18123 : โครงการสร้างภาพลักษณ์ศูนย์เกษตรอินทรีย์ต้นแบบเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Green Organic Eco University
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/1/2565 15:13:18
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/02/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2565 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรศิลป์  มาลัยทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.6 ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 65-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 65-3.1.7 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
กลยุทธ์ 65-3.1.7.1 ส่งเสริมและยกระดับโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์ ได้รับความสนใจมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารปลอดภัย ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานตามข้อกำหนดมาตรฐานและกฎระเบียบด้านอาหารปลอดภัยเพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพของ ผู้บริโภคโดยอ้างอิงจากมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) เพื่อควบคุมสินค้าเกษตรและอาหาร ให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารเคมี จุลินทรีย์ และศัตรูพืช ประกอบกับรัฐบาลปัจจุบันได้กำหนดยุทธศาสตร์ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ที่ประเทศไทยจะต้องเร่งพัฒนาวัตถุดิบที่เป็นสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน ตลอดทั้งระบบ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับระบบการผลิตที่เป็นต้นน้ำโดยระบบเกษตรอินทรีย์เป็นมาตรฐานรองรับ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย และมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และตามนโยบายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้ความสำคัญด้านการเกษตร โดยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ คือ เป็นการเกษตรที่เคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติลด ละ เลิกการใช้สารเคมีมีการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและรับผิดชอบในด้านกายภาพ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพ และรักษาสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยและชุมชนให้มีความสมดุลกับธรรมชาติรวมทั้งการพัฒนาศาสตร์และองค์ความรู้เพื่อความยั่งยืนของชุมชน ประเทศชาติและโลกในภาพรวมของการพัฒนามหาวิทยาลัย ทุกด้านมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย เชิงนิเวศ ซึ่งหมายถึง การพัฒนาที่สร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบและ ยั่งยืน คำนึงถึงความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ การพัฒนาจิตใจ และการสร้างจิตสำนึกที่ดีงามแก่นักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงถือเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งทางด้านพื้นที่ บุคลากร ในการส่งเสริมด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร ให้สามารถผลิตพืชอินทรีย์ได้ตามมาตรฐานที่ตลาดต้องการหรือมาตรฐานสากล โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้พัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ จำนวน 7 ศูนย์ ได้แก่ 1. ศูนย์เรียนรู้ผลิตพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสาน เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนตามแนวทาง เกษตรอินทรีย์ 2. ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์เกษตรเพื่อพัฒนาการผลิตในระบบอินทรีย์และลดการพึ่งพาเคมีภัณฑ์เกษตร 3. ศูนย์เรียนรู้การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ (สัตว์ปีก) 4. ศูนย์เรียนรู้การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ (สุกร) 5. ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตเกษตรอินทรีย์ 6. ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมคุณภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 7. ศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่น จังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน 8. หน่วยพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์และการตลาดครบวงจร ซึ่งการจัดตั้งขึ้นและพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนด้านการเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร (ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ) มีพันธกิจในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจด้านการทำเกษตรอินทรีย์ ในปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกรไปแล้วมากกว่า 2,000 ราย มีผลให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปส่วนหนึ่งได้รู้จักและเข้าใจการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยไปบ้างแล้ว แต่ยังพบว่า ยังมีเกษตรกรในจังหวัดเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้จักศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ แม่โจ้-แพร่ฯ และการดำเนินงานของศูนย์ฯ มากเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้องค์กร และเข้าถึงการให้บริการของศูนย์ฯ จึงจำเป็นที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ภาพรวมและการดำเนินงานของศูนย์ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ซึ่งจะช่วยส่งผลมีการขยายฐานกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้บริการกลุ่มใหม่ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเป็นการช่วยส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรายใหม่ให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู้ระบบเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ และตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งส่งเสริมการผลิต พืชตามระบบเกษตรอินทรีย์ ให้เกิดความยั่งยืนในระบบการผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย พร้อมทั้งนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อยอด ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมต่าง ต่อไปในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาและประชาสัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป
2 เพื่อขยายฐานและสร้างเครือข่ายเกษตรกรด้านเกษตรอินทรีย์
3 เพื่อเป็นการส่งเสริมการรับรู้บทบาทของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการสร้างภาพลักษณ์ศูนย์เกษตรอินทรีย์ต้นแบบเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Green Organic Eco University
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 200 200 คน 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการสร้างภาพลักษณ์ศูนย์เกษตรอินทรีย์ต้นแบบเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Green Organic Eco University
ชื่อกิจกรรม :
การสร้างภาพลักษณ์ศูนย์เกษตรอินทรีย์ต้นแบบเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Green Organic Eco University

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/02/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรศิลป์  มาลัยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล  นอแสงศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา  พงษ์การัณยภาส (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายกิติพงษ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางธนันธรณ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายธวัชชัย  ชัยธวัชวิถี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล