17586 : โครงการศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ประดับลายหม้อบูรณฆฏะ ในศิลปกรรมล้านนา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/11/2564 13:17:15
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และห้องสมุดในสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ ทั้งในภาครัฐและเอกชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงาน กองทุนงบบริการวิชาการแก่ชุมชน
งาน บริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุน บริการวิชาการ
งบ เงินอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2565
2565 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐาปกรณ์  เครือระยา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.4 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.24 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียน การสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA65-มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA65-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ตัวชี้วัด LA65-2.7-3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA65-2.7-3. ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA65-มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก(MOC) : การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ LA65-2.10 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด LA65-2.10- จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ LA65-2.10-3. ผลักดันให้จัดกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วัฒนธรรมล้านนา ถือได้ว่ามีการใช้พันธุ์ไม้นานาชนิด ในการเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายในพิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ ทั้งใบไม้ ดอกไม้ รวมไปถึงชื่อเรียก โดยถูกปรับใช้เพื่อให้เข้ากับรูปแบบวัฒนธรรมนั้นๆได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ จากการศึกษาภาพบันทึกพันธุกรรมพืชโบราณ ผ่านงานพุทธศิลป์ล้านนา พบว่าวัฒนธรรมล้านนาสร้างงานศิลปะรับใช้ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังปรากฏในภาพจิตรกรรม ประติมากรรม และงานพุทธศิลป์ต่างๆมากมาย และได้พัฒนากลายเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา ดอกไม้ต่างๆ ผ่านงานเหล่านี้ ซึ่งถือได้ว่ามีความน่าสนใจถึงการนำพรรณไม้มาประกอบ หรือจัดวางในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอย่างมากมาย การสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อรับใช้ศาสนาดังกล่าว ได้ผ่านระบบความคิด จินตนาการ จากธรรมชาดก ประกอบเข้าเป็นเรื่องราวต่างๆ ผ่านงานพุทธศิลป์ สิ่งที่สำคัญที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นคือลายหม้อบูรณฆฏะ ที่ปรากฏแพร่หลายในพื้นที่ดังกล่าว ด้วยรูปแบบที่มีความหลายหลายทั้งในส่วนของภาชนะและพันธุ์ไม้ในแจกัน ซึ่งมีทั้งดอกบัว ดอกเอื้อง ดอกโบตั๋น และดอกมะพร้าว เป็นต้น โดยปรากฏการใช้ประดับศาสนสถานตามตำแหน่งต่างๆ ลวดลายดังกล่าวคือพัฒนาการจากเครื่องสักการะ กล่าวคือ แจกันหม้อดอกปักดอกไม้บูชาพระพุทธรูป กลายมาเป็นลวดลายประดับที่เรียกว่า “ลายหม้อบูรณฆฏะ” สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และการเจริญงอกงานนี้ ถูกสร้างสรรค์ขึ้นหลายเทคนิควิธี รวมถึงวัสดุที่ใช้สร้างสรรค์ ตลอดจนสิ่งที่น่าสนใจคือพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่นิยมนำมาประดับและจัดองค์ประกอบ จนขึ้นรูปเป็นลายหม้อบูรณฆฏะดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการตลอดจนแนวคิด ความเชื่อ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ารูปแบบของลวดลายดังกล่าว มีพัฒนาการตามช่วงเวลา มีรูปแบบเฉพาะถิ่น รวมถึงเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งปัจจุบันนี้ลายดังกล่าวมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นลายประดิษฐ์มากขึ้น ทำให้รูปแบบ ความเชื่อและความหมายได้เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นการศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อบูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความน่าสนใจ ในเชิงการเก็บรูปแบบลวดลายล้านนาอันเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรมพืช ที่มีความสัมพันธ์ในทางพุทธศาสนา เห็นถึงมุมมองแง่คิดความหมายเชิงสัญลักษณ์ และการสังเกตธรรมชาติของช่าง ผ่านรูปแบบลวดลายลายหม้อบูรณฆฏะ ทำการจัดเก็บรวบรวมรูปแบบต่างๆที่ปรากฏ เป็นหนึ่งองค์ความรู้ในเชิงรูปแบบลายหม้อบูรณฆฏะที่ปรากฏในวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวถือเป็นประโยชน์ในด้านงานช่างต่างๆ ทั้งการนำกลับไปใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมอันเกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา การนำมาพัฒนาและต่อยอดไปสู่การสร้างและเพิ่มมูลค่างานอุตสาหกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม ทั้งด้านงานศิลปกรรม ทางด้านอุตสาหกรรม รวมถึงด้านการท่องเที่ยว โดยองค์ความรู้เหล่านี้ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาช่างล้านนา อันจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในอนาคตต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อรวบรวมรูปแบบลายหม้อบูรณฆฏะ ที่ปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนา
เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้ "การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อบูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา "
KPI 1 : องค์ความรู้ "พันธุ์ไม้ที่นำมาใช้ประดับลายหม้อบูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 2 : นิทรรศการ "ลวดลายหม้อบูรณฆฏะล้านนา"
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 นิทรรศการ 1
KPI 3 : หนังสือ "บูรณฆฏะล้านนา: ความเชื่อ ความหมายและความงาม" เพื่อการเผยแพร่งานวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
500 เล่ม 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้ "การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อบูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา "
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อบูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา
- เก็บข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัย และเก็บข้อมูลภาคสนาม
- เรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล
- รายงานสรุปผลการศึกษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2564 - 31/07/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์  เครือระยา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าที่พัก/ค่าพาหนะ) (5,000 บาท x 8 จังหวัด)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 15,000.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำรายงานวิจัยความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ สำหรับส่งมอบให้หน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัยและจัดกิจกรรม (300 บาท x30 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์หนังสือพร้อมเข้าเล่ม สำหรับแจกจ่ายถึงองค์กรทางด้านวัฒนธรรม หน่วยงานมหาวิทยาลัย สำนักหอสมุด และหอสมุด ทั่วประเทศ (250 บาท x 500 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 125,000.00 บาท 125,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าฝากส่งไปรษณีย์ ค่าดวงตราไปรษณีย์ ส่งหนังสือให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 176000.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำนิทรรศการ "ลวดลายหม้อบูรณฆฏะล้านนา" จัดแสดงนิทรรศการ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2565 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์  เครือระยา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำบอร์ดนิทรรศการ (ุ9 ชิ้น x 2,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 22,500.00 บาท 22,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน วัสดุอื่นๆ ในการจัดและติดตั้งนิทรรศการ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 24000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ความหมายและการออกแบบลวดลายหม้อบูรณฆฏะ ใช้ในการเรียนการสอน รายวิชา ศท011 มนุษย์กับความงามทางศิลปะ ใน เทอม 2/64 และ 1/65
ช่วงเวลา : 01/01/2565 - 31/08/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ลวดลายหม้อบูรณฆฏะในล้านนา
ช่วงเวลา : 01/12/2564 - 31/08/2565
ตัวชี้วัด
สมศ 6 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ประโยชน์
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล