17987 : โครงการพัฒนานักศึกษา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นายภานุวัต ศิริ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/3/2565 13:23:18
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
27/01/2565  ถึง  29/07/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบพัฒนานักศึกษา 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร. กฤดา  ชูเกียรติศิริ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-2.1.3 นักศึกษามีความรู้ และทักษะในด้านสัตวศาสตร์ ควบคู่คุณธรรมและจริยธรรม
ตัวชี้วัด AS 65-2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาศตรรษที่ 21
กลยุทธ์ 65-2.1.5 ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสำหรับนักศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะทางวิชาการ และทักษะการใช้ชีวิต ด้วยกิจกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตัวชี้วัด AS 65-2.10 จำนวนรางวัลที่นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า หรือส่วนงานได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ
กลยุทธ์ 65-2.1.5 ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสำหรับนักศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะทางวิชาการ และทักษะการใช้ชีวิต ด้วยกิจกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การผลิตบัณฑิต จัดเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งต้องมีการผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นที่ยอมรับของสังคม ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำโครงการ “พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเครือข่ายศิษย์เก่า” เพื่อให้บรรลุพันธกิจด้านการการผลิตบัณฑิตของคณะสัตว-ศาสตร์และเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ งานประเพณี 4 จอบ ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2526 มีสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตร 4 สถาบันคือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เชื่อมความสามัคคี รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมไปถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละสถาบันที่ตั้งอยู่ให้แก่เพื่อนต่างสถาบัน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการเกษตรที่ยั่งยืน อันเป็นองค์ประกอบสําคัญในการบูรณาการ จึงเป็นที่มาของงาน “กีฬา 4 จอบ” ซึ่งสถาบันแรกที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ คือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีการสับเปลี่ยนกันเป็นเจ้า ภาพเรื่อยมา รูปแบบของกิจกรรมเป็นการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร กีฬาสากล และกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนานหลากหลายรูปแบบ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบเพื่อความเหมาะสมโดยการลดกีฬาบางประเภทลง และได้มีการเพิ่มกีฬาทักษะทางการเกษตรให้มากขึ้นแทน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดกีฬาทักษะทางการเกษตรอาทิเช่น การแข่งขันจัดดอกไม้ การแข่งขันขยายพันธุ์พืช ติดตา – ต่อกิ่ง – ทาบกิ่ง การแข่งขันวินิจฉัยโรคพืช การแข่งขันรีดเต้านมเทียม การแข่งการตอนสุกร การแข่งขันทักษะการคล้องโคและล้มโค การแข่งขันบรรจุลูก พันธุ์ปลา เป็นต้น ซึ่งเป็นการนําเอาความรู้ทางด้านการเกษตรที่ได้ศึกษามาปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังมีการเสริมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ และจัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานในสถาบันทีเป็นเจ้าภาพ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่เพื่อนพ้องทางการเกษตรด้วยกันเอง เท่านั้น ยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ไปยังสังคมอีกด้วย ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “กีฬา 4 จอบ” เป็น “ประเพณี 4 จอบ” เนื่องจากไม่เน้นการแข่งขันกีฬาเพื่อการแพ้ หรือชนะ ความหมายของคําว่า “ 4 จอบ ” ในครั้งแรกนั้นหมายถึง คณะเกษตร 4 สถาบันที่ร่วมกันก่อตั้ง แต่ต่อมาได้มีการประชุมตกลงให้คําว่า 4 จอบ นั้นหมายถึง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อจะได้หมายรวมถึงการจัดงานร่วมกันของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันเกษตรทั่วประเทศไทยอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตรได้มาเข้าร่วมการจัดกิจกรรม งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ เพิ่ม มากขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีภาคีรวมแล้ว 12 สถาบัน งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ได้กําหนดให้จัดงานขึ้นทุกปี โดยแต่ละสถาบันเป็นเจ้า ภาพหมุนเวียนกันเรื่อยมา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าร่วมการแข่งขันงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ
เพื่อพัฒนาทักษะทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
เพื่อตอบสนองผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ
KPI 1 : ร้อยละของทักษะการแข่งขันที่ได้รับเหรียญทองต่อจำนวนทักษะการแข่งขันทั้งหมดทางด้านสัตวศาสตร์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 ร้อยละ 40
KPI 2 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 คน 25
KPI 3 : จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 คน 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 เข้าร่วมแข่งขันงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/01/2565 - 29/07/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.กฤดา  ชูเกียรติศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายกิตติพงษ์  ทิพยะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอภิชาติ  หมั่นวิชา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายครรชิต  ชมภูพันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อานนท์  ปะเสระกัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ยุทธนา  สุนันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ของประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นจนนำไปสู่การออกมาตรการต่างๆ จึงไม่สามารถยืนยันการจัดกิจกรรมที่มีคนจำนวนเยอะได้ หากสถาณการณ์ยังไม่คลี่คลาย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
คอยติดตามการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อมีความเสี่ยงน้อยลงถึงไม่มีความเสี่ยง ถึงจะเริ่มจัดกิจกรรม/โครงการได้
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล