18088 : โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่สู่เกษตรมูลค่าสูง จังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/1/2565 15:41:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่และรุ่นเก่า ที่มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดชุมพร โดยเชื่อมโยงสู่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ของจังหวัด เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้าน การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart farmer ให้เป็นผู้มีความพร้อมในการพัฒนาตนเอง ไปสู่ผู้ประกอบการในอนาคตโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ 40 คนของจังหวัดชุมพรกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่และรุ่นเก่าจังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ฐิระ  ทองเหลือ
นาง ภัทร์ธนกัลย์  เตี่ยไพบูลย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.3 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 39. ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบในวงกว้างกับประชาชนทุกระดับ ที่มีความเสี่ยงมากคือภาคท่องเที่ยว ภัตตาคาร สันทนาการ บริการ ตลอดจนค้าปลีก ค้าส่ง รวมถึงกลุ่มพาร์ทไทม์ ฟรีแลนซ์ ผู้ประกอบการรายย่อย และเจ้าของธุรกิจส่วนตัว จากข้อมูลการสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ว่างงานกว่า 7.5 แสนคน ซึ่งสูงกว่าปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันถึงเกือบเท่าตัว ส่วนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานตามมาตรา 38 ก็เพิ่มสูงขึ้นไปที่ประมาณ 3 แสนคน ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่อาจรู้สึกถึงความรุนแรงของผลกระทบและประเมินไว้ก่อนหน้าว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบหลายล้านคน(ธนาคารแห่งประเทศไทย,2563) การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ได้สร้างวิกฤตทั้งทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อนในช่วงชีวิตคน แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถรับมือโควิด-19 ได้ดีจนทั่วโลกให้การยอมรับ สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส พร้อมทั้งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ตลอดจนทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคเพื่อให้หน่วยธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้ตามลำดับ แต่สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง รวมถึงรูปแบบการทำธุรกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงไปภายใต้วิถีปกติใหม่ (New normal) ทำให้แรงงานมีโอกาสได้รับผลกระทบมากและกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ยาก เช่น แรงงานในธุรกิจที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินเนื่องจากได้รับผลกระทบรุนแรง และแรงงานในธุรกิจที่ปรับไปใช้ automation ในกระบวนการผลิต รวมถึงแรงงานสูงอายุและแรงงานทักษะน้อย แนวโน้มดังกล่าวจะทำให้แรงงานจำนวนหนึ่งต้องกลับถิ่นฐานของตนเพื่อประกอบอาชีพเป็นการถาวร ดังนั้น คำถามเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ เราจะปลดล็อกข้อจำกัดที่ทำให้ภาคเกษตรวนเวียนอยู่ในโลกเก่าเพื่อเปิดรับและนำพาแรงงานรุ่นใหม่ไปทำการเกษตรที่ยั่งยืนบนวิถีปกติใหม่ได้อย่างไร หากเราสามารถปรับโครงสร้างภาคเกษตรให้เป็นแหล่งจ้างงานต่อเนื่องจะช่วยให้ประชาชนสามารถอาศัย และประกอบอาชีพอยู่ในภูมิลำเนาของตน ไม่ต้องเข้ามาแออัดทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยรักษาระยะห่างทางกายภาพ (physical distancing) ตามวิถีปกติใหม่ (ธนาคารแห่งประเทศไทย,2563) จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดหนึ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือการผลิตภาคเกษตรกรรมฯ มีสัดส่วนร้อยละ 52.3 การบริการและการท่องเที่ยว มีสัดส่วนร้อยละ 38.2 ภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนร้อย ละ 9.5 โดยจังหวัดชุมพรมีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด โดยการเพิ่มสัดส่วนทั้งสามด้าน อย่างเหมาะสมและมีเสถียรภาพ ภาคการเกษตรตั้งเป้า 53.24% ภาคการบริการและการท่องเที่ยวตั้งเป้า 37.92% จากจำนวนนักท่องเที่ยว เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการการขนาดย่อมรายย่อยและเพิ่มยอดขายปลีกและส่ง, ภาคอุตสาหกรรมตั้งเป้า 8.84% ด้วยการหาผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น (สำนักข่าว กรมประชาสัมพัน,2563) การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยังยืนในอาชีพเกษตรนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ได้พระราชทานไว้ ประกอบกับความห่วงใยต่อพสกนิกรชาวไทย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ของพระรัชกาลที่ 10. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกร ของพระองค์ผ่านพระราชดำรัสในโอกาสต่างๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยองค์ความรู้เรื่อง เกษตรทฤษฎีใหม่ ขึ้นที่ 2 คือการพัฒนาเกษตรกรให้สามารถจัดการผลผลิต การรวมกลุ่ม การสร้างความเข้มแข็ง เพื่อต่อยอดสู่ผู้ประกอบการในอนาคต โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่สู่เกษตรมูลค่าสูง จังหวัดชุมพร จึงเป็นโครงการหนึ่งที่จะพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีความสามารถศักยภาพการผลิตที่เน้นการเกษตรมูลค่าสูง การสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรกรให้เป็นที่ต้องการของตลาด การส่งเสริมการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การส่งเสริมการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายให้เกิดความเชื่อมโยงทั้งตัวเกษตรกร ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยง ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงตลาดได้คล่องตัวมากขึ้น โดยโครงการ ดังกล่าวจะเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Work shop) การพัฒนาศักยภาพสู่การปฏิบัติและพัฒนาเกษตรกร อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างผู้ประกอบการสมัยใหม่ ให้สามารถพัฒนาต่อยอดอาชีพการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการประกอบอาชีพทางการเกษตรอย่างมั่นคงและยังยืน โดยจะดำเนินการรับสมัครเกษตรกร เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพของจังหวัดชุมพร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. พัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงยุค New Normal
2. สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางเกษตรเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
3. พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่สู่ผู้ประกอบการสู่การเกษตรมูลค่าสูง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่สู่เกษตรมูลค่าสูง จังหวัดชุมพร
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : เกิดต้นแบบเกษตรกรที่พร้อมสำหรับการพัฒนาสู่ผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 คน 5
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 จำนวน 40
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่สู่เกษตรมูลค่าสูง จังหวัดชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม : อบรมเชิงปฏิบัติการ และสร้างเครือข่ายการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ จังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ฐิระ  ทองเหลือ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางภัทร์ธนกัลย์  เตี่ยไพบูลย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 5,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คนๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมง 2 คนๆละ 1,200 บาท 2 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมง 2 คนๆ ละ 300 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คนๆละ 200 บาท 15 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษ ปากกา แฟ้ม ฯลฯ เป็นเงิน 7,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,400.00 บาท 0.00 บาท 7,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย002 65
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล