18316 : โครงการ "พัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร" ประจำปี 2565
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.อุรัชชา สุวพานิช (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/4/2565 16:33:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/04/2565  ถึง  25/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  220  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย 220 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารและบุคลากร คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 20 คน 2) นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 1 จำนวน 50 คน 3) นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 2 จำนวน 50 คน 4) นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 50 คน 5) นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 2 จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณสนับสนุนโครงการตามแผนยุทธศาสตร์คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 11,950.- บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) 2565 11,950.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
อาจารย์ ดร. ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์
น.ส. อุรัชชา  สุวพานิช
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริหารจัดการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.5 มีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.25 ระดับความสำเร็จแผนปฏิบัติงานประจำปี
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.5.5 การพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารองค์กรเชิงรุกทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านบริหารจัดการ)
เป้าประสงค์ 65Info-2.8 มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
ตัวชี้วัด 65Info2.33 ผลปฏิบัติราชการของคณะ
กลยุทธ์ 65Info-2.8.1 ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การสื่อสารในองค์การ (Organizational Communication) เป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยสนับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน และขับเคลื่อนการดำเนินงาน อีกทั้งการสื่อสารในองค์การที่ดีจะสามารถสร้างความมั่นคงเข้มแข็ง ความก้าวหน้าและความสำเร็จในการขับเคลื่อนและผลักดันงานในด้านต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จตามที่องค์การ/หน่วยงานได้ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งการสื่อสารในองค์การสามารถแบ่งออกได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การสื่อสารแบบบนลงล่าง (Downward Communication) การสื่อสารแบบล่างขึ้นบน (Upward Communication) การสื่อสารในแนวนอน (Horizontal Communication) และการสื่อสารแบบต่างหน่วยงานและต่างระดับ (Diagonal Communication) แต่เนื่องจากภายในแต่ละองค์การ/หน่วยงาน มีการแบ่งกลุ่มงานที่หลากหลาย วัฒนธรรมและพฤติกรรมการทำงานจึงมีหลากหลาย, บางหน่วยงานยังยึดติดอยู่กับค่านิยมในระดับผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสั่งการในแนวดิ่ง ทำให้ขาดการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์การ, มีบุคลากรขององค์การ/หน่วยงานไม่รับรู้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ไม่เข้าใจนโยบายและแนวทางการพัฒนางาน/การปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน หรือเข้าใจไม่ตรงกันและนำไปสื่อสารต่อแบบผิด ๆ, มีบุคลากรบางส่วนงานไม่เข้าใจการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองอย่างแท้จริง ไม่มีความรับผิดชอบต่องาน ต่อผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดจากการดําเนินงาน ต่อสังคมและองค์การ/หน่วยงาน รวมถึงขาดการศึกษาเรียนรู้ พัฒนางานและพัฒนาตนเอง ขาดความรู้ความเข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความเสี่ยงและความล่าช้าในงาน ขาดจิตสำนึกรักในองค์การ/หน่วยงาน จึงเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนและพัฒนางานให้เกิดประสิทธิผล ดังนั้น ผู้บริหารองค์การ/หน่วยงาน จึงจำเป็นต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการบริหารและการจัดการงาน โดยส่งเสริมให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในด้านต่าง ๆ รวมถึงศึกษารูปแบบและพฤติกรรมในการทำงาน, การแบ่งงานกันทำ, การร่วมกันทำงาน, การแสดงความคิดเห็นในงาน, การร่วมกันคิด วิเคราะห์ และร่วมแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ, การสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานของบุคลากรในส่วนงานต่าง ๆ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในทุกระดับ ทั้งนี้ ผู้บริหารองค์การ/หน่วยงาน จำเป็นต้องสร้างความรู้และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ โดยยึดหลักความถูกต้อง ตามกฎเกณฑ์ กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามภารกิจของแต่ละส่วนงาน ร่วมกันอุทิศเวลา ความรู้ ความสามารถ ความวิริยะอุตสาหะ เพื่อขับเคลื่อนงานและพัฒนาองค์การ ไปพร้อมกับการสร้างจิตสำนึกรักในวัฒนธรรมองค์การที่ดี ผ่านการสื่อสารสองทางกับบุคลากรภายในองค์การ (Two – Way Communication) ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยผ่านการประชุม, การฝึกอบรม, การสัมมนา, การชี้แจง, การชี้แจงด้านเอกสาร หรือผ่าน Social เช่น Facebook, Line, ระบบ Internet, E – mail, ระบบสารสนเทศอื่นที่ใช้งานภายในองค์การ หรือการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทั้งฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายบริหารต้องเข้าไปมีส่วนร่วมรับทราบข้อมูล รับรู้ปัญหาของแต่ละส่วนงาน เพื่อเรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึงปัญหา และพัฒนากระบวนการทำงาน รวมถึงเรียนรู้แนวทางการแก้ไขปัญหาไปพร้อมกัน เพื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และทำงานร่วมกันได้อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิผล มิใช่เป็นการสื่อสารเฉพาะระดับกลุ่มผู้บริหารหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติการเท่านั้น อีกหนึ่งประเด็นสำคัญด้านการสื่อสารองค์การ คือ ระหว่างนักศึกษา เนื่องจากการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างจากการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาหลายคนต้องอยู่ห่างไกลบ้านและผู้ปกครอง มีความเป็นอิสระในการดูแลตนเองมากขึ้น จึงมีหลายอย่างที่นักศึกษาต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อให้เข้ากับระบบการศึกษาใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อนใหม่ ซึ่งบางรายอาจประสบปัญหาทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ ครอบครัว ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและการเรียน เกิดปัญหาผลการเรียนต่ำ เรียนซ้ำชั้น หรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ดังนั้น ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร จึงควรร่วมกันใส่ใจดูแล และติดตามนักศึกษาในทุกระดับชั้นอย่างใกล้ชิด เพื่อรับทราบสถานการณ์และปัญหาทั้งหลาย อันจะนำไปสู่การวางแผนการเรียนการสอนและการแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาทั้งหลายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อสามารถแก้ไขปัญหา ได้อย่างเป็นระบบและทันท่วงที ซึ่งคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้ดูแล ชี้แนะและแก้ไขปัญหาให้แก่นักศึกษาในความดูแลแทนผู้ปกครอง รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจระหว่างนักศึกษา ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่าคณะสารสนเทศและการสื่อสาร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงเห็นควรจัดการพบปะขึ้น เพื่อให้นักศึกษา ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่า มีโอกาสได้ทำความรู้จัก ได้สร้างมิตรภาพกับเพื่อนนักศึกษา รุ่นพี่ ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรภายในคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ได้รับความอบอุ่นและประทับใจ อันจะนำไปสู่ความรักสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนี้ การได้แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกันจะเป็นการเพิ่มความเข้าใจให้นักศึกษาได้รับทราบถึงบทบาทคณะ มหาวิทยาลัย ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และบทบาทของตนเอง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้คำปรึกษา ช่วยให้นักศึกษาประสบผลสำเร็จและมีความสุข ขณะที่เป็นนักศึกษา การสื่อสารในองค์การ (Organizational Communication) จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยสนับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน และขับเคลื่อนการดำเนินงานและการจัดการศึกษาที่ดีให้กับองค์การ อีกทั้งสามารถสร้างความมั่นคงเข้มแข็ง ความก้าวหน้าและความสำเร็จในการขับเคลื่อนและผลักดันงานในด้านต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จตามที่องค์การ/หน่วยงานได้ตั้งเป้าหมายไว้ โดยมีเป้าประสงค์ให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่มีปัญญา ความรู้ ทักษะ อดทน สู้งาน มีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถปรับตัวตอบสนองต่อบริบทความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลูกฝังและพัฒนาความเป็นผู้มีคุณภาพ จริยธรรม และจรรโลงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมไทย ดังนั้น การสื่อสารภายในองค์การจะประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ ผู้บริหารและบุคลากรในทุกระดับ ตลอดจนบุคคลภายนอกองค์การที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง รวมถึงมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติที่ดี มีจิตสำนึกรักในองค์การ รู้จักเรียนรู้ พัฒนางาน และพัฒนาตนเอง พร้อมที่จะเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและผลักดันองค์การไปสู่เป้าหมายและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยไม่เกี่ยงงาน ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบที่มีต่อผู้บริหาร และการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ จึงจะทำให้การบริหารงานและการดำเนินกิจการขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งส่วนรวมเป็นหลัก คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบุคลากรประกอบด้วยหลายส่วนงานที่ต้องร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและพันธกิจขององค์การ จึงได้ตระหนักถึงความสําคัญของการสื่อสารภายในองค์การว่าเป็นกลยุทธ์และเครื่องมือสำคัญต่อการดำเนินงาน คือ การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน ตลอดจนกระบวนการคิดและการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ จนนำไปสู่การพัฒนางาน, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความเข้าใจในงานอย่างถูกต้อง ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติที่ดี จนเกิดการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล เพื่อสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การทำงานและบริหารจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ, การมีส่วนร่วม การคิดคำนวณ วิเคราะห์ คาดคะเนหาเหตุและผล มองผลสำเร็จและผลกระทบ ประเมินผล การโต้แย้งและตัดสินใจในการทำงาน รวมถึงการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรในทุกระดับ สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างเกิดประสิทธิผล พร้อมพัฒนาและขับเคลื่อนองค์การไปสู่เป้าหมาย ดังนั้น การสื่อสารจึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้การทำหน้าที่ของบุคลากรตามภารกิจของส่วนงานต่าง ๆ ดำเนินการต่อเนื่องกัน เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ภายในองค์การ ด้วยการสื่อสารทางตรง คือ ด้วยวิธีการพูด เช่น การประชุม การประชุมชี้แจงงาน การพบปะพูดคุยหารือ การสนทนาแบบกลุ่มงาน/ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงการสื่อสารผ่านกิจกรรมพบปะบุคลากรประจำเดือน เป็นต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. สร้างการรับรู้และความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับนโยบาย ทิศทาง และแนวทางการดำเนินงาน การพัฒนาคณะฯ และการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ผสานความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารทุกระดับ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ รวมถึงนักศึกษาและศิษย์เก่าคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. บุคลากรในแต่ละส่วนงานมีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน รวมถึงขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และมีการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในทุกระดับ
KPI 1 : ความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติงานประจำปี คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : กระบวนการ/ขั้นตอน/แนวปฏิบัติในการทำงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 เรื่อง 3
ผลผลิต : 2. นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร อาจารย์บุคลากร และศิษย์เก่าคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอันดีร่วมกัน เกี่ยวกับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัย
KPI 1 : จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 ที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 คน 200
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. บุคลากรในแต่ละส่วนงานมีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน รวมถึงขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และมีการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในทุกระดับ
ชื่อกิจกรรม :
“ผู้บริหารพบปะบุคลากร”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2565 - 20/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เพียรสว่าง  บูชา (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กะรัต  เทพศิริ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 100.- บาท x 1 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3000.00
ชื่อกิจกรรม :
“อบรมการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การ”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2565 - 20/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายพงศ์กฤตน์  ภูริชพิสิฐกร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35.- บาท x 50 คน x 1 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. วิทยากร(ภายนอก) จำนวน 1 คน x 1,200.- บาท x 6 ชม.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 8950.00
ผลผลิต : 2. นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร อาจารย์บุคลากร และศิษย์เก่าคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอันดีร่วมกัน เกี่ยวกับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัย
ชื่อกิจกรรม :
“ผู้บริหารพบเราชาวสื่อสารดิจิทัล”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2565 - 20/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสมพร  เกตุตะคุ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายนพพร  สุนะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ดร.วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ด้วยความผันผวนของสภาวการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในคณะและมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับเปลี่ยนกิจกรรมในรูปแบบการอบรม ประชุม และสัมมนา เป็นรูปแบบออนไลน์ ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วม เป็นจำนวนมาก เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศของจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล