18370 : โครงการรวบรวมพันธุกรรมพืชกระท่อม (Kratom) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 23/9/2565 9:20:54
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์ (Go Eco U.)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/05/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  70  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษาทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย บุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เครือข่ายศิษย์เก่าแม่โจ้ ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อม
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ได้ใช้งบประมาณ 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ฐิระ  ทองเหลือ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พืชกระท่อม (Mitragyna speciosa) เป็นพืชถิ่นพบในบริเวณแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชอบขึ้นในบริเวณป่าดิบชื้น ริมลำธาร ในประเทศไทยพบมากในภาคใต้โดยชาวบ้านปลูกภายในบริเวณบ้าน ในร่องสวนหรือทุ่งนาและในป่าธรรมชาติ นอกจากนั้นยังพบได้ในภาคกลาง เช่น จังหวัดปทุมธานี และอยุธยา ได้มีความพยายามที่จะศึกษาและพัฒนาพืชกระท่อมในหลายประเทศโดยการสกัดเพื่อนำไปใช้ในการแพทย์ เนื่องจากมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดและมีแนวโน้มในการพัฒนาไปเป็นยาแก้ปวดเช่นเดียวกับมอร์ฟีน นักวิจัยชาวญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการหาโครงสร้างยาที่มีแนวโน้มพัฒนาให้เป็นยาแก้ปวดและได้จดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้วนับตั้งแต่การค้นพบสาร Mitragynine ในใบกระท่อม จนถึงปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสนใจและศึกษาเคมีของสาร Mitragynine อย่างมาก ด้วยเห็นว่าสารที่มีโอกาสพัฒนาให้เป็นยาแผนปัจจุบันได้ แต่จำเป็นต้องศึกษา ให้รอบด้านก่อนการนำไปใช้จริงกับผู้ป่วย (สาวิตรี และคณะ,2563) กระท่อมถือเป็นยาเสพติดประเภท 5 เช่น เดียวกับกัญชา การมีไว้ในครอบครองถือว่าผิดกฎหมายและเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม 2564 ได้มีประกาศในพระราชราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 การปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษและมีผลบังคับใช้อีก 90 วัน จากพระราชบัญญัติดังกล่าวทำให้ทิศทางของพืชกระท่อมกลายเป็นพืชที่มีโอกาสที้จะพัฒนาให้มีมูลค่าสูงมากยิ่งขึ้น ประกอบกับที่ผ่านทาง ปปส. ได้ประกาศให้ 135 หมู่บ้าน/ชุมชน เป็นพื้นที่นำร่อง ที่ได้รับอนุญาตให้เสพและครอบครองพืชกระท่อม ตามมาตรา 58/2 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) (มติชนออนไล,2564) มหาวิทยาแม่โจ้-ชุมพรโดยศูนย์เกษตรสุขภาวะ (Well-being Agriculture Center) ร่วมกับชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ ได้มีความเห็นตรงกันที่จะรวบรวมพันธุกรรมพืชกระท่อมที่มีอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ เพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญในการพัฒนาต่อยอดเพื่อการวิจัยและการส่งเสริมให้กับเกษตรกรในอนาคต รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมที่สำคัญที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากพืชกระท่อมเป็นพืชที่มีการใช้เป็นพืชสมุนไพร มาอย่างยาวนาน "การรวบรวมพันธุกรรมพืชกระท่อม" จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชกระท่อมที่มีอยู่ในแต่ละจังหวัดผ่านเครือข่ายความร่วมมือจากศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในแต่ละจังหวัดและเครือข่ายอื่นๆ เพื่อให้เป็นแหล่งพันธุกรรมหลักของประเทศต่อไป โครงการรวบรวมพันธุกรรมพืชกระท่อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงมีเป้าหมายเพื่อเก็บรวบรวมพันธุกรรมจากทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตต่อไป โดยโครงการดังกล่าวจะดำเนินการตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป โดยจะดำเนินการรวบรวมพันธุกรรมพืชกระท่อมไว้ ณ แปลงเกษตรอินทรีย์ มหวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ภายใต้พื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ โครงการ Well-being@Chumphon ตามยุทธศาสตร์พัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ 100 ปี

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อรวบรวมพันธุกรรมพืชกระท่อมจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญของประเทศ
เพื่อการพัฒนาวิจัยและศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต และการใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืชกระท่อมจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ
เพื่อความร่วมมืออันดีในการสร้างคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรกับศิษย์เก่าในภูมิภาคต่างๆ
เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องพันธุกรรมพืชกระท่อมของภูมิภาคต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แปลงเกษตรอินทรีย์ ต้นแบบในการผลิตกระท่อมอินทรีย์ โดยมีอาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ และคณะทำงานศูนย์เกษตรสุขภาวะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
KPI 1 : การรวบรวมต้นพันธุ์กระท่อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 ต้น 200
KPI 2 : แปลงอนุรักษ์พันธุกรรมสายพันธุ์กระท่อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แปลง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แปลงเกษตรอินทรีย์ ต้นแบบในการผลิตกระท่อมอินทรีย์ โดยมีอาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ และคณะทำงานศูนย์เกษตรสุขภาวะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
ชื่อกิจกรรม :
เกิดแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมสายพันธุ์กระท่อม 1 แปลง เพื่อเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ ต้นแบบในการผลิตกระท่อมอินทรีย์ โดยมีอาจารย์ดร.ฐิระ ทองเหลือ และคณะทำงานศูนย์เกษตรสุขภาวะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 23/09/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ฐิระ  ทองเหลือ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-สภาพดินทรายและขาดปัจจัยการผลิต เช่นปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ต่างๆ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ขอสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานภาคนอก
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การศึกษาพืชกระท่อมอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การขยายพันธุ์พืชกระท่อม วิชา กช.321 เศรษฐกิจพอเพียง ศท.304 ศาสตร์และศิลป์แห่งปัญญาชน เรื่องทักษะการประกอบอาชีพเกษตร การสื่อสาร ศท.013 สุขภาพเพื่อการดำรงชีวิต การผลิตอาหารปลอดภัย
ช่วงเวลา : 01/10/2564 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล