17686 : โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าจิ้งหรีดของกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านบุญแจ่ม ต.น้ำเลา อ.ร้องกวาง จ.แพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/11/2564 15:58:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านบุญแจ่ม ต.น้ำเลา อ.ร้องกวาง จ.แพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. น้ำฝน  รักประยูร
รองศาสตราจารย์ ดร. ฑีฆา  โยธาภักดี
อาจารย์ ดร. พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส
อาจารย์ ดร. รัชนีวรรณ  คำตัน
อาจารย์ ดร. พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 65-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 65-3.1.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 65-3.1.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงห่วงใยในทุกข์สุขของพสกนิกรชาวไทยอยู่เสมอ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความทุกข์ยากของประชาชนที่ประสบกับความยากจน ขาดแคลนความรู้และพื้นที่ทำกิน ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงมุ่งพัฒนาให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งตนเองได้ ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า ...."การที่จะแจกสิ่งของหรือเงินแก่ราษฎรนั้น เป็นการช่วยเหลือชั่วคราว ไม่ยั่งยืน การที่จะให้ประชาชนอยู่รอดได้ก็คือ การให้อาชีพ" ....พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 แถลงวันนี้ (15 ต.ค.) ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดนโยบายตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตโปรตีนจากแมลงหรือฮับแมลงโลก โดยมีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดให้แก่เกษตรกรเพื่อสร้างรายได้ โดยได้มอบหมายหน่วยงานในสังกัด เร่งส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งมีกว่า 20,000 ฟาร์ม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในผลผลิตให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า นโยบายดังกล่าวสอดรับกับแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization) ที่ประกาศให้ “แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก” โดย FAO คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ของโลกซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนเพิ่มขึ้น 30% ภายใน 15 ปีข้างหน้า การสนับสนุนการบริโภคโปรตีนจากแมลงจึงเป็นหนึ่งในแนวทางในการรับมือกับอาหารในอนาคตที่ดีที่สุด ซึ่งผลการวิจัยเรื่องอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และอาหารใหม่ (Novel Food) พบว่า “แมลง” มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งแคลเซียม ซิงค์ วิตามินบี 2 บี 12 ในปริมาณสูง มี โอเมกา 3 6 9 รวมทั้งไฟเบอร์ ซึ่งเป็นไฟเบอร์จากสัตว์เพียงชนิดเดียว ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายอีกกว่า 10 ชนิด สำหรับแมลงที่มีอยู่นับล้านชนิด “จิ้งหรีด” เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด และข้อมูลจากบริษัท Research and Markets ระบุว่า ตลาดแมลงรับประทานได้ทั่วโลกมีอัตราการเติบโตระหว่างปี 2018-2023 คิดแบบ Compound Annual Growth Rate (CAGR) ที่ร้อยละ 23.8 และคาดว่าในปี 2023 ตลาดจะมีขนาด 37,900 ล้านบาท โดยตลาดเอเชียมีสัดส่วนถึง 30-40% ของทั้งโลก ที่เหลือกระจายตัวอยู่ทั้งในยุโรปตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกาและอเมริกาเหนือจากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร พบว่า ประเทศไทยมีแมลงที่มีคุณค่าอาหารอย่างน้อย 194 ชนิด เช่น จิ้งหรีด จิ้งโกร่ง ตั๊กแตน หนอน และดักแด้ไหม ปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นตลาดหลักในการส่งออกแมลงไปขายทั่วโลก โดยเฉพาะโปรตีนจากแมลงจัดเป็นซูเปอร์ฟู้ด (Super Food) และเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ที่ต้องยกระดับมาตรฐานการผลิตการแปรรูปและการตลาดรวมทั้งส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย ทั้งนี้ จะมีการจัดตั้ง “ศูนย์เทคโนโลยีแมลง”ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC: Agritech and Innovation Center) โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับอีกอย่างน้อย 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ กระบวนการผลิต การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งแบบสด แช่แข็ง ทอด คั่ว หรือบรรจุกระป๋อง รวมถึงทำเป็นผงบด เพื่อเป็นส่วนผสมในการทำ เบเกอรี่ และแปรรูปเป็นแป้งจำพวกเส้นพาสต้า โปรตีนบาร์ ผงแป้ง ขนมขบเคี้ยว และ protein shakes ซึ่งกลุ่มประเทศ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา เอเชียตะวันออกละตินอเมริกา แอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างให้ความสนใจต่อการบริโภคเป็นอย่างมาก ซึ่งตลาดส่งออกไทยไปต่างประเทศได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็วเติบโตถึงร้อยละ 23 ต่อปี โดยเฉพาะ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และ จีน และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค มกอช.ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มกษ.8202-2560) เป็นมาตรฐานทั่วไป บ้านบุญแจ่ม หมู่ 1 ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีนายจิรพัฒน์ แจ่มรัตนโสภิณ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งชุมชนบ้านบุญแจ่มได้รับคัดเลือกจากกรมพัฒนาชุมชนให้เป็นตัวแทนอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านในโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (เชียงใหม่นิวส์, 12 พฤษภาคม 2562) ประชาชนมีอาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ชุมชนได้มีการอนุรักษ์ป่าชุมชน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์อันดับต้นๆ ของจังหวัดแพร่ มีแหล่งน้ำหลักของหมู่บ้านคือ อ่างเก็บน้ำแม่คำปอง ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านการเกษตรร้อยละ 55 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557) ในปี 2561 เกษตรกรในบ้านบุญแจ่มได้รวมตัวกันเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาชีพเสริมในครัวเรือนจำนวน 8 ครัวเรือน จากการสัมภาษณ์ นายจิรพัฒน์ แจ่มรัตนโสภิณ ผู้ใหญ่บ้านบุญแจ่ม คาดว่า ในปี 2564 จะทำการขยายกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดและยกระดับเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดแปลงใหญ่ เพื่อพัฒนาเป็นสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจให้กับคนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีความประสงค์จะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีดในอนาคต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้เล็งเห็นปัญหาและความต้องการของชุมชน ที่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดให้แก่เกษตรกรเพื่อสร้างรายได้ตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีดให้กับชุมชนบ้านบุญแจ่มที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อน จะช่วยยกระดับและสร้างเครือข่ายให้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยการนำองค์ความรู้จากหลากหลายสหวิชาการนำไปพัฒนาโปรตีนจากแมลงซึ่งเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ที่ต้องยกระดับมาตรฐานการผลิตการแปรรูปและการตลาดรวมทั้งส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย สอดคล้องกับที่รัฐบาลกำหนดให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์เทคโนโลยีแมลง”ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC: Agritech and Innovation Center) โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่นๆ ถูกกำหนดให้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ กระบวนการผลิต การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งแบบสด แช่แข็ง ทอด คั่ว หรือบรรจุกระป๋อง รวมถึงทำเป็นผงบด เพื่อเป็นส่วนผสมในการทำเบเกอรี่ และแปรรูปเป็นแป้งจำพวกเส้นพาสต้า โปรตีนบาร์ ผงแป้ง ขนมขบเคี้ยว และ protein shakes ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้มีการจัดตั้งศูนย์ AIC ขึ้นมา ดังนั้นหากโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจะสามารถเชื่อมโยงให้ชุมชนเข้ามาใช้บริการในศูนย์ AIC และร่วมเป็นเครือข่ายในอนาคตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีดต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าแก่จิ้งหรีดของกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านบุญแจ่ม
2 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการตลาด การบริหารจัดการกลุ่มและการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีด
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีด จำนวนอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ 2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้เข้าร่วมโครงการได้แผนการตลาดและการบริหารจัดการกลุ่ม
KPI 1 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : แผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดและการบริหารจัดการกลุ่ม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 4 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นการจากเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0039 0.0241 0.022 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 10 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมรับการถ่ายทอดทางการวางแผนการตลาด การบริหารจัดการกลุ่ม และการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีด จำนวนอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ 2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้เข้าร่วมโครงการได้แผนการตลาดและการบริหารจัดการกลุ่ม
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าแก่จิ้งหรีดของกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านบุญแจ่ม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ฑีฆา  โยธาภักดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.รัชนีวรรณ  คำตัน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
3. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 11,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านการตลาด การบริหารจัดการกลุ่มและการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ฑีฆา  โยธาภักดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.รัชนีวรรณ  คำตัน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
3. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,000 บาท
4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 70 บาท (ขนาด A4 จำนวน 50 หน้า) เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,300.00 บาท 0.00 บาท 13,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 24100.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 ประสานงานและเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ฑีฆา  โยธาภักดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.รัชนีวรรณ  คำตัน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ส่วนตัว ระยะทาง 30 กิโลเมตรๆ ละ 4 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 360 บาท
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ประสานงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,160 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,520.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,520.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษ A4 กระดาษบรู๊ฟสีน้ำตาล ฯลฯ เป็นเงิน 1,380 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,380.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,380.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล