17952 : โครงการส่งเสริมมารยาทไทยและการแข่งขันตีกลองปูจา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/1/2565 14:35:36
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
26/01/2565  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2565 3,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ภิญโญ  ผลงาม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.23 จำนวนรางวัลด้านศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.3 พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-4. เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 65-4.1 การเป็นสถาบันที่เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-4.1.1 จำนวนรางวัลด้านศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 65-4.1.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมการประกวด/แข่งขันต่างๆ ด้านศิลปวัฒธรรม รวมทั้งรักษาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มารยาทไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสำคัญยิ่งโดยเฉพาะยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สมควรที่จะปลูกฝังให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความรักและเข้าใจในมารยาทและวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกของชาติ ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรและผู้เรียนร่วมรณรงค์ส่งเสริมมารยาทและวัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ อาทิ การไหว้ การทักทาย การเดินผ่านผู้ใหญ่ การพูด การแสดงความมีน้ำใจ และอื่นๆ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมมารยาทไทยและวัฒนธรรมไทยให้แก่ผู้เรียนได้ร่วมกันสืบสานมรดกไทย เพื่อตอบสนองอัตลักษณ์การศึกษามูลนิธิฯ รวมถึงการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา กลองปูจา ก๋องปูจาหรือกลองบูชา เป็นอีกวัฒนธรรมไทยล้านนาที่เกือบจะเลือนหายไป คงเหลือผู้ที่สืบทอดศิลปะแห่งกลองปูจาแค่เพียงรุ่นอายุสูงเท่านั้น กลองปูจา เป็นกลองโบราณชนิดหนึ่งที่ใช้ในกิจกรรมทางพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนา ใช้ตีส่งสัญญาณบอกข่าวป่าวประกาศในชุมชน หรือใช้ตีเพื่อเป็นพุทธบูชาในวันโกน คือวันขึ้น-แรม 7 ค่ำ และ 14 ค่ำ เพื่อเตือนให้ทราบว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันพระ ตีเพื่อบอกให้รู้ว่าพิธีกรรมทางสงฆ์เสร็จสิ้น และใช้ตีในงานประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีณีตานก๋วยสลาก งานปอยหลวง งานฉลองสมโภชต่างๆ จนมีคำกล่าวไว้ในกลุ่มพุทธบริษัทว่า “หากสิ้นเสียงกลองปูจาเมื่อใด ศาสนาพุทธก็จะหมดสิ้นเมื่อนั้น…” กลองปู่จามีลักษณะเป็นกลองใบใหญ่ขึงด้วยหนังสองหน้า ตรึงหนังด้วยหมุดไม้ เรียกว่า กลองตึ้งหรือกลองต้าง เดิมมีใบเดียวแต่ต่อมาพัฒนาเพิ่มมา 4 ใบตามความเชื่อชาวล้านนาที่มีความศรัทธาต่อพุทธศาสนา ใบเล็ก 3 ใบเรียกว่า กลองลูกตุ๊บ ซึ่งมีความหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนใบใหญ่คือศาสนาพุทธทำนองที่ใช้ตีกลองปูจานี้ มี 3 ทำนอง ซึ่งมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน บางแห่งเรียกทำนองล่องน่าน ทำนองแซะ และทำนองสะบัดชัย แต่บางแห่งเรียกทำนองเสือขบตุ๊สาวหลับเตอะ และสะบัดไชย กลองปูจานั้นได้ถูกย่อส่วนกลองให้มีขนาดเล็กลงเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย เพื่อนำไปใช้ในขบวนแห่ประโคมต่างๆ จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ กลองสะบัดชัยในปัจจุบัน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามมารยาทไทยในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. เพื่อร่วมฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีตีกลองปูจา ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมของ จังหวัดแพร่
3. เพื่อให้นักศึกษาเกิดความประทับใจและมีเจตคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการส่งเสริมมารยาทไทยและการแข่งขันตีกลองปูจา
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้ร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการส่งเสริมมารยาทไทยและการแข่งขันตีกลองปูจา
ชื่อกิจกรรม :
การส่งเสริมมารยาทไทยและการแข่งขันตีกลองปูจา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/01/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายภิญโญ  ผลงาม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์  ทองเรือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเงินรางวัลการแข่งขันการตีกลองปูจา เป็นเงิน 2,500 บาท
2. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล