18551 : โครงการสร้างผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/7/2565 17:08:18
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
22/07/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  5  คน
รายละเอียด  นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากเงินรับฝาก (งบประมาณเพื่อส่งเสริมและผลักดันการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 2565 5,300.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อิศรา  วัฒนนภาเกษม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.4 งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-6. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 65-6.2 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 65-6.2.3 งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่
กลยุทธ์ 65-6.2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ตอบสนองการพัฒนาประเทศ เพื่อของบประมาณสนับสนุนทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การนำเอา เซลล์ โพรโทพลาสต์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของพืชมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น อุณหภูมิ และแสงสว่างเป็นต้น ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคือการเพิ่มจำนวนต้นพืชได้เป็นทวีคูณในระยะเวลาอันสั้น และต้นที่ได้จากการขยายพันธุ์จะมีลักษณะเหมือนต้นพันธุ์เดิมทุกประการ เพราะได้มาจากเซลล์ร่างกาย อีกทั้งเทคนิคดังกล่าวยังถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาวิชา ทช 351 เทคโนโลยีชีวภาพพืช ของสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการผลิตพืชเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการขยายพันธุ์หรือการปรับปรุงพันธุ์พืช ความเจริญก้าวหน้าของเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การขยายตัวของธุรกิจการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ ทำให้ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตต้นพันธุ์ ที่เหมาะสม ดังนั้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งในภาครัฐที่จะนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนแก่นิสิตและนักศึกษา หรือแม้แต่ภาคธุรกิจเอกชน อาทิ เจ้าของกิจการสวนไม้ดอกไม้ประดับ และฟาร์มกล้วยไม้ รวมไปถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป กอปรกับสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดสอนรายวิชา ทช 351 เทคโนโลยีชีวภาพพืช ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 15 ปีจนถึงปัจจุบัน มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พร้อมเพรียง และมีคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการเรียนการสอน และการวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นอกจากนั้นทางหลักสูตรยังเล็งเห็นความสำคัญของการบัญชีและการเงิน ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ ธุรกิจจะสามารถแข่งขันและประสบความสําเร็จได้ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่ระบบข้อมูลทางบัญชีการเงินที่ถูกต้องและทันเวลา ซึ่งงานบริหารงานของผู้ประกอบการคือการวางแผน ควบคุมการทำงานและการตัดสินใจ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมีข้อมูลที่ดีเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ และข้อมูลทางการบัญชี เช่น ผลการดําเนินงาน ฐานะการเงินของกิจการ ความสามารถในการทํากําไรของแผนกหรือของสินค้าแต่ละประเภท ต้นทุนต่อหน่วย การกำหนดราคาขาย การกำหนดจุดคุ้มทุน การวางแผนภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ล้วนแล้วเป็นข้อมูลทางบัญชีและการเงินที่มีความหมายต่อการบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องการทราบข้อมูลทางการบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อใช้ในการวางแผนการดําเนินธุรกิจในอนาคต ควบคุมปัจจัยต่าง ๆ และตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายองค์กรได้อย่างมั่นใจ ดังนั้นสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร และสาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เล็งเห็นว่า การจัดทำหลักสูตรการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรในสถานศึกษาที่จะได้นำเทคนิควิธีการดังกล่าว ไปถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิชาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ประกอบการด้านการเกษตรและประชาชนที่สนใจ จะสามารถนำหลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายและต้นทุนต่ำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์เชิงพาณิชย์และต่อชีวิตประจำวัน จึงเห็นสมควรจัดทำหลักสูตรปฏิบัติการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในเชิงพาณิชย์ขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และสามารถนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปผลิตพืชเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
2. เพื่อสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ที่เกิดจากงบประมาณสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯได้รับการสนับสนุน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการสร้างผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 คน 5
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการสร้างผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
ชื่อกิจกรรม :
การสร้างผู้ประกอบการด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 22/07/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร  อายุมั่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เอกอาทิตย์  ฤทธิเดชยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สรียา  ทรัพย์ศิริ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สิริยุพา  เลิศกาญจนาพร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์กรรณิการ์  มอญแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 11 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 2,310 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 11 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 2,640 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 350 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,300.00 บาท 5,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5300.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล