17785 : โครงการอบรมมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงแก่นักศึกษา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/12/2564 10:47:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
28/12/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  85  คน
รายละเอียด  นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ จาก 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ธัญญรัตน์  เชื้อสะอาด
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.13 ทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-1.การเสริมสร้างวิชาการและทักษาวิชาชีพที่ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์ 65-1.6 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-1.6.1 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 65-1.6.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาชั้นปีสุดท้ายให้ได้รับการพัฒนาที่มุ่งเน้นกระบวนการ 5 ด้าน ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ.
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้–แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้มีการจัดการเรียนการสอนทางสายวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ และสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร รวมนักศึกษาทั้งหมดของสายวิทยาศาสตร์ 4 ชั้นปี มีจำนวนมากกว่า 400 คน นักศึกษาทางสายวิทยาศาสตร์ที่จบไปแต่ละปีมีมากกว่า 100 คน โดยตามหลักสูตรก่อนการจบการศึกษา นักศึกษาจะต้องผ่านการศึกษาหัวข้อสนใจหรือการไปสหกิจศึกษาตามสถานประกอบการเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งการศึกษาหัวข้อสนใจหรือการไปสหกิจศึกษาของนักศึกษาทางสายวิทยาศาสตร์ หากมีทักษะการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง จะมีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะทำให้การศึกษาหัวข้อที่สนใจหรือการไปสหกิจศึกษาในสถานประกอบการมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานและส่งผลให้งานเป็นไปด้วยความราบรื่น อีกทั้งยังเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่ใกล้จะจบการศึกษา ให้มีทักษะและประสบการณ์ อันจะเป็นโอกาสที่จะทำให้นักศึกษาได้งานทำที่ดี จึงได้เล็งเห็นว่าโครงการอบรมการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงแก่นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่นักศึกษาในการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนทางด้านปฏิบัติการนั้นในทุกรายวิชาจะต้องมีการใช้สารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ในการทดลองต่าง ๆ ที่หลากหลายชนิด ขณะเดียวกันสารเคมีแต่ละชนิดที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีการจัดหมวดหมู่ให้ถูกต้องตามหลักการจัดหมวดหมู่สารเคมีแบบสากล เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสะดวกต่อการใช้งาน ประกอบกับการใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการนั้นจะต้องได้รับการควบคุมและมีการจัดการอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก ที่ส่งผลทำให้สภาพแวดล้อมเกิดความเสียหายและทำให้ความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้สารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ลดลง นอกจากนี้ชนิดของน้ำที่ใช้ในห้องปฏิบัติการนั้นมีหลายชนิดและมีระดับคุณภาพที่แตกต่างกัน ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพของน้ำที่ระดับต่างๆ เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อการทดลองหรืองานวิจัยที่แตกต่างกันในห้องปฏิบัติการจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทางสายวิทยาศาสตร์ มีทักษะการเรียนรู้การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งสนับสนุนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “การพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา”
2 เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีการเตรียมความพร้อมก่อนการศึกษาหัวข้อสนใจหรือการไปสหกิจศึกษา
3 เพื่อให้ทราบและเรียนรู้การใช้สารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
4 เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติในกรณีที่มีการหกรั่วไหลของชีววัตถุ (จุลินทรีย์)
5 เพื่อให้ทราบหลักการและเลือกใช้คุณภาพของน้ำที่ระดับต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการทดลองหรืองานวิจัยที่แตกต่างกันในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง
6 เพื่อเป็นการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีความปลอดภัยในเรื่องของการใช้และการจัดการสารเคมีและจุลินทรีย์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การอบรมการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงแก่นักศึกษา
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : การอบรมมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 คน 25
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : การอบรมเชิงปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การอบรมการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงแก่นักศึกษา
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงแก่นักศึกษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วาศิณี  ปานจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : การอบรมมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ธัญญรัตน์  เชื้อสะอาด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : การอบรมเชิงปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ถมรัตน์  ชัชวาลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล