18354 : โครงการธนาคารผึ้งชันโรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/5/2565 16:49:59
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/05/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  - เป็นเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร และหรือบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตร (ยาฆ่าหญ้า/ยาฆ่าแมลง) - มีความสนใจร่วมอนุรักษ์ผึ้งชันโรง - ต้องการเลี้ยงผึ้งชันโรงเพื่อช่วยผสมเกสร - มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. จักรกฤช  ณ นคร
อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลดรงค์  ทองสง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์
น.ส. ตรีชฎา  สุวรรณโน
อาจารย์ ดร. บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์
อาจารย์ ดร. พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.4 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขตEco Community & Tourism
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.10 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.4.3 สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.6 ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.3 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขต Eco Community & Tourism
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 4. สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.3 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 39. ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517) “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอ กิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517) (อ้างอิงจาก : https://www.chaipat.or.th/site_content/item/1309-2010-06-03-09-50-07.html ) พระราโชวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 ในการประชุม สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใจความตอนหนึ่ง ว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เริ่มต้นขึ้นราวปีพุทธศักราช 2535 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ และบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงานที่ศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้ และเพื่อให้เป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่าง ๆ บุคคลต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถ ร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการไปก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้” (อ้างอิงจาก : http://202.29.80.110/ความเป็นมาของโครงการ/) ชันโรงสิรินธร ชันโรงชนิดใหม่ของโลก (Trigona sirindhornae Michener & Boongird, 2003) ค้นพบโดย ดร.สมนึก บุญเกิด และคณะ ตั้งชื่อชันโรงชนิดใหม่ว่า ชันโรงสิรินธร อย่างไรก็ดีทาง ดร.สมนึก บุญเกิด พร้อมด้วยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ถวายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยนำโครงการจัดการความรู้และต่อยอดงานวิจัยการเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงหลังลาย ไปทดลองเลี้ยงบริเวณสวนป่าภายในวังสระปทุม (เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561) สืบเนื่องจากการสนับสนุนงบประมาณโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ในการดำเนินงานเกี่ยวกับชันโรง ครั้งแรกในปีงบประมาณ 2561 ครั้งที่ 2 ในปีงบประมาณ 2564 อย่างไรก็ดีในปีที่ไม่ได้ขอการสนับสนุนงบประมาณนั้น ทางผู้รับผิดชอบโครงการยังคงทำการขยายรังเพิ่มจำนวนประชากรชันโรงพร้อมดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เสมอมา อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาได้ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชันโรงในพื้นที่โครงการ อพ.สธ.จังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพร จำนวน 4 แห่ง พื้นที่โครงการ อพ.สธ. องค์การบริหารส่วนตำบลสลุย องค์การบริหารส่วนตำบลสองพี่น้อง อำเภอ ท่าแซะ จังหวัดชุมพร นอกจากนี้ยังมี องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อย่างไรก็ตามผึ้งชันโรงที่เลี้ยงคือผึ้งชันโรง พันธุ์ขนเงิน และพันธุ์หลังลาย (ซึ่งทั้งสองชนิดสามารถผสมพันธุ์กันได้เพราะเป็นสปีชีส์ (Species) เดียวกัน T. fuscobalteata var. pagdeni ) ชันโรงในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้รับผลดีอย่างมาก ชันโรงสามารถเติบโตได้ดี ผึ้งชันโรง (Stingless bee) ผึ้งที่ไม่มีเหล็กในเป็นแมลงที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศป่าและชุมชนเป็นอย่างมาก ชันโรงเป็นผึ้งขนาดเล็ก หรือเรียกอีกชื่อว่า “ผึ้งจิ๋ว” ลักษณะเด่นของชันโรงคือการเก็บเกสร (เก็บเกสรร้อยละ 80 เก็บน้ำหวานเพียงร้อยละ 20) จึงสามารถเรียกได้ว่าชันโรงเป็นสัตว์ช่วยผสมเกสร เป็นแมลงผสมเกสรประจำถิ่น (ผสมเกสร มะม่วง มะพร้าว เงาะ ส้มโอ แตงโม ข้าวโพด ผักโขม กระเพรา เสาวรส บัวทุกชนิด และพืชผักอื่นๆ) และหากินประจำที่ และไม่มีนิสัยเลือกชอบมักเก็บเล็กผสมน้อยไม่รังเกียจ ดอกไม้ที่ผึ้งชนิดอื่นลงตอมแล้ว ชันโรงมีรัศมีหากินคงที่ บินหาอาหารในระยะไม่เกิน 300 เมตร จากรัง มีหนวดไว้ค้นหาแหล่งอาหารได้อย่างแม่นยำ และใช้หนวดวัดสภาพอากาศได้ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น กลิ่นของสารเคมีในระดับอะตอม ชันโรงมีพฤติกรรมการออกเรือนเข้าไปอาศัยในโพรงเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น จึงเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับมนุษย์ และดำรงอยู่ในระบบนิเวศเกษตร สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ อนึ่งชันโรงเป็นดัชนีชีวัดความเป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะหากบริเวณรอบๆใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ชันโรงไม่สามารถอยู่รอดได้ อย่างไรก็ดีน้ำผึ้งชันโรงมีน้ำตาลมอลโทสซึ่งไม่มีในผึ้งโพรงและผึ้งพันธุ์ น้ำผึ้งชันโรงมีราคาสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป “ชัน” สามารถนำไปประกอบตำรับยาพื้นบ้าน หรือเลี้ยงเพื่อจำหน่าย หรือการแปรรูปน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ชันโรงมีราคาสูง (1,000-1,500 บาท) จึงทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่มีกำลังซื้อ ดังนั้นจึงควรมีการช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมทางการเกษตรของเกษตรกรในระบบเกษตรแบบผสมผสาน เช่น โครงการโคกหนองหนาโมเดล การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง โดยการจัดตั้ง “ธนาคารผึ้งชันโรง” ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ คุณลักษณะของสมาชิกธนาคารผึ้งชันโรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ธนาคารผึ้งชันโรง ต้องการสนับสนุนการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ และการเกษตรอินทรีย์ และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย และสอดคล้องกับโครงการ อพ.สธ. โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - เป็นเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร และหรือบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตร (ยาฆ่าหญ้า/ยาฆ่าแมลง) - มีความสนใจร่วมอนุรักษ์ผึ้งชันโรง - ต้องการเลี้ยงผึ้งชันโรงเพื่อช่วยผสมเกสร - มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชุมพร - สถานที่เลี้ยงผึ้งชันโรงตั้งอยู่ภายในจังหวัดชุมพร (หมายเหตุ : คุณลักษณะในข้อที่ 3.4,3.5 อาจมีการปรับเปลี่ยนได้เมื่อธนาคารมีความเข้มแข็งและก้าวหน้า) เงื่อนไขของธนาคารผึ้งชันโรง - สมาชิกใหม่ สามารถการเบิกพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรงจากธนาคารได้ไม่เกิน 2 รัง ต่อ 1 บัญชี - ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ทำการเบิกจ่ายพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรง ต้องคืนรังพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรง พร้อมด้วยน้ำผึ้งชันโรง (ดอกเบี้ย) จำนวน 200 ซีซี - กรณีพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรงที่ทำการเบิกจากธนาคารได้รับผลกระทบจากการเลี้ยงหรือที่เรียกว่ารังล่มสลาย สมาชิกต้องคืนรังพ่อแม่พันธุ์รังใหม่คืนให้กับธนาคารโดยไม่มีข้อยกเว้น (หมายเหตุ : การเบิกจ่าย การส่งคืน พ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรง ต้องเป็นรังที่มีความสมบูรณ์เท่านั้น) การให้การสนับสนุน และการแลกเปลี่ยน - ธนาคารจ่ายเมล็ด / กล้า (พืชอาหาร) เช่น ต้นพวงชมพู เสารวรส ฯลฯ เพื่อให้ปลูกไว้บริเวณลานเลี้ยงผึ้งชันโรง - ธนาคารยินดีรับฝาก และแลกเปลี่ยนไข่นางพญาจากสมาชิก - ธนาคารจัดฝึกอบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรงให้แก่สมาชิกและทบทวนวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งชันโรงให้แก่สมาชิกเป็นประจำทุกปี - ธนาคารเป็นพี่เลี้ยงในการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มผึ้งชันโรง (GAP) (หมายเหตุ : 1. ในอนาคตธนาคารจะรับควบคุมความชื้นของน้ำผึ้งชันโรง เพื่อลดจุดอ่อนด้านคุณสมบัติของน้ำผึ้งชันโรง) ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ธนาคารผึ้งชันโรงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร จึงเป็นหลักในการสนับสนุนด้านการผสมเกสรเพื่อการผลิตพืช การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับชันโรงให้มีความยั่งยืนสืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ผึ้งชันโรง Tetragonula pagdeni. หรือ ผึ้งชันโรงพันธุ์ขนเงิน
สนับสนุนพันธุ์ผึ้งชันโรง Tetragonula pagdeni. ให้แก่เกษตรกรโดยวิธีการให้ยืมรังพ่อแม่พันธุ์
สร้างเครือข่ายการเลี้ยงผึ้งชันโรง Tetragonula pagdeni. ภายในจังหวัดชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนเกษตรกรที่ยืมรังพ่อแม่พันธุ์
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจต่อการให้ความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งชันโรง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนเกษตรกรที่ร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 80 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนเกษตรกรที่ยืมรังพ่อแม่พันธุ์
ชื่อกิจกรรม :
ขยายพันธุ์ เพาะเลี้ยง ปรับปรุงพันธุ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/05/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
สนับสนุนพันธุ์ผึ้งชันโรง ให้แก่เกษตรกรโดยวิธีการให้ยืมรังพ่อแม่พันธุ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/05/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
ให้ความรู้และติดตามให้คำปรึกษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/05/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ความเสี่ยงที่เกิดจากอาหารผึ้งชันโรงไม่เพียงพอ ทำให้ผึ้งชันโรงขยายพันธุ์ได้ช้า
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วิเคราะห์ปริมาณพืชอาหารผึ้งชันโรง และปลูกพืชอาหารเพื่อเสริมสร้างความพร้อมรองรับการขยายพันธุ์ของผึ้งชันโรง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล