18230 : โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการแข่งขันด้านสื่อดิจิทัลของนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นายสมพร เกตุตะคุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/3/2565 10:29:44
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/03/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสารที่เข้าร่วมการประกวดด้านสื่อดิจิทัลที่จัดขึ้นจากหน่วยงาน องค์กรภายนอก
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2565 9,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิริยะ  กาญจนคงคา
นาย สมพร  เกตุตะคุ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.10 จำนวนรางวัลที่นักศึกษาได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.22 พัฒนาทักษะนักศึกษาทั้งด้าน Hard Skills และ Soft Skills โดยเฉพาะที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญคือ GO Eco U.
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านพัฒนานักศึกษา)
เป้าประสงค์ 65Info-2.2 นักศึกษาและศิษย์เก่ามีศักยภาพและทักษะในการดำเนินชีวิต ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
ตัวชี้วัด 65Info2.13 จำนวนรางวัลที่นักศึกษาบุคลากร ศิษย์เก่า หรือส่วนงาน ได้รับในระดับชาติและนานาชาติ
กลยุทธ์ 65Info-2.2.1 มีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่เสริมสร้างทักษะไอที ภาษา วิชาชีพ ทักษะในศตวรรษที่ 21 และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Green communication พร้อมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษาทุกระดับมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางวิชาการ และการพัฒนาทักษะเชิงวิชาชีพและการบูรณาการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม และการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทั้งศิษย์เก่า นักศึกษาปัจจุบัน และเครือข่ายองค์กรวิชาชีพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานจริงเชิงวิชาชีพของภาคผลิตในสังคม (Real Sector)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานมีส่วนในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยภายใต้อัตลักษณ์และความเชี่ยวชาญของตนเอง ซึ่งคณะสารสนเทศและการสื่อสารได้วางแผนในการขับเคลื่อน Roadmap ของมหาวิทยาลัยด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ประเทศไทยยังคงประสบสภาวะแวดล้อมและบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากภายใน และภายนอกประเทศ เช่น กระแสการเปิดเศรษฐกิจเสรี ความท้าทายของเทคโนโลยีใหม่ๆ การเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ ประกอบกับสภาวการณ์ด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศในปัจจุบันที่ยังคงประสบปัญหาในหลายด้าน เช่น ปัญหาการผลิต การออกแบบ ความสามารถในการแข่งขัน ทำให้การพัฒนาในช่วง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงจำเป็นต้องยึดกรอบแนวคิดและหลักการในการวางแผนที่สำคัญ ดังนั้น คณะสารสนเทศและการสื่อสารได้เล็งเห็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเรียนการสอน การศึกษา ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักศึกษา ให้มีความก้าวทันสู่โลกแห่งความเป็นจริง และปรับเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างทันเวลา จึงมีแนวทางในการส่งเสริมและเพิ่มทักษะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านสื่อดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างประสบการณ์ในระดับชาติหรือนานาชาติ ในการเข้าร่วมการแข่งขันด้านการผลิตสื่อดิจิทัล การออกแบบกราฟิก การสร้างภาพยนตร์ แอนนิเมชั่น ซึ่งเป็นบริบทด้านการเรียนการสอนของคณะสารสนเทศและการสื่อสาร นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดด้านวิชาชีพสื่อดิจิทัลของนักศึกษาต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากการแข่งขัน ประกวดด้านการผลิตสื่อดิจิทัล การออกแบบกราฟิก การสร้างภาพยนตร์ แอนนิเมชั่น
เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงศักยภาพและความสามารถทางด้านวิชาการ ของตนเอง ในการประกวดแข่งขันในระดับชาติหรือนานาชาติ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า ได้มีโอกาสส่งผลงานทางด้านสื่อดิจิทัล การออกแบบกราฟิก การสร้างภาพยนตร์ แอนนิเมชั่น เข้าร่วมการแข่งขัน และได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติ
KPI 1 : นักศึกษามีความพึงพอใจและได้ประสบการณ์จากการเข้าแข่งขันประกวด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนรางวัลที่นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า หรือส่วนงาน ได้รับในระดับชาติและนานาชาติ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 รางวัล 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า ได้มีโอกาสส่งผลงานทางด้านสื่อดิจิทัล การออกแบบกราฟิก การสร้างภาพยนตร์ แอนนิเมชั่น เข้าร่วมการแข่งขัน และได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติ
ชื่อกิจกรรม :
สนับสนุนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงศักยภาพและความสามารถทางด้านวิชาการ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาที่เข้าร่วมประกวดแข่งขันในระดับชาติหรือนานาชาติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/03/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิริยะ  กาญจนคงคา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสมพร  เกตุตะคุ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา (1 คน x 240 บาท x 1วันx 5 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา (7 คน x 240 บาท x 1วัน x 5 ครั้ง )

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 9600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล