17728 : โครงการประยุกต์ภูมิปัญญาการอนุรักษ์ พัฒนาดิน น้ำ ป่า และสังคมฐานรากแบบบูรณาการ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/12/2564 9:40:41
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  90  คน
รายละเอียด  ผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยเป๊าะ อ่างเก็บน้ำห้วยกาน และประชากรในพื้นที่ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2565 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ปิยะพิศ  ขอนแก่น
อาจารย์ อุบลวรรณ  สุภาแสน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 65-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 65-3.1.7 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
กลยุทธ์ 65-3.1.7.1 ส่งเสริมและยกระดับโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดแพร่ พระองค์ท่านทรงตระหนกถึงความสำคัญของการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่อยู่ต้นลำน้ำยม ในการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ ต้องให้ความสำคัญกับการนโยบายและการวางแผนการบริหารจัดการในพื้นที่ มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นฐานการผลิตและการพัฒนาภูมิคุ้มกันให้กับสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ สัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทยในทุกระดับ ปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย และสภาวการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งการพิจารณาแนวทางหรือวิธีในการช่วยสร้างความชุ่มชื้นเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ต้นน้ำลำธารในการคืนความอุดมสมบูรณ์ และทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ พืช สัตว์ สามารถดำรงชีพอยู่ได้ เพื่อฟื้นฟูต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มเป็นลำดับ ในกระบวนการของการพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคีหลายฝ่าย เพื่อการทำงานแบบบูรณาการ และสร้างให้เกิดจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการจัดการของคนในพื้นที่ ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่เข้า ได้แก่ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็นอย่างแท้จริง ทั้งในประเด็นการครอบครอง สิทธิ การใช้ และการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงเหตุปัจจัยระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การป้องกันภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ การสร้างฐานรากที่มั่นคงเข้มแข็งในสังคมฐานราก การใช้โอกาสและปัจจัยแวดล้อมที่มีอยู่ในสังคม เพื่อยกระดับและปรับเปลี่ยนคุณภาพชีวิต มุ่งเสริมในประเด็นการพัฒนาเชิงคุณภาพอย่างเป็นลำดับขั้น ถือเป็นการพัฒนาที่สามารถพึ่งตนเองได้ ภายใต้การประยุกต์ภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ พัฒนาด้านดิน น้ำ ป่า และสร้างภูมิคุ้มกันเชิงพื้นที่ในสังคมฐานราก ให้พร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการวางแผนการผลิตและการบริโภคให้เกิดความยั่งยืน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการฐานทรัพยากรของตนเอง สร้างทางเลือกในการพัฒนาเชิงพื้นที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงศักยภาพ ความเข้มแข็ง และภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของ เป็นผู้จัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงจัดทำโครงการประยุกต์ภูมิปัญญาการอนุรักษ์ พัฒนาดินน้ำป่าและสังคมฐานรากแบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริ ในโครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดแพร่ โดยการคำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนแนวคิดการบริหารจัดการมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการฟื้นฟูและสร้างความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญทั้งในประเด็นดิน น้ำ ป่าไม้ เพื่อให้ฐานทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต เป็นพื้นฐานของการพึ่งตนเอง รวมทั้งเสริมสร้างทุนทางสังคม และรักษาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพเกี่ยวโยงอยู่ในทรัพยากรทุกอย่างและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบนิเวศ อีกทั้งให้สมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ร่วมกัน ร่วมกันค้นหาปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข และปกป้องทรัพยากรของชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ และพัฒนาดิน น้ำ ป่า ตามแนวพระราชดำริ
2 เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามแนวทางการอนุรักษ์ การพัฒนาดินน้ำป่าและสังคมฐานรากตามแนวพระราชดำริ ในโครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3 เพื่อพัฒนาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชุมชนมีแผนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทางการอนุรักษ์ปรับปรุงดิน และ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : มีการพัฒนาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ภายใต้การอนุรักษ์ พัฒนาดินน้ำป่าและสังคมฐานราก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : แผนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทางการอนุรักษ์ปรับปรุงดิน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 คน 90
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 พื้นที่ 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชุมชนมีแผนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทางการอนุรักษ์ปรับปรุงดิน และ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการเสวนาบทเรียนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทางการอนุรักษ์ปรับปรุงดิน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยะพิศ  ขอนแก่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์อุบลวรรณ  สุภาแสน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 17,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 14,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คน ๆ ละ 3 ชม ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 21,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เช่น หัวเชื้อจุลินทรีย์ กากน้ำตาล ฯลฯ เป็นเงิน 7,200 บาท (ใช้ในการจัด จำนวน 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 46400.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ : รู้รักษ์ร่วมมือพัฒนาดินน้ำป่า และสังคมฐานรากท้องถิ่นไทย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยะพิศ  ขอนแก่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์อุบลวรรณ  สุภาแสน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,200.00 บาท 0.00 บาท 13,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 22,000.00 บาท 0.00 บาท 22,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น อาหารเลี้ยงเชื้อ เครื่องแก้ว จานเลี้ยงเชื้อ แอลกอฮอล์ ฯลฯ เป็นเงิน 18,400 บาท
(ใช้ในการอบรม 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,400.00 บาท 0.00 บาท 18,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 53600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล