18262 : โครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ปี 2565 (Biochar/เชื้อเพลิงแข็ง รักษ์ดิน รักษ์โลก)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/3/2565 14:04:43
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/03/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ จำนวน 30 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแหล่งอื่น จำนวน 16,000 บาท 2565 16,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุฑาภรณ์  ชนะถาวร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ด้านบริหารจัดการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.5 เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวชั้นนำของประเทศไทยทั้งในด้านกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน การจัดการเรียนการ การวิจัยและนวัตกรรม (Green University)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.11 คะแนนการจัดอันดับ Green University Ranking
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 3.1.10 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นต้นแบบหน่วยงานที่มีการบริหารจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 1.4 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขตEco Community & Tourism
ตัวชี้วัด 1.4.2 คะแนนการจัดอันดับ Green University Ranking
กลยุทธ์ ผลักดันผลการจัดอันดับ Webometric ,U-Multirank และ Green University Ranking ของมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มการมองเห็นและรับรู้ของมหาวิทยาลัยในระดับ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบกับวิกฤตทางด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากการเผาทำลาย หลายหน่วยงานมีการรณรงค์ให้ทุกคนหันมาเห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่าง ๆผ่านทางโซเชียล การฝึกอบรมและการปฏิบัติจริง มีการตระหนักถึงการลดการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่เพียงแต่สาเหตุมาจากพลาสติกเพียงอย่างเดียว แต่ขยะอินทร์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่าง ๆ หากมีการกำจัดไม่ถูกวิธี หรือกำจัดด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม เช่น การเผาทำลาย ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมในด้านการเกิดหมอกควัน PM 2.5 ส่งผลให้มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ มลพิษสู่ร่างกายคนและสัตว์ สารปนเปื้อนในพืชผัก ผลไม้บริเวณนั้น รวมไปถึงทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนตามมาเช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยที่เห็นถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม และได้มีการกำหนดให้สิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักในการปรับพื้นที่มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่สีเขียว มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยวิธีการปลูกต้นไม้ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย แต่เมื่อถึงฤดูกาลใบไม้ผลัดใบหรือใบไม้ร่วง จะมีปริมาณของใบไม้ที่ร่วงบริเวณโดยรอบ และจากการตัดตกแต่งกิ่งทำให้มีเศษกิ่งไม้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย จากข้างต้นทำให้เกิดปัญหาขยะอินททรีย์ในปริมาณมาก ซึ่งในปัจจุบันยังได้รับการกำจัดบางส่วนในรูปขอการนำใบไม้แห้งคลุมโคนต้นไม้ใหญ่เพื่อเปลี่ยนเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ และยังมีบางส่วนที่เป็นกิ่งไม้ใหญ่ ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของขยะอินทรีย์และเศษขยะมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัย และเป็นกำลังสำคัญในการปรับพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งวัสดุเหลือใช้ดังกล่าวมีสารอาหารหรือธาตุที่จำเป็นต่อพืช สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าได้ในรูปแบบของการนำวัสดุเหลือใช้ประเภท เศษไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ มาผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่เรียกว่ากระบวนการวัลคาไนซ์เซชัน (Vulcanization process) ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์จากกระบวนการเป็นของแข็งสีดำ หากนำมาใช้ในด้านการเกษตรเรียกว่า ไบโอชาร์ (Biochar) ที่มีคุณสมบัติเด่นในด้านการมีรูพรุนที่สูง นำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน และตรึงธาตุอาหารและน้ำลงดิน ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และหากนำมาผลิตภัณฑ์ของแข็งที่ได้มาใช้งานในรูปของเชื้อเพลิง จะเรียกว่า ถ่าน (Coal) สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงตุ้ม ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้เป็นของเหลว ที่เรียกว่า น้ำส้มควันไม้ นำมาใช้งานในด้านการเกษตร ในการกำจัดแมลง ศัตรูพืช และเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช ดังนั้นชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีแนวความคิดในการทำโครงการเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักศึกษาและบุคลากร และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคคลที่สนใจในรูปแบบออนไลน์ ในการเปลี่ยนของเสียประเภทวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกผลไม้ และเศษไม้ เป็นต้น ให้อยู่ในรูปของไบโอชาร์และเชื้อเพลิง โดยผ่านการให้ความร้อนด้วยกระบวนการวัลคาไนซ์เซชันในเตาปฏิกรณ์ที่ออกแบบให้มีการควบแน่นควันกลับคืนสู่ระบบการเผา เพื่อไม่ให้เกิดควันในกระบวนการ เป็นการต่อยอดจากโครงการที่ผ่านมา ในการทำวัสดุปลูกจากขยะอินทรีย์ ซึ่งการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการทำกิจกรรมเพื่อลดเศษขยะอินทรีย์ภายใต้กรอบแนวคิดการจัดการของเสียภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการลดของเสียประเภทอินทรีย์ และช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างทัศนียภาพที่ดีในเขตพื้นที่ อีกทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกการรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาและผู้ที่สนใจให้เพิ่มมากขึ้น โดยได้ดำเนินการและเผยแพร่ความรู้ วิธีการ การเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์ผ่านระบบการเผยแพร่ออนไลน์และมีการจัดทำกิจกรรมวิธีการทำไบโอชาร์ในชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดการรวมตัวของพระราชบัญญัติฉุกเฉินภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อระบบสิ่งแวดล้อมภายในบริเวณนั้นและสามารถเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ได้ในครัวเรือนต่อไปได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเปลี่ยนขยะอินทรีย์ภายในมหาวิทยาลัยให้อยู่ในรูปของไบโอชาร์และเชื้อเพลิง
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตไบโอชาร์ในรูปแบบออนไลน์
เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในมหาวิทยาลัยในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1.นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในมหาวิทยาลัย 2.ทัศนียภาพในมหาวิทยาลัยสวยงามและสะอาด 3.สามารถแปรรูปเศษขยะอินทรีย์เป็นถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์และต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4.นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรในมหาวิทยาลัย 5.มีแนวทางในการจัดการขยะอินทรีย์ และสามารถลดปริมาณขยะอินทรีย์ภายในมหาวิทยาลัยลงได้
KPI 1 : นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและลดปริมาณขยะภายในมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : ร้อยละคลิปวีดีโอสำหรับเผยแพร่ในระบบออนไลน์โดยมีผู้เข้าถึงสื่อ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1.นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในมหาวิทยาลัย 2.ทัศนียภาพในมหาวิทยาลัยสวยงามและสะอาด 3.สามารถแปรรูปเศษขยะอินทรีย์เป็นถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์และต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4.นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรในมหาวิทยาลัย 5.มีแนวทางในการจัดการขยะอินทรีย์ และสามารถลดปริมาณขยะอินทรีย์ภายในมหาวิทยาลัยลงได้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการรวบรวมขยะเหลือทิ้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/03/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาภรณ์  ชนะถาวร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร จำนวน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้อยู่ในรูปของไบโอชาร์และเชื้อเพลิง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/03/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาภรณ์  ชนะถาวร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร จำนวน 500บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท 500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง จำนวน 13,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท 13,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 14500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล