17810 : โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการเลี้ยงปูนาตามแบบพึ่งตนเอง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/12/2564 11:03:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในการเลี้ยงปูนา
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ กานต์  ทิพยาไกรศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาพร  ตงศิริ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-65-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-65-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-65-2-26 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-65-2.3.3 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เกษตรพอเพียงแบบพึ่งตนเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาเพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบพี่งตนเอง (Self Reliance) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 โดยทรงเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญ และมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาหาร ก่อน เป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ แนวพระราชดำริที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายามเน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงชนิดเดียว เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูง เนื่องจากความแปรปรวนของราคา และความไม่แน่นอน ของธรรมชาติ ทางออกก็คือ นอกจากจะปลูกพืชหลายชนิดแล้ว เกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปัจจุบัน (สำนักงาน กปร., 2542) ปูนา (Rice field crab) เป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมากสามารถหาได้ตามท้องทุ่งนาข้าวทั่วไปในช่วงฤดูฝนซึ่งในปัจจุบันปูนาตามแหล่งน้ำธรรมชาติเริ่มมีจำนวนลงลดแต่ความต้องการของตลาดปูนามีความต้องการตลอดเวลา (พัชรี,2560) อีกทั้งมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจสำหรับชาวประมงและเกษตรกรหลายย่อย เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดีถือว่าเป็นปูที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของคนเหล่านั้น นอกจากการขายสดแล้วยังสามารถนำมาใช้แปรรูปได้อีกหลากหลายอย่างเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับปูนา ในส่วนของการบริโภคปูนานั้น ปูนาถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมชั้นดีนั้นสามารถหาได้ง่ายในนาข้าวและนำไปทำอาหารได้หลายชนิด เช่น นำปูไปดองไว้ใส่ในส้มตำหรือยำมะม่วง เนื้อใช้ทำลาบปู มันปูใช้ทำปูอ่อง ก้ามปูใช้ทำก้ามปูนึ่งนำไปจิ้มกับน้ำจิ้ม หรือนำก้ามไปผัดผงกระหรี่ ส่วนปูตัวเล็กๆ ชาวบ้านจะจับมาทำน้ำปูซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองอันเลื่องชื่อของภาคเหนือ น้ำปูใช้เป็นเครื่องชูรสอาหารให้มีรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น เช่น นำน้ำปูมาใส่ในยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ส้มตำ ตำส้มโอ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปทำน้ำพริกน้ำปูแล้วรับประทานร่วมกับหน่อไม้ต้ม(นิตยา , 2552) ในส่วนของทางด้านการตลาดนั้น สามารถ ขายได้ทั้งแบบสดและแบบดอง หรือจะนำมาแปรรูปเป็นน้ำพริกเผากะปิปู ซึ่งสามารถขายส่งได้ตามร้าน อาหารก็สร้างรายได้ต่อหลายบาทเดือน โดยจากปูนาตัวเล็ก ๆ ที่เอาไปใช้ใส่ส้มตำนั้นแบบสดที่ยังไม่ได้ดอง จะสามารถนำมาขายได้กิโลกรัมละ 80-100 บาท ส่วนปูตัวใหญ่ที่กำลังจะลอกคราบหรือที่เราเรียกกันว่า ปูนิ่ม จะขายได้กิโลกรัมละ 1,200 บาท นอกจากนี้ทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ยังมีการนำมาแปรรูปปูนาต่าง ๆอีก เช่น ปูนาดอง ราคากิโลกรัมละ 150 บาท น้ำปูนาหรือน้ำปู ราคากิโลกรัมละ 380 บาท ปูนาอ่องหรือมันปูอ่อง ราคากิโลกรัมละ 200 บาท และอื่น ๆ มากมาย น้ำพริกปูนา 80 กรัม กระปุกละ 60 บาท ปูนาทอดกรอบ ปูนาต้ม ปูนานึ่ง เป็นต้น ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับปูนาและ เป็นที่สนใจต่อผู้บริโภคในปัจจุบัน เป็นอย่างมาก (อภิชาติ ,2560) หากมองในด้านผลผลิตของปูนาตามธรรมชาติในปัจจุบัน พบว่า การจับปูนาตามธรรมชาติมีปริมาณลดลงทุกปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งดิน น้ำ ต้นไม้ อุณหภูมิ การใช้สารเคมีเพื่อฆ่าแมลงและกำจัดวัชพืช และการใช้ปุ๋ยเคมี สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการทำลายระบบนิเวศ หรือสภาพแวดล้อมแหล่งอาศัยของปูนา ส่งผลให้ปูนาตามธรรมชาติลดลง และไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงปูนาเพื่อมาทดแทนผลผลิตจากธรรมชาติได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ (นิตยา, 2552) ทั้งนี้หากนำการเพาะเลี้ยงปูนามาบูรณาการกับเกษตรพอเพียงแบบพึ่งตนเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาเพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบพี่งตนเอง (Self Reliance) อาจจะเป็นแนวทางที่สามารถผลิตปูนามาทดแทนปูนาจากธรรมชาติ และสามารถให้เกษตรกรมีรายได้ พึ่งพาตนเองได้ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงปูนาตามแนวพระราชดำริเกษตรพอเพียงแบบพึ่งตนเอง
เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกร ผู้สนใจนำความรู้ไปใช้เพื่อเป็นการประกอบอาชีพการดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ เกษตรพอเพียงแบบพึ่งตนเองการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในการเลี้ยงปูนา ได้รับความรู้เกี่ยวการเลี้ยงปูนาตามแบบพึ่งตนเอง
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : เกิดอาชีพใหม่ในชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 อาชีพ 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 4 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : การบูรณาการผลงานทางวิชาการสู่พันธกิจ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พันธกิจ 1
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 9 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในการเลี้ยงปูนา ได้รับความรู้เกี่ยวการเลี้ยงปูนาตามแบบพึ่งตนเอง
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการเลี้ยงปูนาตามแนวพระราชดำริเกษตรพอเพียงแบบพึ่งตนเอง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์กานต์  ทิพยาไกรศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร  ตงศิริ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น อาหารสัตว์น้ำ, กากน้ำตาล, ปูนขาว,กระชัง ฯลฯ เป็นเงิน 33,300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 33,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 33,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ, ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 6,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล