18026 : โครงการเพิ่มศักยภาพทางวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ (Smart Agroforester) สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/1/2565 14:10:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
31/01/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  59  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ชั้นปีที่ 3 หลักสูตร 4 ปี
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2565 30,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ วรวุฒิ  งามพิบูลเวท
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.13 ทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-1.การเสริมสร้างวิชาการและทักษาวิชาชีพที่ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์ 65-1.6 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-1.6.1 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 65-1.6.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาชั้นปีสุดท้ายให้ได้รับการพัฒนาที่มุ่งเน้นกระบวนการ 5 ด้าน ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ.
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ เป็นสาขาที่เปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 โดยเป็นการศึกษาเพื่อมุ่งพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นการศึกษาและการวิจัยด้านการจัดการเกษตรป่าไม้ ซึ่งเป็นรูปแบบของการศึกษาวิธีการทำการเกษตร ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเกษตรป่าไม้ (วนเกษตร) ออกสู่สังคม เป็นนักเกษตรป่าไม้ที่สง่างาม (Smart Agroforester) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาด้านการเกษตรควบคู่ไปกับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะทรัพยากรดิน ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม อันเป็นพื้นฐานการดำรงชีพของประชาชนและการเสริมสร้างเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชาวท้องถิ่นให้ดีขึ้น การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาทางวิชาการของสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอต่อการออกไปปฏิบัติงานจริงจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โรงเรียนการป่าไม้ เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาศาสตร์ทางด้านป่าไม้มาเนิ่นนานจนถือว่าเป็นรากเหง้าแห่งการศึกษาศาสตร์ทางด้านการป่าไม้อีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่ครบครัน การที่นักศึกษาสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ได้มีโอกาสไปสัมผัสและเรียนรู้ในสถานที่แห่งนี้จึงนับได้ว่าได้เรียนรู้จากสถานที่ปฏิบัติงานจริงและมีจิตสำนึกที่ดีต่อการเป็นนักเกษตรป่าไม้สมกับคำว่า Smart Agroforester นอกจากนั้นนอกจากนั้นในการฝึกปฏิบัติการในครั้งนี้ยังเป็นกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนออกสหกิจศึกษาของสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ เนื่องจากนักศึกษาทีได้รับการฝึกอบรมครั้งนี้ต้องออกไปสหกิจศึกษา ซึ่งประสบการณ์จากการฝึกครั้งนี้จะช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมที่จะออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานป่าไม้ที่อยู่ห่างไกลและกันดาร ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมเพิ่มความเข้มแข็งทางวิชาการให้พร้อมที่จะไปปฏิบัติงาน สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพทางวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ขึ้น ณ สถานที่ป่าโรงเรียนการป่าไม้แห่งนี้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านวิชาการทางเกษตรป่าไม้และการพัฒนาอาชีพพร้อมเสริมทักษะและประสบการณ์ให้พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการทำงาน
2 เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษา
3 นักศึกษามีความพร้อมในประสบการณ์ทำงานในสายวิชาชีพเกษตรป่าไม้ ก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการเพิ่มศักยภาพทางวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ (Smart Agroforester) สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
59 คน 59
KPI 2 : ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ระดับ 4
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการเพิ่มศักยภาพทางวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ (Smart Agroforester) สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อกิจกรรม :
การเพิ่มศักยภาพทางวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ (Smart Agroforester) สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัย แม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 31/01/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วรวุฒิ  งามพิบูลเวท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อลาภ  คำโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ประเจต  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.แหลมไทย  อาษานอก (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา  พงษ์การัณยภาส (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุมัย  หมายหมั้น (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อิสรีย์  ฮาวปินใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศิริลักษณ์  สุขเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธิติ  วานิชดิลกรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 5 คน ๆ ละ 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
นักศึกษาขาดทักษะในการผูก รัด มัด ตรึง และการแพ็คกระเป่าในการเข้าป่า
นักศึกษาขาดทักษะในการใช้เครื่องมือGPS และแผนที่
นักศึกษาขาดทักษะในการดำเนินการเรื่องเก็บข้อมูลระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ - WCS Thailand
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ในครั้งต่อไปจะมีการเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 โครงการ Smart Agro 65.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล