17904 : โครงการ การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้ห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/7/2565 15:37:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วย ประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ทหาร สังกัดหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 (ฉก.ร7) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ  ไชยชนะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสริมสุข  บัวเจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.3.4 2.3.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เกษตรกรรมเป็นอาชีพที่สำคัญของประชากรไทยซึ่งสูงถึง 40% และผลผลิตทางการเกษตรมีความหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่แต่ละภูมิภาคหรือจังหวัด โดยส่วนใหญ่แล้วผลผลิตที่ได้ลักษณะผลสดจะขายผ่านพ่อค้าคนกลางโดยทันที ซึ่งอาจจะได้ราคาขายที่ต่ำ และหากบางปีที่มีผลผลิตสูงจนล้นตลอดก็จะทำให้ราคาตกต่ำมากยิ่งขึ้น เกษตรกรบางส่วนจึงหันมาแปรรูปผลผลิตเพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ การอบหรือตากแห้งจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมซึ่งในอดีตเกษตรกรจะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้สำหรับลดความชื้นโดยการตากลานหรือการผึ่งให้แห้ง ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของความสะอาด เช่น ฝุ่น แมลง และเชื้อรา แต่ในระยะหลังจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีอบแห้งมากยิ่งขึ้นทำให้ลดปัญหาเรื่องของความสะอาดลง และทำให้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมีคุณภาพมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์อบแห้งสำหรับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมีหลายรูปแบบ เช่น การอบแห้งข้าวแต๋ว กล้วยตาก ลำใย สมุนไพร และการทำเนื้อ หมู ปลาแดดเดียว เป็นต้น สำหรับประเทศไทยเทคโนโลยีอบแห้งจากพลังงานงานแสงอาทิตย์นั้นมีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นประเทศในเขตร้อน มีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดีและค่อยข้างสูง จากการคำนวณรังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีของพื้นที่ทั่วประเทศพบว่ามีค่าเท่ากับ 18.0 MJ/m2-day วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในหลากหลายรูปแบบทั้งระบบ passive Active และแบบ Hybrid ที่มีการใช้พลังงานร่วมกันกับพลังงานชนิดอื่น ๆ เช่น ชีวมวล แก๊สธรรมชาติ ไฟฟ้า หรือจากพลังงานชิดเดียวกันแต่ใช้ 2 เทคโนโลยีร่วมกัน เทคโนโลยีดังกล่าวนี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้น และยากสำหรับการสร้าง และการออกแบบ ทั้งนี้เมื่อจิจารณา เห็นว่าการถ่ายทดความรู้เทคโนโลยีอบแห้งสำหรับเกษตรกร เทคโนโลยีจะต้องมีความง่ายในการออกแบบและสร้าง มีขนาดที่เหมาะสมกับผลผลิตและชนิดในแต่ละพื้นที่ สามารถใช้งานได้ง่าย ยังคงประสิทธิภาพในการอบแห้งให้ผลผลิตมีคุณภาพ และไม่เพิ่มรายจากจากการใช้พลังงานอื่น ๆ นอกจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนั้นในการถ่ายทดความรู้จึงเลือกเทคโนโลยีอบแห้งแบบ Passive คือ เป็นระบบอบแห้งไม่ใช้พัดลมและไฟฟ้าสำหรับบังคับการไหลของอากาศภายในระบบ แต่จะใช้หลักการไหลวียนอากาศแบบธรรมชาติ โดยเทคโนโลยีที่จะนำไปถ่ายทอดมีขนาด กว้าง 2 m ยาว 3 m สูง 1.8 m มีชั้นตากแห้ง 3 ชั้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มคุณภาพ มูลค่าของผลิตภัณฑ์จากการเกษตรให้กับเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้สามารถแข่งขันในการตลาดได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดรายจ่ายจากการใช้พลังงาน สร้างรายได้ให้เกษตรมีความมั่นคงในอาชีพ ยกระดับสินค้าวิสาหกิจชุมชนให้มีคุณภาพสูงขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับพื้นที่เป้าหมายที่จะถ่ายทอดความรู้แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือ 1) เทศบาลตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นที่สำคัญ แต่ส่วนใหญ่กระบวนการตากข้าวเป็นแบบการตากแดดในที่โล่งแจ้ง 2) เทศบาลตำบลวังดิน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกษตรการมีการทำเกษตรยั่งยืนแบบผสมผสานมีทั้งการปลูกพืช ผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ โดยในพื้นที่มีผลผลิตที่สำคัญคือ สัตว์เศฐกิจ ได้แก่ วัว สุกร ปลาดุก ปลานิล และผลไม้ที่สำคัญคือ ลำใย และ 3) องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เกษตรกรมีการปลูกสมุนไพรเพื่อการแปรรูป โดยมีการสนับสนุนและผลักดันให้มีการแปรรูปสมุนไพรที่มีคุณภาพในพื้นที่ โดยการถ่ายทอดความรู้เรื่องห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีความสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ โครงการพลังงานงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ กิจกรรมการเกษตรครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การปลูก หรือผลิตแปรรูปจนถึงนำผลผลิตไปขายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดําริให้จัดตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรขนาดย่อมขึ้น เพื่อรองรับผลิตผลทางการเกษตรของราษฎร โดยนํามาแปรรูปเพื่อถนอมผลผลิตเหล่านั้นให้สามารถเก็บไว้ได้นาน และส่งจําหน่ายเป็นรายได้ต่อไป โครงการนำองค์ความรู้/ผลงานวิจัยเรื่องใดมาบริการวิชาการ (โปรดระบุชื่อองค์ความรู้/ผลงานวิจัย) 1. นำองค์ความรู้ด้านการอบแห้ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ความร้อนในการเคลื่อนย้ายสสาร(ความชื้น) เพื่อให้ กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแข็ง โดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน 2. ใช้หลักการไหลเวียนอากาศร้อน เพื่อระบายความชื้นด้วยวิธีธรรมชาติ โดยอากาศเย็นจะไหลเข้าสู่ห้องอบแห้งทางด้านล่าง และอากาศร้อนภายในไหลออกสู่ด้านบน และพัดพาความชื้นออกจากห้องอบแห้ง ดังรูปที่ 1 3. โครงการ/ผลงานวิจัยด้านการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่เคยทำมาก่อน ได้แก่ • เครื่องอบแห้งพลังงานร่วม (ชีวมวล-แสงอาทิตย์) สำหรับการแปรรูปกล้วย (แหล่งทุน: สำนักงาคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)) • ห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (แหล่งทุน: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) • ระบบอบแห้งสมุนไพรพลังงานทดแทนร่วม (ชีวมวล-แสงอาทิตย์) (แหล่งทุน: กองทุนวิจัย ม.ทักษิณ (ทุนวิจัยตายุทธศาสตร์) • ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์,การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 25 ประจำปี 2558 • ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอากาศไหลอิสระ, การประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 3 (HERP CongressIII) วันที่ 9-11 มีนาคม 2558 • เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอ้อม, การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๗, วันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2557 • โครงการบริการวิชาการ ห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ปี 2561

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อบริการวิชาการด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ สำหรับเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2. เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบ สร้าง ใช้งาน และการบำรุงรักษาห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสำหรับเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
3. เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร พัฒนาผลผลิตสู่การเป็นสินค้าชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้ด้านการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้ห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนเทคโนโลยีในการลดรายได้ สร้างรายจ่าย 1 เทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เทคโนโลยี 1
KPI 4 : ร้อยละความสำเร็จความพึ่งพอใจของผู้ใช้เทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มชึ้นจากการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้ด้านการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้ห้องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้ห้องอบแห้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ  ไชยชนะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 1800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด A4 (30 หน้า) จำนวน 30 เล่มๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 5 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 2000 บาท เป็นเงิน 2000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คันๆละ 2,800 บาท 3 วัน เป็นเงิน 8400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 3600บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า สายไฟฟ้า กล่องพลาสติก เบรกเกอร์ หลอดแอลอีดี โคมไฟสำหรับใส่หลอด สายไฟฟ้า VCT 2*2.5 สายไฟฟ้า THW 1*1.5 กล่องพลาสติกกันน้ำ ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็กกล่อง ท่อส่งน้ำขนาด 3 นิ้ว ข้อต่อตรงขนาด 3 นิ้ว ข้องอขนาด 3 นิ้ว เหล็กแผ่น มุ้งลวด บานเปิดปิด เหล็กฉาก ซิลิโคน ฉากอลูมิเนียม ล้อเหล็ก กาวพีวีซี ข้อต่อตรงเกลียวใน 3 นิ้ว ท่อเหล็กขนาด 2 นิ้ว ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น สายยางรดน้ำ ถังน้ำ แผ่นพลาสติกใส ผ้าปูยาง ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกาลูกลื่น สันห่วง แผ่นปกใส กระดาษแข็ง กระดาษสี A4 เครื่องเย็บกระดาษ ซองน้ำตาลตราครุฑ ฯลฯ เป็นเงิน 4,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,700.00 บาท 0.00 บาท 4,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล