17695 : โครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมฝีมือของผู้สูงอายุตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2564 16:50:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 12 หมู่บ้านในพิ้นที่ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. สมบัติ  กันบุตร
อาจารย์ ดร. เกษราพร  ทิราวงศ์
อาจารย์ ดร. อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง
อาจารย์ อโนชา  สุภาวกุล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 65-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 65-3.1.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 65-3.1.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก็มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่จะ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตศักยภาพทางเศรษฐกิจ และสภาพทางสังคมในด้านต่างๆ โครงสร้างประชากรไทยได้ เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัยมากขึ้นตามลำดับและจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 โดยที่สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะที่จำนวน ประชากรวัยแรงงานได้เริ่มลดลงมาตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในภาวะที่ ผลิตภาพแรงงานไทยยังต่ำ เนื่องจากปัญหาคุณภาพแรงงาน ความล่าช้าในการพัฒนาเทคโนโลยี และปัญหา การบริหารจัดการจึงเป็นข้อจำกัดในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการสร้างรายได้และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย และเมื่อ ประกอบกับคุณภาพคนที่ยังต่ำ ในทุกช่วงวัยที่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องกันก็จะยิ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนา ประเทศ ตั้งแต่พัฒนาการไม่สมวัยในเด็กปฐมวัย ผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่ำการพัฒนา ความรู้และทักษะของแรงงานไม่ตรงกับตลาดงาน ขณะที่ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพและมีแนวโน้มอยู่คนเดียวสูงขึ้น รวมทั้งการเลื่อนไหลของวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยผ่านสังคมยุคดิจิทัลโดยที่คนไทย จำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม ส่งผลต่อวิกฤตค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำยังต้องเร่งดำ เนินการให้บรรลุ เป้าหมาย ปัจจุบันความยากจนยังกระจุกตัวหนาแน่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ในขณะที่ ความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มคนรวยที่สุดกับกลุ่มคนจนที่สุดแตกต่างกันถึง 34.9 เท่าในปี 2556 สาเหตุพื้นฐานสำคัญมาจากคุณภาพบริการทางสังคมที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคนมีความแตกต่างกัน ระหว่างในพื้นที่และเมือง โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สมดุล การกระจายโอกาสของการพัฒนายังไม่ทั่วถึง และการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมยังมีความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ แหล่งทุน และ บริการทางสังคมที่มีคุณภาพสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็มีในวงแคบกว่าซึ่งในอนาคตนั้นมีแนวโน้ม ที่จะมีความเสี่ยงมากขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็วในทุกด้าน ความเหลื่อมล้ำมีความ รุนแรงมากขึ้น แต่ในด้านการพัฒนาชุมชนซึ่งเป็นจุดเน้นสำคัญมาตลอดช่วง 3 แผนพัฒนาฯ ที่ผ่านมาส่งผลให้ ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีการรวมกลุ่มเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อทำกิจกรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาและสนองตอบความต้องการของชุมชนได้ดีขึ้น อาทิ ชุมชนจัดการภัยพิบัติ การจัดทำแผนชุมชนที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และบูรณาการเป็นแผนตำบลเพื่อเชื่อมโยงกับแผนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น แผนพัฒนาอำเภอ และแผนพัฒนาจังหวัด และการรวมกันเป็นกลุ่มธุรกิจชุมชนและอาชีพ ร้อยละ 32.51 และองค์กรการเงินร้อยละ 26.77 ขององค์กรทั้งหมด พระราชดำรัสของในหลวง ร. 9 เวลานี้เราทุกคนมีภาระสำคัญรออยู่ที่จะต้องร่วมมือกันเสริมสร้างความเป็นปรกติเรียบร้อยให้แก่บ้านเมือง เพื่อให้ประชาราษฎร์ชาติภูมิมีความผาสุกสงบ. ภาระทั้งนี้มิใช้หน้าที่ของบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หากเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกฝ่ายทุกคนที่จะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำให้พรักพร้อม และสอดคล้องเกื้อกูลกัน โดยมีจุดมุ่งหมายและอุดมคติร่วมกัน. ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้ ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำความคิดจิตใจให้หนักแน่นแน่วแน่ และเที่ยงตรงเสมอเหมือนกัน ที่จะร่วมมือร่วมคิดกัน ให้เต็มกำลังความสามารถและสติปัญญา ด้วยความสุจริตบริสุทธิ์ใจ และด้วยความสามัคคี ปรองดอง โดยยึดเอาประโยชน์ยั่งยืนยิ่งใหญ่ คือความมั่นคงผาสุกของบ้านเมืองเป็นเป้าหมายสูงสุด...” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย 5 ธันวาคม 2547 สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ... สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าตลอด ระยะเวลาอันยาวนานกว่า 67 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงงานอย่างตรากตรำพระวรกาย เพื่อพัฒนาและยกระดับ คุณภาพชีวิตของปวงชนชาวไทยให้อยู่ดีมีสุข พร้อมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ อย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงสัจธรรมแห่ง แนวพระราชดำริในการทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยหนังสือเล่มนี้ได้นำมาประมวลเป็นภาพใหญ่และจัดกลุ่มเป็น 5 สัจธรรม ได้แก่ (1) เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน (2) เรียนรู้จากหลักธรรมชาติ (3) บริหารแบบบูรณาการ (4) มุ่งผลสัมฤทธิ์ และ (5) ชัยชนะแห่งการพัฒนา ในภาพใหญ่แต่ละเรื่อง มีการขยายเป็นหัวเรื่องย่อย โดยได้นำเสนอแนวพระราชดำริในแต่ละเรื่องย่อย พร้อมทั้งตัวอย่าง พระราชกรณียกิจและโครงการพัฒนาโดยสังเขป ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง... นำสู่ความสุขอย่างยั่งยืน จากสัจธรรมแห่ง แนวพระราชดำรินั้น นำสู่“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยทุกระดับมาโดยตลอด เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีแนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย (1) พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และ (2) ใช้หลักวิชาความรู้ มีคุณธรรม ดำเนินชีวิตด้วยความเพียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน นำเสนอให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาเป็นเวลายาวนาน โดยได้ พระราชทาน “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนิน ไปในทางสายกลางจากนั้นชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกระแสโลกและในบริบทไทยที่ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาที่มีดุลยภาพ ทั้งในมิติเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำเสนอการพัฒนาที่มั่นคง ยั่งยืน ตามรอยพระยุคลบาท ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาคนและสังคม และการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บทสรุป สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ... เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยอย่างยั่งยืน จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ได้ทรงงานอย่างหนักและตรากตรำพระวรกายมายาวนาน เพื่อต่อสู้กับความยากจน สร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่พสกนิกร โดยได้พระราชทานพระราชดำริและโครงการพัฒนามากมายถึง 4,350 โครงการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความอยู่ดี กินดี มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีการศึกษา มีอาชีพที่มั่นคง และดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีนับเป็น การวางรากฐานการพัฒนาที ่มั่นคงและยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยและปวงชนชาวไทยอย่างครบถ้วน ในทุกๆ ด้าน ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ตำบลช่อแฮ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองแพร่ มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านมุ้ง, หมู่ 2 บ้านพันเชิง, หมู่ 3 บ้านพันเชิง, หมู่ 4 บ้านธรรมเมือง, หมู่ 5 บ้านต้นไคร้, หมู่ 6 บ้านใน, หมู่ 7 บ้านปง, หมู่ 8 บ้านน้ำจ้อม, หมู่ 9 บ้านนาตอง, หมู่ 10 บ้านทุ่งส่วย, หมู่ 11 บ้านพระธาตุช่อแฮ, หมู่ 12 บ้านใน. ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาล ตำบลช่อแฮ ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร มีรายได้จากการทำนา ทำไร่ ทำสวน (สวนเมี่ยง) หรือชา เลี้ยงสัตว์ ค้าขายผลผลิต ทางการเกษตร นอกจากนั้นยังประกอบ อาชีพเสริม เช่น การหมักเมี่ยง การทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีประชาชน บางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างในตัวจังหวัดและต่างจังหวัด ประชาชนส่วนใหญ่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของภาคเหนือ และสภาพสังคมเป็นสังคมชนบท มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย สถาบันครอบครัวอยู่รวมกัน เป็นครอบครัวใหญ่และให้ความสำคัญกับปกครองตามระเบียบประชาธิปไตย ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเพื่อจะใช้นวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด หรือ Eco-design และมีการนำนวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาด การสื่อสารการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งมีการจัดทำแผนการตลาดและกลยุทธ์การตลาดเพื่อสามารถนำมาขายในเชิงพาณิชย์ผ่านระบบออนไลน์ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากวัตถุดิบในตำบลในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดต่อไป โครงการนำองค์ความรู้/ผลงานวิจัยเรื่องใดมาบริการวิชาการ (โปรดระบุชื่อองค์ความรู้/ผลงานวิจัย) “กระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลาอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ” ม.ป.ป. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของผู้อายุในตำบลช่อแฮและผู้ที่สนใจ
2 เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของผู้สูงอายุในตำบลช่อแฮให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว
3 ถ่ายทอดกระบวนการวางแผนการตลาดและกลยุทธ์ตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากวัตถุดิบในตำบลช่อแฮสู่ตลาดการท่องเที่ยว
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชุมชนตำบลช่อแฮ 12 หมู่บ้าน มีการพัฒนา ยกระดับและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของผู้สูงอายุ จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ ในตำบลช่อแฮให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : จำนวนผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและภูมิปัญญาจากวัตถุดิบในตำบลที่ได้รับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดท่องเที่ยวและยกระดับและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของผู้สูงอายุในตำบลช่อแฮให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
6 ผลิตภัณฑ์ 6
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการรับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : แผนการตลาดและกลยุทธ์ตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากวัตถุดิบในตำบลช่อแฮสู่ตลาดการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชุมชนตำบลช่อแฮ 12 หมู่บ้าน มีการพัฒนา ยกระดับและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของผู้สูงอายุ จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ ในตำบลช่อแฮให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว
ชื่อกิจกรรม :
ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากวัตถุดิบในตำบลในเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดกระบวนการวางแผนการตลาดและกลยุทธ์ตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากวัตถุดิบในตำบลช่อแฮสู่ตลาดการท่องเที่ยว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด A4 จำนวน 50 หน้า จำนวน 30 เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
4. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับวิทยากร จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท
5. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 21,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา หมึกเคมี กระดาษ ฯลฯ เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 36800.00
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมการจัดทำหัตถกรรมพื้นบ้านของชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/03/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 13200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล