17759 : “เกษตรรักษ์ดี วิถีภูดิน” สู่การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.พีรกานต์ เขตวัง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/12/2564 17:06:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  ชุมชนบ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร. จิระชัย  ยมเกิด
อาจารย์ ดร. ประยงค์  คูศิริสิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านการอุปโภคบริโภค และการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรม ดั่งพระราชดำรัสเกี่ยวกับน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน “หลักสำคัญต้องมีน้ำ น้ำบริโภคและน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก ถ้ามีน้ำ คนอยู๋ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้”(อัมพร สโมสร,2539:1) ปี 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริโครงการสร้างเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลขึ้นบ้านภูดิน และมีราษฏรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมดังนั้นทางราชการจึงต้องอพยพในพื้นที่ใหม่ และก่อตั้งหมู่บ้านเป็นบ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่พร้อมทั้งให้กรมชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในครัวเรือนและเพื่อการเกษตร เรียกว่า “อ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน” โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระ วชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรง เล็งเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนของราษฎร ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ ที่ดินทำกิน ขาดความรู้ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จึงทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเกษตร ด้านส่งเสริมอาชีพ ด้านสวัสดิการและสังคม ด้านสาธารณสุข เป็นต้น พร้อมทั้งได้พระราชทานแนวทางดำเนินงานให้หน่วยงานต่างๆ นำไปวางแผนปฏิบัติงาน ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ให้กับราษฎร ผู้ประสบความทุกข์ยาก ด้อยโอกาสและยากจนตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนั้น โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาราษฎรผู้ยากไร้ให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ห่างไกล ทุรกันดาร และยากจนอย่างแท้จริง หมู่บ้านภูดิน มีจำนวนครัวเรือน 425 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 962 ราย โดย ส่วนใหญ่ประกอบการอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งพื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด 4,500 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรจำนวน 2,195 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 415 ไร่ และพื้นที่ทำสวนจำนวน 1,780 ไร่ โดยมีผู้ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อ่างเก็บน้ำห้วยก้าง อ่างเก็บน้ำห้วยกุ๊ก เพื่อการอุปโภคบริโภค ปศุสัตว์ และการเกษตร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมา นับเป็นเวลาได้ 35 ปี ซึ่งอาบเก็บน้ำทั้ง 3 แห่งเป็นแหล่งน้ำที่รองรับน้ำจากลำห้วยที่ไหลลงมารวมกันจำนวนมาก โดยบริเวณรอบๆอ่างเก็บน้ำ เป็นที่ตั้งของบ้านเรือนอาศัยและและแหล่งเพาะปลูก ชาวบ้านจึงได้ใช้แหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค ทั้งการเกษตร และการดำรงชีพ ซึ่งได้มีการบริการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง ประสบปัญหาอ่างตื้นเขิน ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการได้ตลอดปี เนื่องจากทำให้เกิดวิกฤต การขาดแคลนน้ำ อากาศร้อน ผืนดินแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกปี สำหรับน้ำดิบ ที่นำมาใช้อุปโภคยังพบว่ามีคุณภาพลดลงต่ำกว่ามาตรฐานอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยทั้งในการดำรงชีพใช้ดื่มกิน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอนามัยของชุมชน และการประกอบอาชีพซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาความยากจนได้ จากสถานการณ์ที่ได้กล่าวนั้น มีปัจจัยมาจากความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย และเกิดความเสื่อมโทรมจนเกิดปัญหาตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งการขาดกลไกการสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำที่ไม่มีความสมดุลทั้งในระดับภาพรวม ได้แก่ พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ป่า ดิน สิ่งแวดล้อม อาทิ พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ จะช่วยทำหน้าที่เป็นโครงสร้างน้ำตามธรรมชาติ อันเป็นหัวใจของการรับมือวิกฤติน้ำและสภาพอากาศที่จะรุนแรงมากขึ้นในอนาคตได้ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและรักษาคุณภาพน้ำให้มีความสะอาดสามารถนำมาใช้ในการอุปโภค บริโภคได้ ซึ่งมีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยการกำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำได้ยึดหลักแนวทาง จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่ให้ความสำคัญต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยมีการน้อมนำแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ในส่วนประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ การปรับตัวของเกษตรกรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความมั่นคงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำและเร่งแก้ไขวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12, 2561) โดยมีแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สำคัญที่ครอบคลุม เพื่อการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเกิดความยั่งยืน เริ่มจากต้นทางคือ การอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำจากทรัพยากรต้นน้ำโดยใช้แนวพระราชดำริ ว่าด้วยเรื่องป่าเปียก ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่ให้ไว้สำหรับการฟื้นฟูต้นน้ำและเป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวป้องกันไฟเปียก (Wet Fire Break) และนำหลักความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ใการบริหารจัดการน้ำสำหรับการฟื้นฟูป่าชุมชนโดยทฤษฎีป่าเปียกผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนและรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และสร้างรูปแบบการบริหารจัดการให้เกิดอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยให้มีการบริหารจัดการ กลไก การประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนต่างๆทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาคประชาชนในชุมชนท้องถิ่น โดยสามารถวางแผนการใช้น้ำและการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย และอนุรักษ์บำรุงรักษาทรัพยากรน้ำได้อันเป็นการนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านความมั่นคง การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยึดหลักคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามาใช้เป็นหลักในการขับเคลื่อนเพื่อลดความเลื่อมล้ำในสังคม ถึงการพัฒนาประสิทธิภาพแนวทางการบริหารจัดการทางทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความมั่นคงทาง พลังงาน น้ำ อาหาร ด้วยเหตุดังกล่าว วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรและชุมชน ในการจัดทำโครงการ“เกษตรรักษ์ดี วิถีภูดิน” สู่การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
10.1 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
10.2 เพื่อสร้างต้นแบบ“เกษตรรักษ์ดี วิถีภูดิน” สู่การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ต้นแบบ “เกษตรรักษ์ดี วิถีภูดิน” สู่การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 3 : องค์ความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 8 : เกิดต้นแบบ “เกษตรรักษ์ดี วิถีภูดิน” สู่การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วย ภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ต้นแบบ 1
KPI 9 : ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ต้นแบบ “เกษตรรักษ์ดี วิถีภูดิน” สู่การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพื่อการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2565 - 30/06/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย  ยมเกิด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ประยงค์  คูศิริสิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 100 คน ๆ ละ 30 บาท 4 มื้อ เป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 100 คน ๆ ละ 150 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล