17574 : โครงการพัฒนาความรู้ด้านการผลิตผัก ปัจจัยการผลิต และแปลงสาธิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อการผลิตอาหารปลอดภัยและยกระดับรายได้สู่ชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/1/2565 14:36:33
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  330  คน
รายละเอียด  ฝึกอบรม จำนวน 30 คน ศึกษาดูงาน จำนวน 300 คน ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและผู้สนใจด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์ทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2565 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
อาจารย์ ดร. สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ64 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 AP 2.3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม ด้วยองค์ความรู้ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด 64AP2.3.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 AP2.1.1 การให้บริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อขยายพื้นที่ รายได้ และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พืชผักจัดสิ่งจำเป็นหนึ่งในห้าหมู่ของหมู่อาหารที่มนุษย์ต้องรับประทานเป็นประจำขาดไม่ได้ หากไม่ได้รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการขาดสารอาหารบางอย่างขึ้นได้ต่อร่างกายของคนเรา โดยทั่วไปแล้วพืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยใช้รับประทานกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะใช้รับประทานเป็นผักสด ใช้จิ้มกับน้ำพริกชนิดต่างๆ หรือใช้ประกอบอาหารในเมนูต่างๆ เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักของคนทั่วไป มักเลือกบริโภคผักที่มีลักษณะสวยงามไม่มีร่องรอยการเข้าทำลายของศัตรูพืช ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผักยังมีการใช้สารเคมีฉีดพ่นพืชผักเพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงอยู่เป็นประจำเพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของผู้บริโภค โดยไม่ได้คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าสารกำจัดแมลงเท่ากับ 21,004,000 กิโลกรัม ดังนั้นจึงพบว่าในแต่ละปีที่ผ่านมามีการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานปัญหาสุขภาพของคนไทยที่เกิดจากการได้รับสารพิษจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเข้าไป โดยนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงฤดูการเพาะปลูกเกษตรกรมักใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และใช้มากในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมของทุกปี ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2561 มีรายงานผู้ป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดทั้งหมด 6,079 คน คิดเป็นอัตราป่วย 12.95 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยจากพิษสารกำจัดแมลง 2,956 คน คิดเป็นอัตราป่วย 6.3 ต่อแสนประชากร โดยสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช สามารถเกิดพิษได้ 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลัน อาการจะเกิดขึ้นทันที เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า แสบตา และแบบเรื้อรัง เกิดจากการสัมผัสเป็นเวลานาน และเกิดพิษสะสมจนก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาต่อสุขภาพ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด การสูญเสียการได้ยิน และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น (กรมควบคุมโรค, 2562 : https://www. hfocus.org/content/2019/06/17297) ปัจจุบันจึงเห็นได้ว่าโรงพยาบาลต่างๆมีสถิติผู้ป่วยที่เกิดจากการใช้ในวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีดังกล่าวเข้ารับการรักษาเป็นจำนวนสูงขึ้นทุกปี แม้ว่าปัญหาทางสุขภาพจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรที่ได้รับพิษเฉียบพลัน แต่ภัยมืดที่อันตรายกว่าคือพิษสะสมจากการสัมผัสหรือได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การอยู่ใกล้พื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก และการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง พาร์คินสัน หรือการพิการของทารกแรกเกิด เป็นต้น สถิติการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าสังคมไทยกำลังผจญกับความเสี่ยงด้านสารเคมีและมลพิษ (www.dmsc.moph.go.th/) ดังนั้นจึงควรมีการรณรงค์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เปลี่ยนแปลงแนวคิดวิถีการผลิตให้ปลอดภัย โดยการหันมาปลูกพืชผักในแนวทางของเกษตรอินทรีย์และการใช้ปัจจัยการผลิต เช่นสาร ชีวภัณฑ์ต่างๆที่ผลิตได้เองในพื้นที่เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร จากเหตุผลดังกล่าวจึงควรมีหน่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการผลิตผักสดในแนวทางของเกษตรอินทรีย์และการทำปัจจัยการผลิตโดยไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนการผลิต สามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกลับมาใช้ในพื้นที่ เช่นการนำมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ น้ำหมักอินทรีย์ ฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้มีสุขภาพที่ดี ได้รับประทานผักสดที่ปลอดภัยจากสารเคมียังช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว และมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของชุมชนให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป ซึ่งสอดคล้องกับการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่แท้จริงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้และยังสอดคล้องกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และของรัฐบาลในปัจจุบันในด้านการสนับสนุนให้เปลี่ยนเป็นการผลิตแบบระบบเกษตรอินทรีย์อย่างมีคุณภาพ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ สำหรับสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน
เพื่อพัฒนาแหล่งบริการทางวิชาการด้านการผลิตผักสดและการทำปัจจัยการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์
เพื่อเป็นแหล่งผลิตตัวอย่างด้านอาหารปลอดภัยด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจังหวัดเชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวการผลิตพืชผัก และเทคนิคการทำปัจจัยการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์
KPI 1 : แหล่งบริการทางวิชาการด้านการผลิตผักสดและการทำปัจจัยการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 30 30 10 ร้อยละ 90
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.08 ล้านบาท 0.08
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 20 ร้อยละ 80
KPI 6 : แหล่งผลิตตัวอย่างด้านอาหารปลอดภัยด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจังหวัดเชียงใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 20 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละความเข้าใจด้านการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์สำหรับสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 30 30 10 ร้อยละ 90
KPI 10 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 50 50 คน 300
KPI 11 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการรับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 20 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวการผลิตพืชผัก และเทคนิคการทำปัจจัยการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1
แปลงสาธิตการผลิตผัก และการทำปัจจัยการผลิตในระบบอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ขุยมะพร้าว เมล็ดพันธุ์ผัก ไม้ค้าง แกลบดิบ เชื้อชีวภัณฑ์ ตาข่ายพลางแสง มูลสัตว์ ถาดเพาะ ปุ๋ยอินทรีย์ ถาดเพาะ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 73,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 73,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 73400.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2
การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท)
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 4,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย002-65 (อนุมัติ)
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล