17579 : โครงการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดในแพะและสุกรพื้นเมือง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางปราณี กันธิมา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2/12/2564 14:22:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและสุกรพื้นเมืองในมูลนิธิโครงการหลวง
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
รองศาสตราจารย์ ดร. วาที  คงบรรทัด
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อพยาธิในเลือดเป็นโรคที่พบบ่อยในแพะและสุกรพื้นเมืองในประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นโรคที่นำโดยปรสิตภายนอก เช่น เห็บที่ติดเชื้อริกเกตเซียและโปรโตซัว โรคนี้เกิดจากการที่ปรสิตภายนอกที่มีเชื้อดังกล่าวกัดแพะและสุกรและปล่อยเชื้อเข้ากระแสเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เกล็ดเลือดต่ำ ซีด หากไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา สัตว์มักจะตาย ในแพะและสุกรที่กำลังป่วยจะให้ผลผลิตนมลดลงมาก สัตว์ที่กำลังตั้งท้องจะแท้งลูก บางรายลุกเดินไม่ได้ ต้องคัดทิ้ง แพะและสุกรมักทยอยเป็นในฝูงเดียวกัน การตรวจพบเจอโรคนี้ในช่วงเริ่มต้นของอาการป่วยและให้การรักษามักจะให้ผลการรักษาที่ดี การวินิจฉัยโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดของแพะและสุกรในปัจจุบันทำโดยการย้อมฟิล์มเลือดบางด้วยสี Wright’s giemsa ซึ่งมีราคาถูก ทำได้รวดเร็ว แต่มีโอกาสเจอเชื้อน้อย และต้องทำโดยผู้ชำนาญการเท่านั้น ในปัจจุบันห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อส่งเสริมภูมิต้านทานในมนุษย์และสัตว์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาเทคนิค multiplex polymerase chain reaction (mPCR) ที่สามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคพยาธิในเลือดแพะหลายชนิดได้พร้อมกันในปฏิกิริยาเดียว ได้แก่เชื้อ Anaplasma marginale, Eperythrozoon sp., Theileria sp. และ Trypanosoma sp. และเชื้อก่อโรคพยาธิในเลือดสุกร ได้แก่เชื้อ Anaplasma phagocytophilum, Eperythrozoon sp., และ Trypanosoma sp. ซึ่งเทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้มีความไวสูง ประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถตรวจได้หลาย ตัวอย่างพร้อมกัน สามารถให้บริการตรวจตัวอย่างเลือดและสามารถรายงานผลกลับให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ภายใน 3 วันทำการหลังจากที่ได้รับตัวอย่าง ในปัจจุบันให้บริการแก่แพะและสุกรพื้นเมืองในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ฟาร์มแพะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และฟาร์มแพะของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย โครงการนี้สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ เรื่อง การปศุสัตว์บนพื้นที่สูงของโครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ และศูนย์พัฒนาโครงการวัดจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้เกษตรกรทราบสถานะการติดเชื้อพยาธิในเลือดของแพะและสุกรในฝูง
ให้ความรู้เรื่องโรคพยาธิในเลือดในแพะและสุกร รวมถึงการป้องกันและการรักษา เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ให้การรักษาโรคพยาธิในเลือด เพื่อลดอัตราการป่วยและตายของแพะและสุกร โดยใช้เทคนิค multiplex PCR ที่พัฒนาขึ้น
ให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นที่พึ่งด้านวิชาการแก่เกษตรกร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การได้รับบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดในแพะและสุกรพื้นเมือง
KPI 1 : ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (Outcome) ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0567 0.0208 0.0025 ล้านบาท 0.08
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 คน 40
KPI 5 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ ให้การรักษาโรคพยาธิในเลือดในแพะและสุกร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 ร้อยละ 90
KPI 7 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ เกษตรกรทราบว่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถเป็นที่พึ่งด้านวิชาการแก่เกษตรกรได้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ เกษตรกรทราบสถานการณ์ติดเชื้อพยาธิในเลือดของแพะและสุกรในฝูง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องโรคพยาธิในเลือดในแพะและสุกร รวมถึงการป้องกันและการรักษา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 11 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การได้รับบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดในแพะและสุกรพื้นเมือง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1
อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรและเจาะเลือดและให้ยารักษาโรคติดเชื้อพยาธิในเลือดในแพะและสุกรพื้นเมือง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/01/2564 - 30/06/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน  เจริญตัณธนกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.วาที  คงบรรทัด (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ 1 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ 2 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน ๆ ละ 250 บาท 1 มื้อ 1 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน ๆ ละ 250 บาท 1 มื้อ 2 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์ จำนวน 1 คัน วันละ 1,800 บาท จำนวน 1 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
จำนวน 1 คัน วันละ 1,800 บาท จำนวน 2 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก จำนวน 2 คืน ๆ ละ 5 ห้อง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 2 คน ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 4,800 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 1 คน ชั่วโมงละ 1,200 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 4,800 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 200 บาท 6 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ ชุดเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมและไพรเมอร์ จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 9,000 บาท
หลอดเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เป็นเงิน 300 บาท
ผงอะกาโรส/น้ำยา TBE/น้ำยา ethidium bromide เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 77500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน  เจริญตัณธนกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.วาที  คงบรรทัด (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การเจาเลือดสุกรพื้นเมืองบางตัวอาจทำได้ยากและเสี่ยงอันตรายเพราะสุกรดุร้าย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เจาะเลือดสุกรพื้นเมืองเฉพาะตัวที่ให้ความร่วมมือเท่านั้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
โครงการนำองค์ความรู้ เรื่อง โรคพยาธิในเลือดแพะและสุกร มาบริการวิชาการ
ช่วงเวลา : 03/01/2565 - 30/06/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล