17668 : โครงการ "ปันรักปันน้ำใจสู่ชุมชนและสู้ภัยโควิด-19"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/12/2564 9:47:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  2000  คน
รายละเอียด  -นักเรียนนักศึกษา จำนวน 500 คน -ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1,000 คน -ประชาชาทั่วไป 500 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายงบประมาณพัฒนากิจกรรมนักศึกษา 2565 22,950.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ฐิระ  ทองเหลือ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.1 จำนวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.1 พัฒนาและปรับปรุงระบบการรับเข้านักศึกษา
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.14 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.1.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 18. ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปีการศึกษา 2564 ชมรมดนตรี ร่วมกับองค์กรผู้นำนักศึกษา ได้เล็งเห็นปัญหาในพื้นที่มหาวิทยาลัย และชุมชนใกล้เคียงในพื้นที่มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การระบาดของ Covid -19 ส่งผลกระทบต่อประชาชน ที่จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอยู่ตลอด เช่น แมสก์ เจลแอลกอฮอร์ และบุคลากรทางการแพทย์ ที่จะต้องใช้ชุด PPE ซึ่งเป็นบุคลากรด่านหน้า ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้ง ปัญหาจำนวนสุนัขที่อาศัยภายในมหาวิทยาลัยมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยยังไม่มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งองค์กรผู้นำนักศึกษา และชมรมดนตรี อยากเป็นส่วนเล็กๆ ที่ช่วยเหลือชุมชน และเล็งเห็นว่า กิจกรรมที่จะจัดขึ้น จะช่วยเสริมสร้างทักษะด้านนันทนาการ (ดนตรี) และเสริมสร้างทักษะจิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์ และสนับสนุนให้นักศึกษาได้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น ชมรมดนตรี ร่วมกับองค์กรผู้นำศึกษา จึงจะจัดโครงการ “ปันรักปันน้ำใจสู่ชุมชน” ขึ้น เพื่อใช้กิจกรรมดนตรี ในการเปิดรับบริจาคร่วมสมทบทุนในการทำหมันสุนัขในมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเปิดรับบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมจะเป็นในรูปแบบ Online เพื่อเป็นการปรับตัวในยุค New normal ลดความเสี่ยงในการรวมกลุ่มทำกิจกรรม และถือเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักเพิ่มขึ้นด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
9.1 เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้านการดนตรี และสนับสนุนให้นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 9.2 เพื่อส่งเสริมทักษะด้านจิตอาสา ฝึกให้นักศึกษาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลชุมชนเล็กๆ (มหาวิทยาลัย และพื้นที่ใกล้เคียง) ให้นักศึกษาได้รู้จักเสียสละ และทำประโยชน์ให้กับสังคม 9.3 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักเพิ่มขึ้น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้านดนตรี และพัฒนาทักษะด้านจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชน และสังคม
KPI 1 : ตัวชี้วัดที่ 1 กิจกรรมดำเนินการเป็นตามแผนโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 20 20 10 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้านดนตรี และพัฒนาทักษะด้านจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชน และสังคม
ชื่อกิจกรรม :
1.จัดซ้อมดนตรี เพื่อเตรียมการ Live สด พร้อมทั้งซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการซ้อมดนตรี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 12/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ฐิระ  ทองเหลือ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 23 บาท เป็นเงิน 1,150 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายกิจกรรม จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,050.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,050.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- สายแจ็คกีตาร์ จำนวน 6 เส้นๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- สายกีตาร์ จำนวน 6 ชุดๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- สายกีตาร์เบส จำนวน 2 ชุดๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บาท
- น้ำยาเช็ดสายกีตาร์ จำนวน 2 ชุดๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
- ไม้กลอง จำนวน 6 คู่ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ฉาบ/แฉ (กลอง) 3 ชิ้นๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
- ขาตั้งกล้อง จำนวน 1 ตัวๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
- จูนเนอร์ จำนวน 4 ตัวๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ปิ๊กกีตาร์ จำนวน 2 กล่องๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
- คาฮอง จำนวน 1 ตัวๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- อะแดปเตอร์เอฟเฟคกีตาร์ จำนวน 2 ตัวๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20950.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมขอรับสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ เช่น PPE แมสก์ เพื่อนำปัจจัยไปสนับสนุนบุคลากรด้านหน้า และสนับสนุนการทำหมันสุนัขในมหาวิทยาลัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 12/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ฐิระ  ทองเหลือ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน (ค่าน้ำมันรถยนต์ปฏิบัติงาน) เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. ความรุนแรงของการระบาด Covid อาจจะส่งผลกระทบต่อการซ้อมดนตรี การรวมกลุ่มของนักดนตรี 2. สถานการณ์ของการระบาดอาจจะส่งผลต่อการเดินทางไปดำเนินกิจกรรม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. นัดซ้อมเป็นกลุ่มเล็กๆ หากเกิดการระบาดของ Covid เพิ่มขึ้น และปรับเปลี่ยนการซ้อมเป็นวงโฟลคซองเล็กๆ 2. หากสถานการณ์รุนแรงไม่สามารถเดินทางไปบริจาคได้ จะขอความร่วมมือกับชมรมศิษย์เก่าในพื้นที่เป้าหมายเป็นตัวแทนในการนำอุปกรณ์การแพทย์แทน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล