17750 : ฐานเรียนรู้การปลูกกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2/12/2564 13:40:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วย 1) กลุ่มนักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกร 3) หน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคธุรกิจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2565 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ศาสตราจารย์ ดร. อานัฐ  ตันโช
นาย ไพบูลย์  โพธิ์ทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กัญชา (Cannabis sativa subsp. indica Lam.) มีชื่อสามัญว่า Cannabis, Marihuana, Marijuana จัดอยู่ในวงศ์กัญชา (Cannabaceae) สมุนไพรกัญชา มีชื่อเรียกอื่นว่า กัญชา กัญชาจีน (ทั่วไป) ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ยานอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) คุณเช้า (จีน) ต้าหมา (จีนกลาง) เป็นต้น กัญชายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ที่กำหนดให้พืชกัญชาเป็นยาเสพติดประเภท 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 มีนัยยะว่า กัญชา ไม่ได้เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรง (ประเภท 1) หรือยาเสพติดให้โทษทั่วไป (ประเภท 2) ในพืชกัญชามีสารเคมีต่างๆมากกว่า 483 ชนิด เป็นสารในกลุ่ม cannabinoids มากถึง 65 ชนิด ที่สำคัญ คือ delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) ซึ่งสาร THC มีฤทธิ์กระตุ้นต่อจิตและประสาท (Psychoactive substance) จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 สาร THC ทำให้ผ่อนคลายมีผลต่อระบบประสาท อาจทำให้ "เมา"ได้ ถ้าได้รับมากเกินไป ขณะที่ CBD ทำให้ผ่อนคลายเหมือนกัน แต่แทบไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะไม่ทำให้มึนเมาและไม่ส่งผลต่อระบบประสาท เมื่อนำสารสกัดกัญชามาใช้ทางการแพทย์ THC จะช่วยลดอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก ส่วน CBD จะช่วยรักษาอาการของโรคต่างๆ ได้แก่ ไมเกรน ซึมเศร้า การอักเสบของกล้ามเนื้อ ต้อหิน ลมชัก พาร์คินสัน อัลไซเมอร์ และอาการทางจิต ส่วนอาการที่ THC และ CBD ช่วยได้เหมือนกัน คือ ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล พืชกัญชา เป็นพืชดั้งเดิมตามธรรมชาติ โดยมีอยู่อย่างแพร่หลายในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่น เช่น อเมริกาใต้ตะวันออกกลาง และเอเชีย ในประวัติศาสตร์มีรายงานการใช้ประโยชน์จากกัญชายาวนาน อาทิ ใช้เป็นอาหารคนหรือสัตว์ ใช้เพื่อการผ่อนคลาย และใช้ทำอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เชือก เสื้อผ้า รวมถึงใช้เพื่อรักษาโรคในรูปแบบต่างๆ ซึ่งตามตำราแพทย์แผนไทยยังจัดให้พืชกัญชาเป็นส่วนผสมในยาสมุนไพรไทย พืชกัญชา ในฐานะพืชสมุนไพรถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคทั่วโลก จนกระทั่งถูกกำหนดให้เป็นสิ่งผิดกฎหมายโดยประเทศสหรัฐอเมริกา และต่อมาหลายๆประเทศในโลกก็ออกกฎหมายระบุว่า กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ทำให้การศึกษาเรื่องการใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคหายไป แต่มีหลายประเทศได้พยายามศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดกัญชา ซึ่งพบว่า นอกจากกัญชาจะใช้รักษาอาการปวด คลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งแล้ว ยังสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น โรคลมชัก การอักเสบของสมองและไขสันหลัง(Multiple sclerosis) โรคโครห์น(Crohn’s disease) โรคต้อหิน รวมถึงโรคมะเร็งหลายชนิด สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ลงนามความร่วมมือ วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์กับกรมการแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม เพื่อปลูกกัญชาระบบเกษตรอินทรีย์ภายใต้โครงการปลูกและสกัดพืชกัญชาสำหรับการผลิตตำรับยารักษาโรคกรณีจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย(Special Access Scheme, SAS) 5,000,000 ซีซี เพื่อผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค โดยความร่วมมือในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ ได้ดำเนินโครงการผลิตช่อดอกกัญชาแห้งจากระบบผลิตกัญชาไทยคุณภาพสูงเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการปลูกกัญชาระยะแรกในปี 2562 ภายใต้โครงการจำนวน 12,000 ต้น โดยสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นกัญชาสายพันธุ์ไทย “อิสระ 01” ซึ่งจากการดำเนินงานทำให้เกิด เทคนิค การจัดการระบบการปลูก ตลอดจนองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องในกระบวนการปลูกพืชกัญชาระบบอินทรีย์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มีองค์ความรู้ บุคคลากรที่มีประสบการณ์และความพร้อมในการดำเนินการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคการบริหารจัดการระบบการปลูกพืชกัญชาระบบอินทรีย์นำไปสู่การผลิตช่อดอกกัญชาแห้งเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ มีความสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายแก่หน่วยงานที่ต้องการนำผลผลิตจากพืชกัญชาไปใช้ประโยชน์ได้ภายใต้ข้อบังคับตามกฎหมาย โครงการนำองค์ความรู้/ผลงานวิจัยเรื่องใดมาบริการวิชาการ (โปรดระบุชื่อองค์ความรู้/ผลงานวิจัย).................................... องค์ความรู้เรื่องการปลูกกัญชาทางการแพทย์

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งบริการวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม ให้กับนักศึกษา เกษตรกร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้การผลิตกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม สำหรับเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน บริการวิชาการ
KPI 1 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 100 150 คน 300
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 100 50 คน 200
KPI 6 : ร้อยละของผู้เข้ามาศึกษาดูงาน ภายในฐาน มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกกัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 70 70 70 ร้อยละ 70
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 30 30 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้การผลิตกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม สำหรับเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน บริการวิชาการ
ชื่อกิจกรรม :
สร้างแหล่งเรียนรู้การผลิตกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม สำหรับเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน บริการวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ  ตันโช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับองค์ความรู้ ขนาด เอ 4 (2 หน้า) จำนวน 2,000 แผ่นๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุเกษตร เช่น สแลนสีดำ, ถุงมือยาง,วัสดุปลูก(มูลวัว/กากเห็ด) เป็นเงิน 56,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 56,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 56,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ, แฟ้ม ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ,หมึกถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล