17682 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างโรงเรือนและจัดสภาพแวดล้อมเพื่อรับมือกับสภาวะโลกร้อนสำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (65-2.6.6)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/12/2564 12:46:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  35  คน
รายละเอียด  เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ (สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร) 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัชวิชญ์  ติกุล
อาจารย์ ดร. ทำเนียบ  อุฬารกุล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อในตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่กำลังเผชิญกับความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงโคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อนที่มีสภาพอากาศร้อนจัดทำให้โคมีความเครียดจากความร้อนส่งผลทำให้วัวอึดอัดและกินน้อยลง จากการศึกษาของ Garcia (2006) สนับสนุนเหตุผลว่าวัวจะกินอาหารแห้งลดลงประมาณร้อยละ 7.8 ของปริมาณอาหารแห้งที่กินใน 1 วัน เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ส่งผลให้วัวอ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่ายและมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ทำให้เกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ลักษณะนี้ได้ได้ทยอยเลิกเลี้ยงโคนมไปเป็นจำนวนมากในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และในอนาคตสภาพอากาศมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีอาจเพิ่มขึ้น 3-4 องศาเซลเซียส และร้อนนานขึ้น (IPCC, 2013; ศุภกรและคณะ, 2553) หากเป็นเช่นนี้เกษตรกรรายย่อยควรเตรียมรับมืออย่างไร การจัดสภาพแวดล้อมและโรงเรือนที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเลี้ยงโคเนื้อเนื่องจากมีส่วนช่วยควบคุมและลดความรุนแรงจากสภาพอากาศลงได้ ดังนั้นการเลี้ยงโคระบบปิดจึงถูกให้ความสำคัญมากขึ้นและกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการทำปศุสัตว์ในปัจจุบันและอนาคต (Huirne, et al., 2004; Dhara, et al., 2016) แต่ทั้งนี้การเลี้ยงโคในระบบปิดมักพบในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์รายใหญ่เท่านั้น เนื่องจากการสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แบบระบบปิดที่ครบวงจรจำเป็นต้องมีการลงทุนในระยะเริ่มต้นสูงและยังมีค่าใช้จ่ายที่ตามมาอีกหลายรายการ ได้แก่ ค่าไฟ ค่าน้ำและค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ เกษตรกรต้องมีความเข้าใจในระบบของโรงเรือนและต้องตรวจสอบอุปกรณ์เป็นประจำเพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้โรงเรือนระบบปิดอาจไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีปัญหาการจ่ายไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอเพราะถ้าไฟฟ้าดับเป็นเวลานานอาจทำให้สัตว์ตายได้ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อจำกัดของเกษตรกรรายย่อยทั้งสิ้นทั้งด้านเงินทุน องค์ความรู้และทำเลที่ตั้งที่เลี้ยงสัตว์ (สมโภชน์, 2557; พงษ์ชาญ, 2554) และการทำโรงเรือนแบบปิดนี้อาจไม่คุ้มค่าสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสัตว์จำนวนไม่มาก จากโครงการวิจัยเรื่องรูปแบบโรงเรือนและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคนมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอนาคต (สพภ.-วช.15/2561) ได้นำเสนอรูปแบบโรงเรือนและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคนม โดยประยุกต์แนวความคิดการออกแบบโดยการพึ่งพาธรรมชาติและไม่ใช้พลังงานเพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเป็นสำคัญ โดยการออกแบบเพื่อลดอุณหภูมิก่อนเข้าโรงเรือน การออกแบบเพื่อกันความร้อนให้เข้ามาภายในโรงเรือนน้อยที่สุดและการออกแบบที่ช่วยระบายความร้อนออกจากโรงเรือน ผ่านการออกแบบรูปทรงโรงเรือน การออกแบบหลังคา (รูปทรงและวัสดุมุงหลังคา) การจัดวางโรงเรือนและการออกแบบสิ่งแวดล้อมรอบโรงเรือนซึ่งสามารถลดอุณหภูมิจากภายนอกโรงเรือนลงประมาณ 4-5 องศาเซลเซียส ซึ่งเกษตรกรสามารถทำได้ทันทีและมีค่าใช้จ่ายต่ำ หลังจากนำแนวคิดนี้ไปพูดคุยกับเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่ตำบลหนองหารพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงโคสูงโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและโคมักจะเกิดความเครียด กินอาหารน้อยลง อ่อนแอและเจ็บป่วยง่าย เกษตรกรจึงมีความต้องการให้คณะผู้จัดทำโครงการถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิแบบประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ไปปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มของตนเอง โครงการการบริการวิชาการนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีโรงเรือนที่สามารถรองรับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนหรือสภาพอากาศร้อนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตได้ โดยที่เกษตรกรมีความสามารถในการจ่ายและดำเนินการก่อสร้างหรือจัดหาได้ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทั้งค่าอาหารเสริม ค่ายา รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เช่นพัดลมหรือปั๊มน้ำ เพื่อใช้ในการลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้ ผลที่ได้นี้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตร และ ภายใต้กรอบพัฒนาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยผ่านการวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาการสู่เกษตรกร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อบริการวิชาการแก่เกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อให้สามารถปรับปรุงโรงเรือนและสภาพแวดล้อมที่ช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนแบบพึ่งพาธรรมชาติโดยไม่ ใช้พลังงานได้
2. เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในการลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความร้อนภายในโรงเรือนที่ส่งผลกระทบต่อโคเนื้อ
3. เพื่อส่งเสริมการบูรณาการงานวิจัยกับงานบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและเพิ่มศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้ในการปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อ
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
35 คน 35
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : เกษตรกรมีความรู้ในการปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้ในการปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อ
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างโรงเรือนและจัดสภาพแวดล้อมเพื่อรับมือกับสภาวะโลกร้อนสำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงโคเนื้อในตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัชวิชญ์  ติกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทำเนียบ  อุฬารกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 43 คน ๆ ละ 30 บาท 4 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,160.00 บาท 0.00 บาท 5,160.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 43 คน ๆ ละ 120 บาท 2 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,320.00 บาท 0.00 บาท 10,320.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม
ขนาด A4 ( 10 หน้า) จำนวน 35 เล่มๆ ละ 20 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 700.00 บาท 0.00 บาท 700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 10 ตารางเมตรๆ ละ 150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่สำหรับการบรรยายและฝึกปฏิบัติการ
พื้นที่การจัดฝึกอบรมบรรยายและฝึกปฏิบัติ พร้อมระบบโสตทัศนูปกรณ์ จำนวน 2 วัน
ณ โรงเรือนต้นแบบ (ฟาร์มเอกชน) และ เทศบาลตำบลหนองหาร (สถานที่ราชการ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ)
- บรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 1,200 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
- ภาคปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนผู้ช่วย/นักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน
จำนวน 4 วัน วันละ 200 บาท 3 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง
เช่น ตลับเมตร เชือก ปูน แผ่นAluzinc
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,500.00 บาท 0.00 บาท 5,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ คลิปหนิบกระดาษ แฟ้ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล แบตเตอรี่สำรอง หมึกพิมพ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,620.00 บาท 0.00 บาท 2,620.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ช่วงเวลาและรูปแบบการอบรมอาจเปลี่ยนแปลงหรือคาดเคลื่อนได้เนื่องจากอยู่ในสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัส โควิด-19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ปรับช่วงเวลาลงพื้นที่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
2. ใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดแบะเป็นไปตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่
3. จำกัดหรือแบ่งกลุ่มการอบรม และ/หรือ อบรมออนไลน์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล