17804 : โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของพืชมะเกี๋ยงด้วยเชื้อเห็ดตับเต่าเพื่อขยายผลสู่ชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/8/2565 10:52:21
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
28/12/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจ (สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สมาชิก อปท. เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หน่วยงานราชการต่างๆ ที่ร่วมสนองงาน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรรณา  มังกิตะ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 65-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 65-3.1.8 จำนวนโครงการสนองงานในพระราชดำริ/โครงการอพสธ /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ 65-3.1.8.1 บูรณาการโครงการพระราชดำริกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เห็ดตับเต่า (Phlebopus colossus (Heim.) Singer) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมณู เช่น แกงส้มเห็ดตับตับเต่า ผัดกระเพราะเห็ดตับเต่า แกงเขียวหวาน หรือทำเป็นทาร์ต พายเห็ดตับเต่า โดยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง บำรุงตับ บำรุงปอด กระจายโลหิต และดับพิษร้อนภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยบำบัดอาการปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเส้นเอ็นและกระดูก ป้องกันการชักกระตุก คนจีนใช้เป็นสมุนไพร แก้เคล็ดคัดยอก และปวดกระดูก (MGR online, 2555) ราคากิโลกรัมละ 200-350 บาท เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดราเอ็กโตไมคอร์ไรซ่าที่อยู่กับพืชอาศัยได้หลายชนิด ทั้งไม้ป่า ไม้ผล ไม้เกษตร ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชผัก เช่น สะเดา ประดู่ นนทรี ขี้เหล็ก ขนุน ชมพู่ มะปราง มะยงชิด มะกอกน้ำ มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะไฟ ลำไย หว้า กาแฟ ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า แคบ้าน หางนกยูงไทย หางนกยูงฝรั่ง เป็นต้น เชื้อเห็ดตับเต่าที่ไปอาศัยอยู่บริเวณรากพืชช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารโดยตรงจากกระบวนการเมตะโบไลท์ และยังช่วยสร้างเส้นใยห่อหุ้มรากทำให้สามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากดินและราก ทำให้พืชสามารถทนต่อสภาวะที่แห้งแล้งได้ดี น้ำย่อยของเห็ดตับเต่าช่วยให้แร่ธาตุอาหารในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช อีกทั้งยังทำหน้าที่เหมือนราเจ้าถิ่นทำให้เชื้อราโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น จึงทำให้ต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าอาศัยอยู่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อราโรคพืชได้ดี เส้นใยของเห็ดราเจริญห่อหุ้มรากของต้นไม้ไว้ช่วยรักษาความชื้นให้ต้นไม้ในฤดูแล้ง และเชื้อราช่วยย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ในดินให้เป็นธาตุอาหารในรูปที่ต้นไม้ใช้ประโยชน์ได้ทันที เห็ดป่าตับเต่าที่ใส่ลงในกล้าไม้ก่อนนำต้นไม้ไปปลูกช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นไม้ให้มากกว่าสภาพปกติ ประมาณ 2-3 เท่า (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ, 2562; อนงค์ และคณะ, 2543; ออมทรัพย์ และคณะ, 2544) ส่งผลต่อเนื่องในการเพิ่มประสิทธิภาพของต้นไม้ในการดูดซับก๊าชคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าชเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนและ สามารถกักเก็บคาร์บอนในรูปของเนื้อไม้ได้มากขึ้นด้วย (Donal, 1981) การนำเชื้อเห็ดป่าตับเต่าที่ใส่ลงในกล้าไม้ก่อนนำไปปลูกลงพื้นที่ นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้พืชที่ปลูกร่วมกับเห็ดมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้พืชเศรษฐกิจที่ปลูกร่วมกับเห็ดตับเต่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดตับเต่าซึ่งใส่ในกล้าไม้ของพืชกลุ่มไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก (เช่น ขนุน ชมพู่ น้อยหน่า มะกรูด มะนาว มะม่วง มะกอกน้ำ ลำไย มะไฟ อะโวกาโด แคบ้าน และ ผักกูด เป็นต้น) ติดดอก ออกผลได้เร็วขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย และเมื่ออยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะรวมตัวกันออกเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้นไม้ที่มีรากพืชกระจายอยู่ มะเกี๋ยง (Cleistocalyx nervosum var. paniala) วงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ผลที่ทางคณะปฏิบัติการ อพ.สธ ได้กำหนดให้เป็นพืชอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ มีการแปรูปเป็นผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายมากมาย เช่น น้ำมะเกี๋ยงพร้อมดื่ม โยเกริตมะเกี๋ยง เค้กมะเกี๋ยง น้ำมะเกี๋ยงเข้มข้น ชาใบมะเกี๋ยง สารสกัดจากมะเกี๋ยง เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเกษตรยังรู้จักมะเกี๋ยงไม่แพร่หลาย อีกทั้งกว่าที่ต้นมะเกี๋ยงที่เพาะจากเมล็ดจะติดดอก ออกผลก็ใช้เวลานานกว่า 5 ปี เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มะเกี๋ยงเป็นพืชเศรษฐกิจ และพัฒนาให้เป็นพืชอุตสาหกรรมในอนาคต และเพื่อเป็นพืชนำร่องหรือเป็นพืชตัวอย่างที่จะทำการศึกษาจากพืชที่มีโอกาสใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้นการนำเชื้อเห็ดตับเต่ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโต เร่งการติดดอก ออกผลให้เร็วขึ้น และเมื่อมะเกี๋ยงเจริญเติบโตดีแล้ว ก็จะให้ผลผลิตเห็ดตับเต่าออกมาอีกทางหนึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรอยากปลูกมะเกี๋ยงเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพืชมะเกี๋ยงอย่างยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของพืชมะเกี๋ยงด้วยเชื้อเห็ดตับเต่าเพื่อขยายผลสู่ชุมชน
2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชมะเกี๋ยง และขยายผลสู่ชุมชน
3. เพื่อสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืนในชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงและสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเชิงพาณิชย์
KPI 1 : จำนวนผู้เข้ารับการถ่ายทอด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 2 : งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200000 บาท 200000
KPI 3 : จำนวนกล้าไม้ใส่เชื้อเห็ดตับเต่าเพื่อขยายผลสู่ชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2000 ต้นกล้า 2000
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนพื้นที่ขยายผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 พื้นที่ 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงและสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเชิงพาณิชย์
ชื่อกิจกรรม :
การเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของพืชมะเกี๋ยงด้วยเชื้อเห็ดตับเต่าเพื่อขยายผลสู่ชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณา  มังกิตะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร  ปานง่อม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สิริยุพา  เลิศกาญจนาพร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ปิยะพิศ  ขอนแก่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อุบลวรรณ  สุภาแสน (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายกิติพงษ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสมศักดิ์  กันถาด (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางศิรภัสสร  กันถาด (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำระบบน้ำและแปลงต้นแบบการปลูกพืชมะเกี๋ยงร่วมกับการเพาะเห็ดตับเต่า เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1 คน ๆ ละ 120 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น อาหารเลี้ยงเชื้อ เครื่องแก้ว สารเคมีต่างๆ เป็นเงิน 70,000
2. ค่าวัสดุเกษตร เช่น ดิน แกลบดำ มูลวัว เมล็ดมะเกี๋ยง ซาแลน ถุงดำ สายยาง จอบ เสียม เป็นเงิน 30,000 บาท
3. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงพลาสติก ตระกร้าพลาสติก ถังน้ำ เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ค่าวัสดุก่อสร้างสำหรับจัดทำแปลงต้นแบบ เช่น เสา ปูน ท่อน้ำ เป็นเงิน 16,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 121,000.00 บาท 0.00 บาท 121,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 150000.00
ชื่อกิจกรรม :
การถ่ายทอดความรู้ การปลูกมะเกี๋ยงร่วมกับเชื้อเห็ดตับเต่าสู่ชุมชน หรือพื้นที่สนองงานโครงการพระราชาดำริ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณา  มังกิตะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร  ปานง่อม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สิริยุพา  เลิศกาญจนาพร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ปิยะพิศ  ขอนแก่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อุบลวรรณ  สุภาแสน (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายกิติพงษ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสมศักดิ์  กันถาด (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางศิรภัสสร  กันถาด (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 15,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์พร้อมขาตั้ง จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 32,000.00 บาท 0.00 บาท 32,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา ฟิวเจอร์บอร์ด เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงผ้า กะละมัง ถังน้ำ เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล