17789 : โครงการนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบต้นทุนต่ำเพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการเลี้ยงในระบบอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/12/2564 14:50:28
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย เทพพิทักษ์  บุญทา
อาจารย์ ดร. โดม  อดุลย์สุข
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-65-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-65-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-65-2-26 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-65-2.3.3 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กบ เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนำมาบริโภคเป็นอาหาร เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีรสชาติอร่อย ปัจจุบันความต้องการในการบริโภคกบมีเพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ (ภาณุวัฒน์, 2546; พงศ์พัฒน์, 2540) อย่างไรก็ตามผลผลิตกบทั้งจากธรรมชาติและจากฟาร์มเพาะเลี้ยงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งประชากรกบในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทยที่มีการขยายพื้นที่อยู่อาศัยและบุกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น ทั้งนี้กบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น คือประมาณ 3–4 เดือน/รุ่น จะได้ผลผลิตประมาณ 4–6 ตัว/กก. และจำหน่ายได้ราคาดี (80–120 บาท/กก.) สามารถให้ความคุ้มทุนทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ปัจจุบันมีผู้สนใจในอาชีพเลี้ยงกบเป็นจำนวนมาก โดยกบที่มีการเพาะเลี้ยงกันมากที่สุด คือ กบนา (Hoplobatrachus rugulosus) แม้จะมีการทำฟาร์มเลี้ยงกบในเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น แต่พบว่าผู้เลี้ยงยังประสบปัญหาด้านการอนุบาลลูกอ๊อดที่มีการพัฒนารูปร่าง (Metamorphosis) จากไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อจนกระทั่งเป็นตัวสำเร็จจะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน คือ 40–50 วัน อีกทั้งการเลี้ยงกบโดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทย ในฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ (14-22 องศาเซลเซียส) จึงไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกบเชิงพาณิชย์และส่งผลให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงกบหยุดชะงัก อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีเกษตรกรบางพื้นที่ได้ทำการสร้างโรงเรือนคลุมพลาสติก ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิได้ จึงทำให้แก้ปัญหาการเพาะเลี้ยงกบในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังประสบปัญหาลูกพันธุ์กบมีอัตรารอดตายต่ำ ไม่แข็งแรง โตช้า และไม่ทนต่อโรคและพยาธิ จึงทำให้ผู้เลี้ยงกบมักจะนำยาปฏิชีวนะและสารเคมีมาใช้ในการป้องกันรักษาโรค ซึ่งอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยา เกิดการตกค้างของสารเคมีในน้ำและในเนื้อกบ ทำให้ไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค จึงเกิดแนวคิดในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งตลาดต่างประเทศและในประเทศ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก ในระยะวัยอ่อนของทั้งสัตว์บก สัตว์ปีก และสัตว์น้ำนั้นต้องการไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งกระตุ้นการพัฒนาของอวัยวะต่าง ๆ การเจริญเติบโต และการทำงานต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อให้ทำงานเป็นปกติ โดยไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมเมตามอโฟซีสของสัตว์ครึ่งบกบกครึ่งน้ำมากกว่าปัจจัยอุณหภูมิ คุณภาพน้ำ คุณลักษณะและคุณภาพอาหาร และฮอร์โมน Thyroxine จะเป็นตัวชักนำให้เกิดการหดของหางลูกกบวัยอ่อน ซึ่งต้องใช้ไอโอดีนเป็นสารตั้งต้น นอกจากไอโอดีนแล้วยังมีฮอร์โมน Tyrosine ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ได้จากอาหาร และการเจริญของกระดูกในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นต้น (Etkin, 1932; Guttler, 2002) แต่อย่างไรก็ตามแร่ธาตุไอโอดีน (KIO3) ที่เป็นแร่ธาตุบริสุทธิ์มีราคาแพง (50 กรัม ราคา 250 บาท) อีกทั้งในเขตภาคเหนือก็ไม่สามารถหาไอโอดีนที่มีในธรรมชาติ เช่น สาหร่ายทะเลหรือสัตว์น้ำทะเลมาทดแทนได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ดังนั้นเกลือไอโอดีนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาทดแทนแร่ธาตุไอโอดีนเพื่อเสริมการพัฒนาของลูกกบวัยอ่อนได้ การหาแนวทางการเพาะเลี้ยงกบโดยเน้นหลักการเลี้ยงแบบอินทรีย์เพื่อเป็นอาหารปลอดภัยจึงเกิดขึ้น โดย จงกล (2557) กล่าวว่าองค์กรระดับสากลที่มีมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ชัดเจน คือ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements, IFOAM) ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ (IFOAM Basic Standards, IBS) หน่วยรับรอง (Certification Body, CB) มาตรฐาน IFOAM ที่ใช้ในปัจจุบัน คือ Version 2005 ซึ่งวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ คือเพื่อให้ได้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยมีหลักการการผลิตแบบเกษตรผสมผสาน รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ หมุนเวียนการใช้ทรัพยากรภายในฟาร์มให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการค้นหาวิธีการเลี้ยงกบในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและพื้นที่บนภูเขาสูง (เทพพิทักษ์ และอภินันท์, 2561) เพื่อเพิ่มผลิตกบให้เพียงพอ มีคุณภาพและปลอดภัย สนองความต้องการอาหารของเมืองท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมแนวทางการผลิตอุตสาหกรรมอาหารภายใต้โครงการ Northern Food Valley (เกรียงศักดิ์ และคณะ, 2561) แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้และเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงกบ คือ อาหารที่ดีมีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและราคาถูก ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงกบมักประสบปัญหาต้นทุนค่าอาหารสำเร็จรูปที่มีราคาค่อนข้างแพง (30-40 บาทต่อกิโลกรัม) คิดเป็น 40-60 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนในการเลี้ยง นอกจากนี้ ปลาป่น ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนหลักในอาหารกบ เนื่องจากมีระดับโปรตีนสูง ย่อยง่าย เป็นแหล่งสารดึงดูดการกินอาหารและไม่มีสารต้านโภชนาการ อีกทั้งปลาป่นยังมีกรดอะมิโนจำเป็นที่สมดุลกับความต้องการของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะเมทไทโอนีน และไลซีนสูง (พันทิพา, 2547) อย่างไรก็ตามปลาป่นมีราคาแพง (50-60 บาทต่อกิโลกรัม) และมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ สวนทางกับปริมาณการจับปลาในทะเลที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตปลาป่นที่ลดลง ทำให้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการลดปริมาณปลาป่นในสูตรอาหารสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวมถึงสัตว์บก และสัตว์ปีกด้วย ซึ่งหนอนแมลงวันลายก็เป็นแหล่งโปรตีน (40-45 เปอร์เซ็นต์โปรตีน) ทางเลือกหนึ่งที่สามรถนำมาทดแทนโปรตีนจากปลาป่นได้ โดยจากการศึกษาพบว่าหนอนมีคุณค่าทางโภชนาการที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ของกบได้ เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจสามารถลดต้นทุนค่าอาหาร สามารถเพิ่มผลผลิตได้ และยังเป็นการเลี้ยงกบในระบบอินทรีย์ ดังนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบต้นทุนต่ำ เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของกลุ่มชุมชนประมงท้องถิ่นตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และคู่มือประมงอินทรีย์ แม่โจ้ มาถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกร นักศึกษาและผู้ที่สนใจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบต้นทุนต่ำและจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้กับเกษตรกร และนอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตของผู้ประกอบการเลี้ยงกบสู่มาตรฐานการเลี้ยงในระบบอินทรีย์ได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเผยแพร่เทคนิคและวิธีการเพาะขยายพันธุ์ การอนุบาลลูกอ๊อด การเลี้ยง และการผลิตหนอนผลไม้เพื่อเป็นอาหารกบอินทรีย์ให้กลุ่มเกษตรกร นักศึกษา และ ผู้ที่สนใจ
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการประกอบอาชีพ รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตกบนาให้เกษตรกร นักศึกษาและผู้ที่สนใจ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมและเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนบทปฏิบัติการในรายวิชาหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (พล221)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกบต้นทุนต่ำ เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการเลี้ยงในระบบอินทรีย์
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้องค์ความรู้จากการอบรมเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกบต้นทุนต่ำ เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการเลี้ยงในระบบอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบต้นทุนต่ำ เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการเลี้ยงในระบบอินทรีย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ
2.ติดต่อประสานงาน จัดเตรียมสถานที่ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
3.จัดทำคู่มือและเอกสารประกอบการฝึกอบรม
4.จัดฝึกอบรม
5.สรุปผลการจัดทำโครงการ และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.โดม  อดุลย์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 2 คนๆ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คนๆ 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น พ่อแม่พันธุ์กบ วัตถุดิบการผลิตอาหารหนอน และวัสดุเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกบ และหนอน เช่น กากถั่วเหลือง รำละเอียด เกลือป่น สวิงตาถี่ พลาสติกโรงเรือน ตาข่ายไนล่อน ท่อ PVC กะละมัง ตะกร้า ละ ฯลฯ เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ แฟ้ม ปากกา ถ่ายเอกสาร และ ฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานที่ทำการอบรม และเกษตรกรผู้เข้าอบรม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ และสำรวจการทำบ่อสาธิตให้มากกว่า 2 ที่
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล