17583 : โครงการการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติก
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/12/2564 15:26:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  บุคคลทั่วไป นักเรียนหรือนักศึกษาในชุมชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เนตราพร  ด้วงสง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปราณรวีร์  สุขันธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัฒน์  สร้อยทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการจัดโครงการเรื่อง “โครงการการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติก” ให้แก่ชาวชุมชนเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุจากชุมชนโดยใช้กระบวนการ “รีไซเคิล” เพื่อทำให้ชุมชนสามารถลดปริมาณเศษพลาสติกที่จะทิ้งให้กลายเป็นขยะซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาเพิ่มมูลค่าและคืนความสวยงามให้กับสิ่งแวดล้อม โดยนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มาจากเศษวัสดุจากชุมชนและมีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากระดับห้องปฏิบัติการสู่ชุมชน ในการจัดอบรมมีการให้ความรู้ในเชิงวิชาการทั้งความรู้เบื้องต้นของพลาสติก ปัญหาขยะพลาสติกและการจัดการ และกระบวนการในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติก อีกทั้งมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เข้ารับการอบรมจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติเองในทุกขั้นตอน จนสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งสามารถสร้างผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติกได้เองโดยอาศัยเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในครัวเรือนหรือในชุมชนมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตได้ โดยผลลัพธ์ในการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวบรรลุผลตามเป้าหมาย รวมทั้งผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการอยู่ในระดับดีมาก ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงการจึงเห็นสมควรที่จะต่อยอดโครงการให้มีความต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำการขยายผลโดยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนเป้าหมายใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ชุมชน คือ ชุมชนเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยโครงการในปี พ.ศ. 2565 ยังคงมีเป้าหมายในการนำเศษพลาสติกมาเป็นวัตถุดิบในการเพิ่มมูลค่า โดยเลือกใช้พลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastics) ซึ่งเป็นพลาสติกที่หลอมตัวด้วยความร้อนและสามารถกลับมาแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง พลาสติกชนิดนี้จัดเป็นวัสดุประเภท “รีไซเคิลได้” มีการใช้งานอย่างแพร่หลายและส่วนใหญ่เป็นพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว (Single-use plastics) จึงทำให้มีการทิ้งเป็นขยะจำนวนมากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเทอร์โมพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (Polyethylene; PE) และพอลิพรอพิลีน (Polypropylene; PP) ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความเหนียว ยืดหยุ่นได้ดี ขึ้นรูปง่าย ทนความร้อนได้ไม่มากนัก (น้อยกว่า 120 องศาเซลเซียส) แต่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดีมาก ใส่สีผสมได้ง่าย นิยมนำไปใช้ทำถุง ฟิล์ม ขวดบรรจุภัณฑ์ ฝาขวด หลอด เป็นต้น ซึ่งการรีไซเคิลพลาสติกประเภทนี้สามารถทำได้ทั้งในระดับอุตสาหกรรมและในระดับชุมชนหรือครัวเรือน จากปัญหาของเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในโครงการปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเน้นการใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในครัวเรือนหรือในชุมชนนั้นพบว่า กระบวนการผลิตแบบเดิมมีกำลังการผลิตที่ค่อนข้างต่ำและการควบคุมคุณภาพของชิ้นงานทำได้ไม่ดีนัก ดังนั้น โครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งด้านกำลังการผลิตและการควบคุมคุณภาพของชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดขยายการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ โครงการยังออกแบบให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ GO. Eco. University ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสีเขียวและมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ โดยโครงการนี้มุ่งเน้นสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวชั้นนำของประเทศ (Green university ranking) เพื่อสร้างความ “อยู่ดี” ให้กับประเทศ ซึ่งมีกลยุทธ์การดำเนินงานโดยการรักษาสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยและชุมชนให้มีความสมดุลกับธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาศาสตร์และองค์ความรู้เพื่อความยั่งยืนของชุมชน ประเทศชาติและโลก กล่าวได้ว่า โครงการนี้สามารถสนับสนุนมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาข้างต้นได้โดยนำแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการไปใช้ประโยชน์ในส่วนของการจัดการขยะพลาสติกที่รีไซเคิลได้ โดยเริ่มตั้งแต่การคัดแยกขยะไปจนถึงการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติกได้อย่างเหมาะสมและผสมผสานกับแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้ง โครงการนี้ยังน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านสิ่งแวดล้อมที่ว่า “...ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศ กล่าวคือการพัฒนายิ่งรุดหน้า ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษก็ยิ่งก่อตัวและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้...- ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕” มาเป็นแนวคิดของโครงการที่ตะหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม และน้อมนำหลักการดำเนินงานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ว่า “การพัฒนาแบบองค์รวม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ไปพร้อมๆ กัน โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องได้รับความรู้จากกิจกรรมที่ทำและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตต่อไปได้ - บทนำในหนังสือสัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” มาเป็นแนวทางการดำเนินโครงการในรูปแบบบริการวิชาการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยโดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทั้งความรู้เบื้องต้นของพลาสติก ปัญหาขยะพลาสติกและการจัดการ และกระบวนการในการผลิตผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติกให้แก่ชุมชนผ่านกิจกรรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยมุ่งหวังให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกและส่งเสริมให้มีการนำเศษพลาสติกที่มีอยู่ในชุมชนจำนวนมากมาสร้างรายได้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติกจากชุมชน
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากระดับห้องปฏิบัติการสู่ชุมชนผ่านการเรียนรู้แบบองค์รวมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเศษพลาสติกจากชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. เทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติกจากชุมชน 2. ผลิตภัณฑ์จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศษพลาสติก
KPI 1 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ จำนวนเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เทคโนโลยี 1
KPI 2 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ จำนวนต้นแบบผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ต้นแบบ 1
KPI 6 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (Outcome) ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ได้รับบริการวิชาการต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. เทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติกจากชุมชน 2. ผลิตภัณฑ์จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศษพลาสติก
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 ออกแบบแม่พิมพ์สำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/01/2565 - 31/03/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ สำหรับ 1 รูปแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ชิ้น ใช้วัสดุ stainless steel ขนาด 15×15 เซนติเมตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติก กิจกรรมที่ 1 ออกแบบแม่พิมพ์สำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/01/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 มื้อ × 20 คน×30 บาท × 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 มื้อ × 20 คน×150 บาท × 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำแผ่นพับ กระดาษอาร์ตมัน 105 แกรม ขนาด A4 จำนวน 20 แผ่น x20 บาท/แผ่น เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำโปสเตอร์ โปสเตอร์แบบ Roll – up ขนาด 0.8 x 2 ตารางเมตร จำนวน 1 ป้าย × 2,000 บาท
เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงลงพื้นที่ จำนวน 5 คนๆ ละ 240 บาท/วัน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 600 บาท/ชั่วโมง × 4 ชั่วโมง × 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 4 คนๆ ละ 300 บาท/ชั่วโมง × 4 ชั่วโมง × 1 ครั้ง เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารเคมีและเครื่องแก้ว (พลาสติกไซเซอร์ ซิลิโคนออย สารเติมแต่ง แผ่นกันความร้อน สเปรย์เทฟลอน) ถุงมือกันความร้อน หน้ากาก แว่นตานิรภัย เป็นเงิน 11,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 11,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 สันเล่ม กระดาษปก ลวดเย็บ เทปกาว ปากกา ปากกาเคมี คลิปดำ
เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นซีดี ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น แผ่นให้ความร้อน สายไฟ หัววัดอุณหภูมิ สวิตช์ไฟ รางสายไฟ ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความเสี่ยงจากความความล่าช้าของการดำเนินโครงการจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น การสำรวจรวบรวมเศษพลาสติก การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
มีการติดต่อประสานงานและรายงานความก้าวหน้าร่วมกับผู้มีส่วนร่วมในโครงการทุกภาคส่วนเดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้สามารถป้องกันและจัดการกับปัญหาได้ทันท่วงที
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ความรู้เบื้องต้นของพลาสติก ปัญหาขยะพลาสติกและการจัดการ และเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากเศษพลาสติกไปถ่ายทอดแก่ชุมชนผ่าน กิจกรรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ช่วงเวลา : 04/01/2565 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล