17720 : โครงการสานต่องานที่พ่อทำมุ่งสู่ป่าต้นแบบในโครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางมิ่งขวัญ แดงสุวรรณ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/12/2564 10:49:58
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1200  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,200 คน ประกอบด้วย หน่วยงานรัฐบาลและเอกชน ประชาชน นักเรียน นักศึกษาในพื้นที่ โดยเป็นผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 200 คน และผู้เข้าศึกษาดูงานจำนวน 1000 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินบริการวิชาการประจำปี 2565 2565 140,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง มิ่งขวัญ  แดงสุวรรณ
นาย สรเดช  จันทร์เที่ยง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ดร. สุรชัย  ศาลิรัศ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.6 ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า บริเวณลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ โดยราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณตำบลป่าไผ่และบริเวณใกล้เคียง ทำให้ป่าไม้อันเป็นต้นน้ำห้วยแม่โจ้ มีสภาพค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณลุ่มน้ำอื่นที่ใกล้เคียงในช่วงก่อน พ.ศ. 2520 อย่างไรก็ดีแม้ว่าราษฎรจะได้ช่วยพยายามรักษาป่าไม้อยู่แล้วก็ตาม การลักลอบตัดไม้ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้นยังมีอยู่เสมอทำให้สภาพป่าเสื่อมโทรมลงทุกที ๆ และลำน้ำห้วยแม่โจ้ ซึ่งเคยมีน้ำไหลตลอดฤดูกาลเริ่มหยุดไหลในฤดูแล้ง ความเอาใจใส่ดูแลป่าไม้บริเวณลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ ของราษฎร ได้ทราบถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และในการเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521จึงได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยฯ หาลู่ทางเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาต้นน้ำห้วยแม่โจ้ และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งแก่ราษฎรในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการสนองพระราชประสงค์ โดยขั้นแรกมหาวิทยาลัยฯ ได้ประสานงานกับสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ สำรวจสภาพพื้นที่ทั่วไปและน้ำ ทราบว่าการพัฒนาป่าไม้และสิ่งแวดล้อมอื่นต้องใช้ทรัพยากรสูงโดยเฉพาะการสร้างอ่างหรือฝายไม่คุ้มกับการลงทุน และโดยที่มหาวิทยาลัยฯ มีงบประมาณจำกัด จึงได้ขอความสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน จัดกิจกรรมที่พอจะทำได้มาเป็นระยะ ๆ นอกจากนี้โดยที่หมู่บ้านโปงมีอาณาเขตบางส่วนเป็นป่า และส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งราษฎรอยู่อาศัยและทำการเพาะปลูก การพัฒนาทรัพยากรต้นน้ำลำธารและแหล่งน้ำควรจะดำเนินไปพร้อมๆ กันกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎรด้วย มหาวิทยาลัยฯจึงได้ขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวางแนวทางอย่างสอดคล้องกับความนึกคิดความต้องการ และความร่วมมือร่วมใจของราษฎรอย่างแท้จริง โดยการสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดเชียงใหม่ และการประสานงานของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ และได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมชลประทานพิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นบริเวณต้นน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรของราษฎร และได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้ อธิการบดีมหาวิยาลัยแม่โจ้ จัดทำแปลงปลูกไม้ใช้สอยสำหรับหมู่บ้านโปงและหมู่บ้านใกล้เคียง ตลอดจนส่งเสริมบริการด้านการเพาะปลูก พร้อมทั้งพัฒนาอาชีพและแปรรูปผลผลิตเกษตร ให้มีการเก็บรักษาและจำหน่ายต่อไป และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร โครงการพระราชดำริบ้านโปง ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ บริเวณบ่อน้ำแท่นพระยาหลวงโดยมีพระราชกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณาจารย์ นักศึกษา ช่วยกันดูแลรักษาและให้ปลูกไม้โตเร็วเพิ่มเติมเพราะเป็นต้นน้ำลำธาร เช่น ให้ปลูกแคไทย เพาโรเนีย และไม้โตเร็วพื้นเมือง นอกจากนี้ยังช่วยแนะนำอาชีพให้แก่ราษฎร และให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ดีที่สุด ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2534 รศ.ดร.อานนท์ เที่ยงตรง อธิการบดีและอาจารย์ 4 ท่าน ได้ออกสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีราษฎรบุกรุกแผ้วถาง และลักลอบตัดไม้มากยิ่งขึ้น พื้นที่ป่าสันทรายบางแห่งราษฎรจับจองเป็นที่ทำกินนอกจากนี้หน่วยราชการและเอกชนได้ดำเนินการขอเช่ามากขึ้น มหาวิทยาลัยฯ เกรงว่าจะไม่เหลือป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารอีกต่อไปจึงได้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์ ศึกษาและพัฒนาป่าบ้านโปงขึ้น เนื้อที่ 3686 ไร่ และเนื้อที่ 907 ไร่ โดยได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมป่าไม้ (เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและศึกษาวิจัย ส่งเสริมอาชีพ พัฒนาให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ) และได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพให้ราษฎรในบริเวณพื้นที่ป่าและใกล้เคียงนอกจากการพัฒนาพื้นที่ ตอนบนและตอนใต้ของลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และเสด็จพระราชดำเนินไปอ่างเก็บน้ำทอดพระเนตรสภาพน้ำและสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าสันทรายพื้นที่โครงการพัฒนาบ้านโปงฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำริ และพระกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับกรมชลประทาน และกรมป่าไม้ เพื่อรับสนองแนวพระราชดำริ โดยสรุปคือให้กรมชลประทานสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์เครื่องสูบน้ำพลังน้ำ ปรับระดับแรงดันของน้ำตามเหมาะสม เพื่อกระจายน้ำให้ต้นไม้บริเวณไหล่เขาอย่างทั่วถึงทำให้ป่าไม้ชุ่มชื้น จึงจะช่วยให้ป่าต้นน้ำลำธารสภาพดีขึ้น การสร้างฝายกั้นต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำสายต่างๆ เพื่อให้ป่ามีความชุ่มชื้น และดำเนินการทำโครงการทฤษฎีใหม่ โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน จัดพื้นที่ตอนท้ายอ่างห้วยโจ้ เพื่อให้ราษฎรมีแหล่งน้ำสำหรับใช้เพาะปลูก เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ให้มีการปลูกหญ้าแฝกบริเวณขอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ และพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ไม่ให้หน้าดินถูกกัดเซาะหรือถูกน้ำชะล้างเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ การอนุรักษ์พื้นที่ป่าและทรัพยากรภายใต้โครงการพัฒนาบ้านโปงฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเป็นต้นแบบที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่บูรณาการองค์ความรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ควรถ่ายทอดแก่เยาวชน ตามแนวทางศาสตร์พระราชาสานต่องานที่พ่อทำ (โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดความเป็นมาของโครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2 .เพื่อเพื่อถ่ายทอดพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ในวันที่ 2 มีนาคม 2519, 19 กุมภาพันธ์ 2523 ,25 กุมภาพันธ์ 2527 และ 23 กุมภาพันธ์ 2530
3. จัดกิจกรรม ปลูกป่า สร้างฝายทำแนวกันไฟป่า ปล่อยกล้วยไม้ ปล่อยปลา ในพื้นที่โครงการพัฒนาบ้านโป่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3686 ไร่
4. เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้ของป่าประโยชน์ของกิจกรรมในป่า ฝาย แนวกันไฟ การดับไฟป่าและจิตสำนึกที่รักในชาติ สถาบันเพิ่มขึ้นและมีการทำงานแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
250 250 250 250 คน 1000
KPI 2 : เกิดการมีส่วนร่วมการจัดการพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมของอำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่มีความอุดมสมบูรณ์มีระบบการบริหารจัดการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : สร้างฝายชะลอน้ำ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 ฝาย 2
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.14 ล้าน 0.14
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าและการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ไร่ 30
KPI 8 : เกิดจิตสำนึกให้นักศึกษาและชุมชนรู้จักคุณค่าของป่าไม้และพิทักษ์หวงแหนทรัพยากรให้มีความสมดุลของนิเวศยิ่งขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : การดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรป่า 3,636 ไร่ (ทำแนวกันไฟ)
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
15 15 ไร่ 30
KPI 10 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 12 : ปลูกต้นไม้ในป่าอนุรักษ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1000 1000 ต้น 2000
KPI 13 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 14 : จำนวนผู้ร่วมกิจกรรมงานวันปลูกป่า สร้างฝาย ปล่อยปลา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 คน 200
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้ของป่าประโยชน์ของกิจกรรมในป่า ฝาย แนวกันไฟ การดับไฟป่าและจิตสำนึกที่รักในชาติ สถาบันเพิ่มขึ้นและมีการทำงานแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1
การจัดอบรม หัวข้อการปลูกป่า สร้างฝาย ทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า

กิจกรรมที่ 2
- เวรยามไฟป่า ดับไฟป่า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางมิ่งขวัญ  แดงสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล พร้อมโครงไม้
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเวรยาม ดับไฟป่า
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,000.00 บาท 16,000.00 บาท 0.00 บาท 32,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 140000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1.พื้นที่ดำเนินโครงการกว้าง กำลังคนในการดูแลไฟป่าได้ยาก
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1.มีการวางแผนพื้นที่มีความเสี่ยงไฟป่าในจุดที่เกิดเหตุบ่อยอยู่ตรงจุดไหนบ้าง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
อ.ดร.มิ้งขวัญ แดงสุวรรณ.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล