18336 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/4/2565 11:58:10
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/05/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  7  คน
รายละเอียด  คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของคณะ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ของคณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนงานบริหารมหาวิทยาลัย งานบริหารทั่วไป กองทุนทั่วไป งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน 10,000 บาท 2565 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จอมสุดา  ดวงวงษา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริหารจัดการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.17 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่นการสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-65-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-65-2.1 ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-65-2-10 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ FT-65-2.1.5 พัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-65-6 การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ / อัตลักษณ์ / ภารกิจเฉพาะของส่วนงาน
เป้าประสงค์ FT-65-6.1 พัฒนาอัตลักษณ์ตามจุดเน้นของคณะ
ตัวชี้วัด FT-65-6-2 จำนวนผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
กลยุทธ์ FT-65-6.1.1 พัฒนากระบวนการการผลิตสัตว์น้ำ ปรับปรุงสายพันธุ์สัตว์น้ำ และสร้าง product champion เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานแผนงานบริหารมหาวิทยาลัยที่พัฒนากระบวนการ การสร้าง product champion เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด โดยมีผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ และเพื่อส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาได้เรียนรู้ การวิจัย จากการปฏิบัติงานจริงในสถานที่ดำเนินงานจริง จะช่วยให้การเรียนรู้ของนักศึกษาสามารถพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลผลิตทางการประมงเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น การนำไรแดงสดบรรจุแผงบริสเตอร์ และการแปรรูปไรแดงผง หรือการนำเศษของผลผลิตทางการประมง เช่น เศษปลา เศษกุ้ง มาแปรรูปเป็นเยลลี่กัมมี่ (Jelly Gummy) รสชาติต่างๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด และเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนตามแบบแผน การบูรณาการกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ลงสู่ชุมชนเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนโดยให้นักศึกษาได้มีปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้จากท้องถิ่น เพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริงและสามารถวางแผนการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ และแบบแผนงานบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ทางการประมงของคณะให้มีที่ได้รับรองคุณภาพเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ในส่วนของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหารของสิ่งมีชีวิตโดยการนำผลผลิตทางประมงเช่น ไรแดง เศษปลา กุ้งที่เกิดจากการตัดแต่ง มาแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด และบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และกิจกรรมนักศึกษา ซึ่งมีรูปแบบการผลิตที่มาจากการเรียนรู้ในกระบวนการรายวิชา ได้แก่ วิชาการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำ วิชาการจัดการฟาร์ม วิชาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง วิชาการฝึกงาน สหกิจศึกษา และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีองค์ประกอบหลักในการพัฒนาดังนี้ ในส่วนของต้นน้ำ มีกิจกรรมสำคัญคือ ส่งสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น การนำไรแดงสดนำมาบรรจุแผงบริสเตอร์ แปรการรูปไรแดงผง หรือการนำเศษของผลผลิตทางการประมง เช่น เศษปลา เศษกุ้ง ที่เหลือจากการตัดแต่งนำมาแปรรูปเป็นเยลลี่กัมมี่ (Jelly Gummy) รสชาติต่างๆ ให้ได้ลักษณะทางกายภาพและรสชาติเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้าง product champion เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ซึ่งเป็นอาหารที่ใช้สำหรับการอนุบาลสัตว์น้ำที่ดีที่สุดคือไรแดง โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และปลาสวยงาม ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง (ภานุและคณะ, 2549) ดังนั้นการอนุบาลสัตว์น้ำด้วย ไรแดงจึงทำให้มีอัตรารอดและอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำสูงมาก (ปริฉัตร, 2549) ปัจจุบันสถานการณ์การเลี้ยงปลาสวยงามและปลาเศรษฐกิจ ที่นับวันจะนิยมเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่ปริมาณไรแดงทางธรรมชาติลดน้อยลง (ทะนุพงศ์, 2564) และมีความสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีคุณค่าทางอาหารสูงเหมาะสำหรับเป็นอาหารของลูกปลาวัยอ่อน เช่น ปลาบึก ปลาชะโอน และปลาสวยงามต่างๆ และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงอีกด้วย ทั้งในด้านการสนับสนุนการปรับปรุงพื้นที่การเพาะขยายพันธุ์ เช่น การปรับปรุงบ่อเลี้ยง ให้อยู่ในสภาพที่เหมะสมกับการเลี้ยง ปัจจัยด้านการผลิต วัสดุวิทยาศาสตร์ วัสดุการเกษตร ดังนั้นจึงส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารของสิ่งมีชีวิต (ไรแดง) โดยบรรจุในแผงบริสเตอร์ สามารถป้องกันผลิตภัณฑ์จากบรรยากาศแวดล้อม ได้แก่ ออกซิเจน ความชื้น และหรือแสง มีลักษณะที่สวยงาม เพิ่มประสิทธิผลในการรักษา สะดวกในการพกพา และบ่งชี้ร่องรอยการแกะ (สมบูรณ์, 2020) ทำให้คงคุณภาพและสารอาหารของไรแดง ในส่วนของช่วงกลางน้ำ มีการวางแผนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เรียนรู้วิธีการเพาะไรแดง ขั้นตอนการผลิตอาหารของสิ่งมีชีวิต (ไรแดง) ศึกษาวิธีการขั้นตอนการบรรจุผลิตภัณฑ์บรรจุแผงบริสเตอร์ หรือขั้นตอนและวิธีการการทำกัมมี่จากเศษสัตว์น้ำ วางแผนการจัดจำหน่ายในช่องทางต่างๆ และในส่วน ของปลายน้ำ มีกิจกรรมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไรแดงสดบรรจุแผงบริสเตอร์ ไรแดงผง และกัมมี่จากเศษเหลือจากสัตว์น้ำ การประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนได้ ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าที่มีความรู้เป็นที่ปรึกษา ประกอบกับผลผลิตทั้งหมดจะปรับเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผ่านการจำหน่ายในทุกช่องทาง ทั้งในตลาดแบบออนไลน์ และตลาดแบบออฟไลน์

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ทางการประมงของคณะให้มีที่ได้รับรองคุณภาพเพิ่มมูลค่าทางการตลาด
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกและจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ให้มีความทันสมัยก้าวทันสู่โลกยุคดิจิทัล
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
KPI 1 : ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 2 : ร้อยละของกิจกรรมเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 7 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา  ดวงวงษา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายประเสริฐ  ประสงค์ผล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุการเกษตร เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัวเป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล