18272 : โครงการเสริมทักษะนักศึกษาเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO) ปีการศึกษา 2564
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.พัชรียา ข่ายสุวรรณ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/4/2565 13:44:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2565  ถึง  20/05/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  238  คน
รายละเอียด  จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 230 คณาจารย์ 8 คน รวมทั้งสิ้น 238
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2565 18,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ นาวาตรีหญิง ดร. อุดมลักขณ์  ธรรมปัญญา
น.ส. พัชรียา  ข่ายสุวรรณ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.13 ทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านพัฒนานักศึกษา)
เป้าประสงค์ 65Info-2.2 นักศึกษาและศิษย์เก่ามีศักยภาพและทักษะในการดำเนินชีวิต ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
ตัวชี้วัด 65Info2.12 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 65Info-2.2.1 มีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่เสริมสร้างทักษะไอที ภาษา วิชาชีพ ทักษะในศตวรรษที่ 21 และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Green communication พร้อมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษาทุกระดับมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางวิชาการ และการพัฒนาทักษะเชิงวิชาชีพและการบูรณาการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม และการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทั้งศิษย์เก่า นักศึกษาปัจจุบัน และเครือข่ายองค์กรวิชาชีพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานจริงเชิงวิชาชีพของภาคผลิตในสังคม (Real Sector)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการศึกษาได้ดำเนินการตามแนวการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome Based Education) ที่มีจุดมุ่งหมายในการผลิตผลการเรียนรู้ (ความรู้และทักษะความสามารถของนักศึกษา) ที่เฉพาะเจาะจง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และประเมินได้ โดยหลักสูตรได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO) ไว้อย่างชัดเจนผ่านกระบวนการออกแบบหลักสูตรแบบ Backward Curriculum Design ที่การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมาจากข้อมูลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของหลักสูตรและตลาดแรงงาน นำมากำหนดรายวิชาและกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถสอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรคือความรู้ความเข้าใจในจุดมุ่งหมายหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรตั้งแต่ต้น ซึ่งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLO) ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่กำหนดไว้ใน มคอ.2 จะเกิดแก่ผู้เรียน มีดังนี้ PLO 1) สามารถเข้าใจหลักการสำคัญด้านการสื่อสารดิจิทัลและองค์ประกอบของสื่อดิจิทัลแต่ละประเภท PLO 2) สามารถใช้แนวคิดและทักษะการคิดระดับสูงทั้งการคิดเชิงระบบ คิดเชิงวิเคราะห์และเชิงสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานให้มีคุณค่า มีประโยชน์หรือเป็นสิ่งใหม่ PLO 3) สามารถใช้ความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบและสร้างสื่อดิจิทัลตรงความต้องการกลุ่มเป้าหมายหรือสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์และเกษตร PLO 4) สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์ ประเด็นด้านสื่อโดยคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงประเด็นบนความรับผิดชอบ PLO 5) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และมีจิตอาสา โครงการเสริมทักษะนักศึกษาเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO) จึงเป็นกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาที่สำคัญยิ่งที่คณะ ฯ ได้จัดขึ้น เพื่อช่วยให้นักศึกษาใหม่มีความเข้าใจในภาพรวมของหลักสูตร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้และให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอน อันจะนำไปสู่การเกิดผลการเรียนรู้ของหลักสูตรตามที่ต้องการ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาใหม่มีความรู้ความเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO)
เพื่อนักศึกษาใหม่มีความพร้อมต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อที่จะสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี มีความเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PLO ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล
KPI 1 : ความรู้ความเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ค่าเฉลี่ย 3.51
KPI 2 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ค่าเฉลี่ย 3.51
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี มีความเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PLO ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล
ชื่อกิจกรรม :
แผนการศึกษา และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2565 - 29/04/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ นาวาตรีหญิง ดร.อุดมลักขณ์  ธรรมปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.พัชรียา  ข่ายสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่ใช่คนของรัฐ)
(3 ชม. X 1,200 บาท x 2 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7200.00
ชื่อกิจกรรม :
เสริมทักษะพื้นฐานในรูปแบบแบ่งกลุ่มตามฐานการเรียนรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/05/2565 - 20/05/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ นาวาตรีหญิง ดร.อุดมลักขณ์  ธรรมปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.พัชรียา  ข่ายสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่ใช่คนของรัฐ)
(3 ชม. X 1,200 บาท x 3 คน)
-กราฟิก
-Production
-การตลาด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาเรื่องโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)เป็นปัญหา และอุปสรรคในการจัดโครงการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับการจัดโครงการแบบ ‍On-Site เปลี่ยนเป็นการจัดโครงการผ่านระบบ Online (MS Team Meeting) จำนวน 2 ครั้ง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล