18006 : โครงการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/1/2565 19:54:11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
17/01/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เชษฐ์  ใจเพชร
อาจารย์ ดร. ภาวิดา  รังษี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.4 ชุมชนที่ได้รับการยกระดับจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 40. ผลักดันให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี/ให้บริการวิชาการจากมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากกระแสผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบันเริ่มตื่นตัวหันมาใส่ใจและห่วงใยเรื่องสุขภาพมากขึ้นให้ความสำคัญต่อการเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะพืชผักปลอดสารเคมีและผักปลอดสารพิษที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น จึงส่งผลให้เกิดแนวคิดในการผลิตผักปลอดสารพิษ เพื่อตอบสนองกับความต้องการดังกล่าว ปัจจุบันที่มีโรคภัยไข้เจ็บมากมายโดยเฉพาะพวกโรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ที่อัตราการเกิดโรคเหล่านี้จะมีสูงขึ้นสาเหตุส่วนหนึ่งก็เกิดจากอาหารการกิน หลายคนจึงเริ่มตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยในธุรกิจอาหาร หลาย ๆ คน เริ่มมองหาทางเลือกไว้เป็นทางรอดเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น เพราะเริ่มมองถึงสุขภาพในระยะยาว และหนึ่งในกระแสรักสุขภาพที่ได้รับความสนใจก็คือการบริโภคผักปลอดสารพิษ โดยการลดใช้สารเคมี แล้วนำวัสดุทางการเกษตรนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ และยังสามารถนำไปผลิตพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือนได้ เป็นพืชที่ปลอดภัย โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นและรายจ่ายลดลง และในระยะยาวสามรถลดต้นทุนการผลิตได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมัยก่อนพื้นที่ตำบลบ้านควน มีอาชีพทำนา ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ซึ่งเป็นที่ขึ้นชื่อของตำบลบ้านควนไม่ว่าจะเป็นเงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง ลางสาด และไม้ต่าง ๆ อีกมากมาย ต่อมาได้มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจยางพารา ปาล์มน้ำมัน ที่มีราคาสูง ทำให้ประชากรให้มาล้มพืชเศรษฐกิจเดิมเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่นี้มากขึ้นส่งผลให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาโดยตลอด ปัจจุบันเกิดปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ ต้นทุนในการดูแลสูงขึ้น การขาดแคลนน้ำดื่ม อุปโภค บริโภคในช่วงหน้าแล้ง ห้วย หนอง คลองบึง ที่แห้งขอดจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และป่าไม้ที่ลดน้อยลง จากการเจริญของวัตถุ สังคม เศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความเสื่อมของด้านจิตใจ ค่านิยมและสังคม ขาดการดูแลเอาใจใส่ในสังคม ครอบครัว สิ่งแวดล้อมและอื่น ๆ ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านยาเสพติด การพนัน การกู้หนี้นอกระบบ การทำลายธรรมชาติ การบุกรุกพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ของรัฐ และอื่น ๆ อีกมากมายที่รอการแก้ไขจากรัฐ องค์กรต่าง ๆ และที่สำคัญคือจากคนในชุมชนเอง ดังนั้นการพึ่งพาตนเองในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกผักสวนครัว เป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน อีกทั้งเป็นการพึ่งพาตนตามหลัก “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ว่า สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศโดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
2 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจลดการพึ่งพาสารเคมี
3 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจมีความรู้ความเข้าในการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน โดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
KPI 1 : จำนวนเกษตรกรที่สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจมีความรู้ความเข้าในการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน โดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/01/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ภาวิดา  รังษี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ความเสี่ยงจากการระบาดของโรคโควิด-19 อาจมีผลต่อการดำเนินโครงการในกรณีที่อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ควรมีการป้องกัน เช่น มีการวัดอุณหภูมิร่างกาย ใส่แมส และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล