได้ ดังนั้นการฝึกสอนพฤติกรรมที่ดีให้กับสุนัขจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของสุนัขควรให้ความสำคัญเพื่อให้สุนัขเรียนรู้กฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันกับมนุษย์และสุนัขในฝูงอย่างมีความสุขและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ปัจจุบันการฝึกสุนัขมีหลากหลายรูปแบบอย่างไรก็ตามเจ้าของสุนัขหรือผู้ฝึกสอนสุนัขจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการฝึกรวมถึงเข้าใจพฤติกรรมตามธรรมชาติของสุนัขเพื่อให้การฝึกสุนัขมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการนี้ ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้พฤติกรรม สุนัขและการฝึกสุนัขที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานของอาชีพครูฝึกสุนัข จึงได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมพื้นฐานอาชีพครูฝึกสุนัขเพื่อให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงเจ้าของสุนัขสามารถฝึกสุนัขของตนเองให้เชื่อฟังคำสั่งเบื้องต้น มีความเข้าใจในหลักการปรับพฤติกรรมสุนัข รวมถึงรู้จักอาชีพครูฝึกสุนัขเพื่อนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เลี้ยงสุนัขสามารถจัดระเบียบพฤติกรรมของสุนัขได้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี เพื่อให้ประชาชนและผู้เลี้ยงสุนัขมีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมสุนัขและสามารถฝึกสอนสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธี เพื่อสร้างความตระหนักถึงความรับผิดชอบในการเลี้ยงสุนัข ลดการทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการอบรมพื้นฐานอาชีพครูฝึกสุนัข
KPI 1 : ค่่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10000 บาท 10000
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
33 คน 33
KPI 4 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากและมากที่สุด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการอบรมพื้นฐานอาชีพครูฝึกสุนัข
ชื่อกิจกรรม :
โครงการอบรมพื้นฐานอาชีพครูฝึกสุนัข

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2565 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.พชรพร  ตาดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างแลเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 48 คน ๆ ละ 35 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 1,680 บาท

ค่าเช่าสถานที่ฝึกอบรม 1 วัน เป็นเงิน 2,950 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,630.00 บาท 4,630.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท เป็นจำนวนเงิน 2,400 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆ ละ 1 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นจำนวนเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ


ค่าจ้างเหมาจัดทำประกาศนียบัตร จำนวน 33 ชิ้น ๆ 15 บาท เป็นเงิน 495 บาท

วัสดุสำนักงาน 1,275 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,770.00 บาท 1,770.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. อันตรายจากสัตว์ที่นำมาใช้ฝึกปฏิบัติ เช่น โดนกัด ข่วน 2. การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. สัตว์ที่นำมาใช้ฝึกปฏิบัติได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า และเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความคุ้นเคยกับคน 2. ผู้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติและวิทยากรต้องตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ COVID-19 Rapid Antigen Test Kit (ATK) ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล