18173 : โครงการนำนักศึกษาเข้าร่วมจัดบู้ธแสดงผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่ผู้ประกอบการ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ดร.เดือนแรม บ่อเงิน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/5/2565 14:17:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/05/2565  ถึง  15/05/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  5  คน
รายละเอียด  รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์) และนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินสะสมเพื่อสนับสนุนวิชาการและพัฒนานักศึกษา ประจำปี 2565 แผนงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)) 2565 11,851.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.2 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.5 บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-1 ขยายฐานบัณฑิต ผลิตบัณฑิตที่เป็นนักคิดวิเคราะห์ นักปฏิบัติ และสามารถเป็นผู้ประกอบการที่มีฐานคิดด้านเศรษฐศาสตร์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
ตัวชี้วัด 65-69ECON1-1.4 จำนวนโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และ SDG
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-1.4.4 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษา
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-1.3 ร้อยละของบัณฑิตที่มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-1.3.3 พัฒนาทักษะที่จำเป็นแก่นักศึกษาก่อนเข้าสู่การประกอบอาชีพและการเรียนต่อ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-1.9 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-1.9.2 จัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69ECON4-1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69ECON4-1.2 จำนวนโครงการที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 65-69ECON 4-1.1.2 จัดหลักสูตรฝึกอบรม/โครงการเพื่อพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะเศรษฐศาสตร์ได้นำนักศึกษาเข้าร่วม “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ในชื่อทีม“เศรษฐปลาศาสตร์ ยุวพัฒน์อาสา” เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง คณาจารย์และนักศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ได้ลงพื้นที่ในอำเภอสันทรายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เผยแพร่ด้านวิชาการแบบบูรณาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในพื้นที่โดยเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะเชิงวิชาการร่วมกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและแปรรูป ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินแบบบูรณาการร่วมแก้ไข พัฒนาและต่อยอดยกระดับผลิตภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธ์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยในงบประมาณปี พ.ศ. 2564 ได้มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและแปรรูป ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย ซึ่งมีการผลิตสินค้าและบริการที่หลากหลาย โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ คือ ผลิตภัณฑ์หมูฝอย โดยได้รับการพัฒนาตราผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การฝึกอบรมด้านบัญชีต้นทุนธุรกิจ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาสินค้าและการบริการสู่ตลาดออนไลน์ จากทีมคณาจารย์และนักศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนองนโยบายการขับเคลื่อนการยกระดับขีดความสามารถในกลุ่มระดับรากหญ้า กลุ่มแรงงานคืนถิ่นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า และผู้ขาดโอกาสทางสังคม ประชาชนกลุ่มเปราะบาง เป็นต้น ให้สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ส่งเสริมผลักดันให้มีประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเริ่มต้นจากการถ่ายทอดองค์ความรู้จากทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าไปบริการวิชาการเผยแพร่ทักษะองค์ความรู้ และการฝึกอบรมแก่สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนในพื้นที่ในด้านบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์หมูฝอยอย่างต่อเนื่อง จากการลงพื้นที่ในปีที่ผ่านมาจากมีประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและแปรรูป ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย และตัวแทนสมาชิกเข้ามาปรึกษาและบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาที่ได้รับผลกระทบนั่นคือ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หมูฝอยนั้น จะมีเส้นฝอยบางส่วนที่ไม่เรียงตัวกันเป็นเส้นส่งผลทำให้ไม่สามารถบรรจุในบรรจุภัณฑ์ได้ เนื่องจากมีลักษณะป่น ละเอียดไม่สวยงาม ซึ่งมีจำนวนมากถึง 1 ใน 2 ของวัตถุดิบเนื้อหมูที่นำมาเข้ากระบวนการผลิต เช่น หากซื้อเนื้อหมูมาจำนวน 5 กิโลกรัม จะสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์หมูฝอยได้เพียงครึ่งหนึ่ง หรือ 2.5 กิโลกรัมเท่านั้น และอีก 2.5 กิโลกรัม สมาชิกกลุ่มจะนำมาขายในตลาดชุมชน ละแวกใกล้เคียงในลักษณะหมูฝอยตกเกรด ซึ่งราคาที่ขายเป็นราคาที่ขาดทุนเมื่อเทียบกับราคาต้นทุนของวัตถุดิบเนื้อหมูที่ซื้อมา จึงส่งผลกระทบถึงต้นทุนและผลตอบแทนที่กลุ่มสมาชิกฯ ควรจะได้รับ ดังนั้นทีมคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์จึงมีไอเดียในการส่งเสริม พัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส จึงได้เสนอผลิตภัณฑ์ “น้ำพริกหมูฝอย” ที่มีมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ด้วยวิธีการผลิตที่ปราศจากสารเคมี มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใส่ใจสุขภาพแก่ผู้บริโภคในทุกช่วงวัย อีกทั้งมีกระบวนการผลิตที่สะอาด ปลอดภัย คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคเป็นสำคัญ น้ำพริกหมูฝอย ซึ่งเดิมได้มีการจัดจำหน่ายเพียงแค่ในท้องถิ่นพื้นที่ใกล้เคียง จึงไม่เป็นที่รู้จักมากนักจากกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ และผู้ที่ชื่นชอบน้ำพริกหมูฝอย รสเด็ด เผ็ดจัดจ้านโดยสามารถเลือกระดับความเผ็ดได้ตามความชื่นชอบของผู้บริโภค ดังนั้นทีม “เศรษฐปลาศาสตร์ ยุวพัฒน์อาสา” มีจิตอาสาร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกหมูฝอย โดยเริ่มจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำพริกน้ำพริกหมูฝอยให้ความสำคัญด้านสุขภาพแก่ผู้บริโภค โดยผลิตภัณฑ์อยู่ในกระบวนการการขอการรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อย.) โดยมีกระบวนการผลิตที่เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) มีการออกแบบรูปลักษณ์ที่ทันสมัยสะดวกพกพา อีกทั้งมีการสร้างแบรนด์ให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์สามารถพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการประเภทอื่นๆของกลุ่มฯได้ในอนาคต มีการอบรมเชิงกลยุทธ์ทางด้านการตลาด การเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มฯและเครือข่ายสมาชิกได้อย่างต่อเนื่อง นั้น ธนาคารออมสิน ภาค 8 ได้เชิญคณะเศรษฐศาสตร์เข้าร่วมการออกบูธในกิจกรรมแฟชั่นโชว์การกุศลเสื้อผ้าทอจากฝีมือของคนตาบอด โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นในวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2565 ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติเวล เชียงใหม่ เพื่อให้ทีมอาจารย์และนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์เข้าร่วมจัดบูธ แสดงผลงานผลิตภัณฑ์ที่คณะเศรษฐศาสตร์ร่วมพัฒนากับชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและแปรรูป ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย ดังนั้น คณะเศรษฐศาสตร์จึงจะนำนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2565 ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติเวล เชียงใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการ
เพื่อนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสู่ผู้ประกอบการ
เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ได้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : อาจารย์และนักศึกษาได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ และแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชน
KPI 1 : อาจารย์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 จำนวน 5
KPI 2 : ผลิตภัณฑ์ที่คณะฯ ร่วมพัฒนากับชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 จำนวน 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : อาจารย์และนักศึกษาได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ และแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
การจัดบู้ธนำเสนอผลิตภัณฑ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/05/2565 - 15/05/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้าย X-stand พร้อมออกแบบ ขนาด 160 x 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 950 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,900.00 บาท 0.00 บาท 1,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสติ๊กเกอร์ติดถุงบรรจุภัณฑ์ ขนาดแผ่นสติ๊กเกอร์ A3 (กระดาษขาวมันกันน้ำ พร้อมไดคัต) จำนวน 6 แผ่น ๆ ละ 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสติ๊กเกอร์ติดโฟมบอร์ด (ป้ายชื่อบู้ธ) ขนาด 200 x 30 เซ็นติเมตร จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 500
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำโบว์ชัวร์ ขนาด A5 (แผ่นพับ) (กระดาษอาร์ตมัน ขนาด 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 1 ด้าน จำนวน 200 แผ่น ๆ ละ 10 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (รถยนต์ส่วนตัว ทะเบียน ขว6464 เชียงใหม่) (11 กิโลเมตร x 4 บาท (ไป-กลับ) จำนวน 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 176.00 บาท 0.00 บาท 176.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง (อาจารย์ 1 คน และ นักศึกษา 4 คน รวมเป็น 5 คน) 240 บาท x 5 คน x 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถุงซิปล็อค ขนาด 100 กรัม (5.5 x 9 นิ้ว) จำนวน 150 ใบ ๆ ละ 9.50 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,425.00 บาท 0.00 บาท 1,425.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถุงซิปล็อค ขนาด 200 กรัม (6 x 10 นิ้ว) จำนวน 150 ใบ ๆ ละ 11 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,650.00 บาท 0.00 บาท 1,650.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 11851.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล