17656 : โครงการ "ร้อยชนิดพันธุ์ไผ่สู่ 100 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/12/2564 16:03:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และเกษตรกรทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่1) 2565 11,450.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
นาย สุวินัย  เลาวิลาศ
นาย ชาญวิทย์  ขุนทองจันทร์
น.ส. ศุจินธร  รัตนิพนธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.4 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขตEco Community & Tourism
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.10 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.4.3 สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.24 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียน การสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.3 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขต Eco Community & Tourism
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 4. สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.4.1 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 43. ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนะรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอนและการวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517) “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอ กิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517) (อ้างอิงจาก : https://www.chaipat.or.th/site_content/item/1309-2010-06-03-09-50-07.html ) พระราโชวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 ในการประชุม สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใจความตอนหนึ่ง ว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เริ่มต้นขึ้นราวปีพุทธศักราช 2535 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ และบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงานที่ศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้ และเพื่อให้เป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่าง ๆ บุคคลต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถ ร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการไปก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้” (อ้างอิงจาก : http://202.29.80.110/ความเป็นมาของโครงการ/) ไผ่ เป็นพืชที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนได้ในหลากหลายมิติ ปัจจุบัน “ไผ่” มีความสำคัญต่อสังคมเกษตรระดับชาติและนานาชาติ การปลูกสร้างสวนไผ่ และการพัฒนาไผ่อย่างครบวงจร เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่เตรียมป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมระดับโลกกำลังได้รับความนิยม ไผ่ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวทำหน้าที่ฟอกอากาศได้อีกด้วย หลายประเทศให้ความสำคัญกับไผ่อย่างมาก เช่น ประเทศจีน ใช้ไผ่พัฒนาประเทศอย่างบูรณาการ ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562) ประเทศไทยส่งเสริมการปลูกไผ่บนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมทางภาคเหนือ ทดแทนและลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างป่าถาวร สร้างระบบวนเกษตร สร้างรายได้ให้ประชาชน มีโรงงาน แปรรูปไผ่ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดการไผ่ตั้งแต่ “ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ” (แม่แจ่มโมเดล) ไผ่เป็นพืชที่อยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์มานาน มีการใช้ประโยชน์จากไผ่ในหลายรูปแบบ ทั่วโลกมีไผ่ประมาณ 75 สกุล 1,250 ชนิด ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมกับการกระจายพันธุ์และการเจริญเติบโตของไผ่ จากการสำรวจ ชนิดพันธุ์ไผ่ในประเทศไทยพบว่า มีจำนวน 17 สกุล (genera) 72 ชนิด (species) (สราวุธ สังข์แก้ว, 2553) กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบมากในป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ไผ่ที่รู้จักกันดีเช่น ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซาง (ซางหม่น ซางนวล) ไผ่บงหวาน ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ตากวาง และ ไผ่ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไผ่ชนิดพันธุ์ต่างประเทศที่สามารถเติบโตในภูมิอากาศของประเทศไทยได้มาปลูกเป็นไผ่เศรษฐกิจ เช่น ไผ่ดำอินโด ไผ่กิมซุง ไผ่เก้าดาว เป็นต้น คนไทยมีความผูกพันธุ์กับไผ่มาอย่างช้านาน จะเห็นได้ว่าใช้ไม้ไผ่มาสร้างบ้าน ทำเสาบ้าน และฝากสับ นำไม้ไผ่มาจักรสานข้าวของเครื่องใช้ต่างๆในครัวเรือน นำหน่อมาเป็นอาหาร ใช้ในรูปแบบหน่อสดและดองเพื่อถนอมอาหารไว้กินนอกฤดู ใช้ไม้ไผ่เพื่อการเกษตร ทำค้างผัก ทำพะอง ทำคอกสัตว์ ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ไผ่คือพืชที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย อย่างไรก็ดีพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆเช่น ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน กำลังรุกรานพื้นที่ไผ่ จนทำให้ไผ่บางชนิดกำลังจะสูญหายไปจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอนุรักษ์ไผ่ไว้ ในการจัดการสวนไผ่ นอกจากการคัดเลือกสายพันธุ์ไผ่ที่ดีแล้ว การดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไผ่เจริญได้ดี ทั้งนี้ ไผ่สามารถเจริญได้ดีในที่ราบหรือที่ราบเชิงเขาที่มีดินปนทราย มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง ซึ่งถ้าน้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะทำให้ไผ่ชะงักการเจริญเติบโตถึงตายได้ โดยเฉพาะไผ่ที่เริมปลูกใหม่ๆ หรือหากน้ำไม่เพียงพอ ไผ่ก็ไม่สามารถผลิตหน่อได้ เช่น ไผ่ตง ต้องการน้ำประมาณ 120 ลิตร/วัน หรือ 6 ปี๊บ/กอ/วัน ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการคำนึงถึงการให้น้ำแบบอัตโนมัติ เนื่องจากความชื้นในดินมีผลต่อการเจริญ และการพัฒนาของตาเหง้า ประกอบกับการใช้ไฟฟ้าพลังงานโซลาร์เซลล์ หรือพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการให้น้ำแบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดให้การขับเคลื่อนเรื่องไผ่เป็นพืชในยุทธศาสตร์หนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์ไผ่ไว้บ้างแล้วจำนวนหนึ่ง โดยการสนับสนุนของชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ ตลอดจนเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกไผ่ในท้องถิ่นภาคใต้ อีกทั้งยังมีกลุ่มผู้จำหน่ายพันธุ์ไผ่ รวมตัวจัดกิจกรรมปลูกไผ่ และเสวนาพูดคุยเกี่ยวกับไผ่ ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมานั้นทำให้เห็นว่าหากมีการบูรณาการร่วมมือของส่วนต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ไผ่ และการจัดการไผ่อย่างมีระบบสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและกลุ่มคนที่สนใจไผ่ จึงจะส่งผลประโยชน์โดยแท้จริง จึงควรมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่อย่างต่อเนื่อง และปลูกสร้างแปลงไผ่เพื่อรองรับการศึกษาดูงานในอนาคต ตลอดถึงการใช้แปลงไผ่ดังกล่าวถ่ายทอดองค์ความรู้เมื่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรม 100 ปี แม่โจ้ ในโอกาสต่อไป อย่างไรก็ดีกิจกรรมการเสาวนาไผ่กับวิถีไทยยังจะได้บูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนกับสาขาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ สาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่
2 เพื่อสร้างแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่
3 กิจกรรมเสวนาไผ่กับวิถีไทย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนชนิดพันธุ์ไผ่ที่สามารถรวบรวมได้
KPI 1 : จำนวนชนิดพันธุ์ไผ่ที่สามารถรวบรวมได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ชนิด 30
ผลผลิต : จำนวนวนแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่
KPI 1 : จำนวนวนแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แปลง 1
ผลผลิต : กิจกรรมเสวนาไผ่กับวิถีไทย
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเสาวนา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนชนิดพันธุ์ไผ่ที่สามารถรวบรวมได้
ชื่อกิจกรรม :
รวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2565 - 31/03/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ต้นพันธุ์ไผ่ เป็นเงิน บาท 5,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5900.00
ผลผลิต : จำนวนวนแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่
ชื่อกิจกรรม :
แปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2565 - 31/03/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายอื่น
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : กิจกรรมเสวนาไผ่กับวิถีไทย
ชื่อกิจกรรม :
เสวนาไผ่กับวิถีไทย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2565 - 31/07/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมเสวนาและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อๆ 25 บาท 1 วัน เป็นเงิน 750
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 750.00 บาท 0.00 บาท 750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาท 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่ใช่บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5550.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลรุนแรงทำให้การจัดกิจกรรมเสวนาไม่สามารถทำได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
จัดกิจกรรมเสวนาในรูปแบบออนไซด์ เพราะสถานการณ์โควิดไม่รุนแรง และมีมาตรการรักษาระยะห่าง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไผ่กับวิถีไทย
ช่วงเวลา : 01/04/2565 - 30/06/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล