17697 : โครงการส่งเสริมนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ - การประมง (The Project to promote students as entrepreneurs - fisheries)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 23/3/2565 17:13:51
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/12/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของคณะฯ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนานักศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 30,000 บาท
2565 30,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ประเสริฐ  ประสงค์ผล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จอมสุดา  ดวงวงษา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริหารจัดการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.13 ทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.17 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่นการสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.2 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.8 งบประมาณการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.4 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-65-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-65-2.1 ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-65-2-8 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ FT-65-2.1.5 พัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-65-2-10 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ FT-65-2.1.5 พัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-65-4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ FT-65-4.1 สนับสนุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด FT-65-4-2 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ FT-65-4.1.2 สนับสนุนและสร้างบรรยากาศเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-65-4-8 งบประมาณการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ FT-65-4.1.2 สนับสนุนและสร้างบรรยากาศเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสถานที่ดำเนินงานจริง จะช่วยให้การเรียนรู้ของนักศึกษาสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนตามแบบแผน ซึ่งนักศึกษาต้องใช้เมื่อสำเร็จการศึกษาและออกไปใช้ชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย การบูรณาการกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ลงสู่ชุมชนเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนโดยให้นักศึกษาได้มีปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้จากท้องถิ่น เพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริงและสามารถวางแผนการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ในส่วนของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการทางด้านการประมง โดยบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และกิจกรรมนักศึกษา ซึ่งมีรูปแบบการผลิตที่มาจากการเรียนรู้ในกระบวนการรายวิชา ได้แก่ รายวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รายวิชาการจัดการฟาร์ม รายวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง รายวิชาสาหร่ายและแพลงก์ตอน และรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีองค์ประกอบหลักในการพัฒนาดังนี้ การดำเนินงานช่วงต้นน้ำ มีกิจกรรมสำคัญคือ ส่งเสริมพัฒนาการเพาะเลี้ยงอาหารที่มีชีวิต (ไรแดง) ซึ่งมีความสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีคุณค่าทางอาหารสูงเหมาะสำหรับเป็นอาหารของลูกปลาวัยอ่อน เช่น ปลาบึก ปลาชะโอน ปลาหมอ ปลาดุกบิ๊กอุย และปลาสวยงามต่างๆ และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงอีกด้วย ทั้งในด้านการสนับสนุนการปรับปรุงพื้นที่การเพาะขยายพันธุ์ เช่น การปรับปรุงบ่อเลี้ยง ให้อยู่ในสภาพที่เหมะสมกับการเลี้ยง ปัจจัยด้านการผลิต วัสดุวิทยาศาสตร์ วัสดุการเกษตร การดำเนินงานช่วงกลางน้ำ มีการส่งเสริมการเลี้ยงปลาหมอสายพันธุ์ที่โดดเด่น ทำให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการที่มีการลงทุนจริง เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการจนกระทั่งการจัดจำหน่ายสู่ตลาดทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและการวางแผนธุรกิจ ในอนาคตข้างหน้า ดังนั้นการเพาะเลี้ยงปลาหมอจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจศึกษา อีกทั้งจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในรุ่นต่อ ๆ ไป การดำเนินงานช่วงปลายน้ำ มีกิจกรรมการอบรมให้ความรู้ด้านการตลาด การวางแผนธุรกิจเพื่อหาช่องทางการจัดจำหน่าย การออกแบบผลิตภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่า ที่มีความรู้ เป็นที่ปรึกษา อีกทั้งผลผลิตที่ได้ทั้งหมดจะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านทุกช่องทาง ทั้งในตลาดแบบออนไลน์ และตลาดแบบออฟไลน์ โดยนักศึกษาจะได้รับผลตอบแทนตามความสามารถ และความอุตสาหะ เพื่อเป็นเงินทุนค่าเทอม และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริงมีความรู้และความเชี่ยวชาญทางประมงอย่างมืออาชีพ และส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติด้านการวางแผนทางการตลาด ในการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ให้มีความทันสมัยก้าวทันสู่โลกยุคดิจิทัล
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษามีความเชี่ยวชาญทางประมงและมีศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ
KPI 1 : ระดับความรู้ที่ได้รับหลังจากเข้าร่วมอบรมการเป็นผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 2 : ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 20 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของคณาจารย์ และบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 5 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 5 : ร้อยละของกิจกรรมเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้จำหน่าย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษามีความเชี่ยวชาญทางประมงและมีศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ
ชื่อกิจกรรม :
ส่งเสริมนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ - การประมง (The Project to promote students as entrepreneurs - fisheries)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 13/12/2564 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายประเสริฐ  ประสงค์ผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา  ดวงวงษา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุการเกษตร เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล