18133 : โครงการ "การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/3/2565 14:34:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/03/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  บุคลากร , แกนนำชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ร่วมสนับสนุนทรัพยากรบุคคล สถานที่ และทรัพยากรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
อาจารย์ ดร. จุฑามาส  เพ็งโคนา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.5 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 41. สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ดำเนินการผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ จำนวนประมาณ 30-40 คน ประกอบด้วยตัวแทนชุมชนจำนวน 2-3 คน ต่อชุมชน โดยองค์กรเครือข่ายฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกฯ ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมโยงเครือข่ายฯ แบบพี่ดูแลน้อง ส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนสมาชิกที่มีการดำเนินการด้านการท่องเที่ยวมาเป็นระยะเวลาหนึ่งและมีบทเรียนด้านการจัดการ ที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์สู่ชุมชนที่เพิ่งดำเนินการ โดยมีคณะกรรมซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ทำหน้าที่ประสานหลักกับชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ ซึ่งการจัดประชุมแต่ละครั้งเป็นการประชุมแบบสัญจร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเครือข่ายฯ และเพื่อต้องการให้แกนนำเครือข่ายร่วมกันให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นด้านการจัดการรวมทั้งด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จวบจนปัจจุบัน คือ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting โดยรายละเอียดผลการดำเนินการ พบว่า การขับเคลื่อนองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ดำเนินการผ่านรูปแบบ “สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร” ซึ่งได้รับการจดทะเบียนสมาคมฯ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 โดยมีการดำเนินการตามปณิธาน จวบจนปัจจุบัน ภายใต้ข้อบังคับสมาคมฯ สรุปตามหมวดที่สำคัญ ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริม ช่วยเหลือ และพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้ได้มาตรฐานตามข้อบังคับ หรือระเบียบที่สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้กำหนด 2) กำหนดข้อบังคับและมาตรฐานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น 4) เพื่อสร้างการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งส่งเสริมสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน ให้เกิดการกระจายรายได้ โดยยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางและตัวแทนเครือข่าย ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดภาคใต้ ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรทั้งสิ้น 51 แห่ง คณะกรรมการเครือข่ายฯร่วมกันกำหนดระดับแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อจำแนกระดับชุมชน โดยพิจารณาจากศักยภาพ ความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว พัฒนาการ การบริหารจัดการและการเข้าร่วมเป็นชุมชน/องค์กร สมาชิกเครือข่ายฯทั้งเก่าและใหม่ พบว่า แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนภายในจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง ซึ่งเป็นสมาชิกทั้งเก่าและใหม่ จำนวน 51 แห่ง มี 31 แห่ง ที่มีศักยภาพและความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว โดยชุมชนที่มีการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง จำนวน 13 ชุมชน/แห่ง ประกอบด้วย 1) ศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา : ภายในโครงการพัฒนาพื้นที่แก้มลิงหนองใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอเมือง 2) ชุมชนบ้านท้องตมใหญ่ : โฮมสเตย์ท้องตมใหญ่ อำเภอสวี 3) ชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์ : โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน 4) หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอทุ่งตะโก 5) ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ 6) ชุมชนเหวโหลมโฮมสเตย์ อำเภอพะโต๊ะ 7) กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบางสน อำเภอปะทิว 8) กลุ่มล่องแพมาลิน อำเภอพะโต๊ะ 9) หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ 10) ชุมชนบ้านอ่าวคราม : แดนโดมโฮมสเตย์ อำเภอสวี 11) ชุมชนบ้านทุ่งมหา : ทุ่งมหากรุ๊ป นำเที่ยวดำน้ำ 12) กลุ่มธนาคารปูม้าชุมชนบ้านหินกบ อำเภอปะทิว 13) ภูฟ้านาเล รีสอร์ท อำเภอเมือง ดังนั้น ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับความไว้วางใจจากชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ ให้เป็นเลขานุการเครือข่าย จึงเห็นว่า เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดชุมพร ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับเครือข่ายภายในจังหวัด พร้อมทั้งเป็นการหนุนเสริมศักยภาพขององค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ให้เป็นไปตามกรอบแผนงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรเครือข่ายให้บรรลุตามกรอบแผนงาน อันประกอบด้วย แผนการประชุม แผนการประชาสัมพันธ์ แผนพัฒนาองค์กรและบุคลากร แผนการติดตามและประเมินผล แผนนโยบายและงบประมาณ และแผนสำรวจและค้นหาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ และสมาชิกองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร (กทท.ดชช.ชพ) ซึ่งเป็นเครือข่ายหนึ่งที่ซ้อนอยู่ร่วมกับ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ และเครือข่ายธนาคารต้นไม้ โดยเป็นการขับเคลื่อนขององค์กรภาคประชาชนภายใต้ชื่อ “เครือข่ายจากภูผาสู่มหานที” นอกจากนี้กระบวนการดังกล่าวจะนำไปสู่การเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนภายในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับจังหวัดหรือในระดับกลุ่มจังหวัดภายใต้นโยบายและแผนการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ต่อไป ทั้งนี้การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ดำเนินกิจกรรมผ่านทาง คณาจารย์สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยบูรณาการภาระงานหลักของอาจารย์ มหาวิทยาลัยฯ คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยคาดหวังว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพรและจังหวัดต่างๆ จะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน-ชุมชน สังคม-วัฒนธรรม และกระตุ้นให้ประชาชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน และนำมาบูรณาการและจัดการเรียนการสอนระหว่างคณาจารย์ และนักศึกษาสาขาพัฒนาการท่องเที่ยวและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ และสมาชิกองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนภายในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงบูรณาการ
KPI 1 : ระบบและกลไกในการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ระบบและกลไก 1
ผลผลิต : จำนวนชุมชนสมาชิกเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ
KPI 1 : จำนวนชุมชนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงบูรณาการ
ชื่อกิจกรรม :
การประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/03/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : จำนวนชุมชนสมาชิกเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ
ชื่อกิจกรรม :
การจัดทำระบบฐานข้อมูลสมาชิกชุมชนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/03/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์โควิด19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ดำเนินการตามมาตรการของรัฐและหน่วยงาน และปรับวิธีการดำเนินการ เช่น การประชุมผ่านระบบออนไลน์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
พัฒนาโจทย์วิจัยสอดคล้องตามความต้องการของชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
ช่วงเวลา : 14/03/2565 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
5.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการแก่สังคม
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล