17549 : สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ดร.ณิชมน ธรรมรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/11/2564 23:30:44
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2564  ถึง  31/08/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 150,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช "การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควร ใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปีติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว" โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จัดตั้งงาน "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" เพื่อเป็นสื่อในการสร้าง จิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้น ได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความ สวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณ ต่อไป ซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็น ประโยชน์ต่อเนื่องใน การเรียนการสอนวิชาต่างๆ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จึงเป็นการดำเนินงานที่อิงรูปแบบของ “สวนพฤกษศาสตร์” โดยมี การรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลพรรณไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการบันทึกรายงานและข้อมูล รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีมุมสำหรับศึกษาค้นคว้าและมีการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เป็นการดำเนินการให้สอดคล้อง กับสภาพท้องถิ่น ไม่ฝืนธรรมชาติ และเป็นไปตามความสนใจและความพร้อมของโรงเรียน ดำเนินการ โดยความสมัครใจ ไม่ให้เกิดความเครียด ดร. พิศิษฐ์ วรอุไร ประธาน คณะกรรมการบริหารโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำริฯ (ปัจจุบันเป็นกรรมการที่ปรึกษา ในคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และประธานคณะที่ปรึกษาประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ) ได้ประชุมหารือกับคณาจารย์และ ราชบัณฑิต ด้านพฤกษศาสตร์ เห็นพ้องต้องกันที่จะใช้ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เป็นสื่อในการที่จะให้นักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ ของพืชพรรณ เกิดความรัก หวงแหน และรู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริ และแนวปฏิบัติให้เป็นงานหนึ่งในกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช และชัดเจนใน คำจำกัดความของ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา โดยใช้แนวทางการดำเนินงานตามแบบอย่างสวนพฤกษศาสตร์ ในการเป็นที่รวบรวม พรรณไม้ที่มีชีวิต มีการศึกษาต่อเนื่อง มีห้องสมุดที่ใช้ในการศึกษา เก็บตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง-ดอง แต่ย่อขนาดมาดำเนินการในพื้นที่เล็กๆ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงได้จัดการประชุมเพื่อเผยแพร่ พระราชดำริและแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้กับโรงเรียนมัธยมสังกัด กรมสามัญศึกษา การประถมศึกษาแห่งชาติ และการศึกษาเอกชน ซึ่งปัจจุบันสังกัดในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) โดยให้โรงเรียนที่สนใจสมัครใจที่จะร่วมสนองพระราชดำริ สมัครเป็นสมาชิก ขณะนี้มีโรงเรียนสมาชิก ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา 860 โรงเรียน (ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2550) สำหรับการดำเนินงานในระยะ 5 ปี ที่สี่ (ตุลาคม 2549 – กันยายน 2560) มีนโยบายการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เข้มข้น (เนื้อหาวิชาการมากขึ้น) เข้มแข็ง (มีผู้เข้าร่วมมากขึ้น) และพัฒนา (พัฒนาไปสู่ประโยชน์แท้จริง) โดยให้โรงเรียน สถาบันการศึกษา ได้มีสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อเข้าถึงวิทยาการ ปัญญาและภูมิปัญญาแห่งตน ปฏิบัติตนเป็นผู้อนุรักษ์ พัฒนา สรรพชีวิต สรรพสิ่ง ด้วยคุณธรรม ผู้บริหาร ครู อาจารย์ เข้าถึง สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทั้งปรัชญาและบรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปฏิบัติงานเป็นหนึ่ง นักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา เล่น รู้ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว นักเรียนระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้โดยตน มีวิทยาการของตน โดยธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว นักศึกษาระดับอุดมศึกษา เรียนรู้โดยตน ในปัจจัย เหตุ และส่งผลแปรเปลี่ยน การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ควรทำด้วยความสมัครใจ สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ให้เกิดความเครียด มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เบื้องแรกต้องทำความเข้าใจในเรื่องแนวคิดแนวปฏิบัติว่า สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นสวนของการใช้ประโยชน์ ที่จะนำมาใช้เป็นฐานการเรียนรู้ ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน สร้างจิตสำนึกในการ อนุรักษ์พืชพรรณ มิใช่เป็นเพียงสวนประดับ สวนหย่อมหรือ สวนสวยโรงเรียนงาม แต่เป็นงานที่เข้ามาสนับสนุน สวนที่มีอยู่แล้วหรือดำเนินการขึ้นใหม่ ซึ่งจะให้ความรู้ พัฒนาสภาพแวดล้อมตามลำดับ เป็นงานที่จะดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ เพราะสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ไม่ต้องลงทุน เพียงแต่ให้เด็กรู้จักสังเกต เรียนรู้ ตั้งคำถาม และหาคำตอบ เป็นข้อมูลสะสมอันจะ ก่อให้เกิดความรู้และผู้เชี่ยวชาญในพันธุ์ไม้นั้นๆ รวมทั้งเป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์ พรรณไม้ที่เป็นประโยชน์ พืชสมุนไพร พืชผักพื้นเมือง เป็นที่รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการใช้พื้นที่นั้น เรียนรู้ เป็นสถานอบรมสั่งสอนเบ็ดเสร็จเกิดมีทั้งวิทยาการทั้งปัญญา สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของโรงเรียนที่เป็นสมาชิกจะเป็นส่วนหนึ่งของ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ” ที่เชื่อมต่อด้วยระบบข้อมูล จะเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากมีสมาชิกกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีความหลายหลากของพรรณไม้ ภูมิประเทศและความหลายหลากของการปฏิบัติ ในการนำเอาต้นไม้ พืชพรรณในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อการเรียนการสอน เป็นฐานการเรียนรู้การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดำเนินการโดยนักเรียน มีครูอาจารย์เป็นผู้ให้คำแนะนำสนับสนุน ผู้บริหารเป็นหลักและผลักดัน มีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นสนับสนุนทางวิชาการ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จึงเป็นการดำเนินงานของโรงเรียนโดยสมัครใจ ที่จะนำแนวพระราชดำริและแนวทาง การดำเนินงานที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ให้คำแนะนำมาปฏิบัติ โดยเปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียนดำเนินงานตามความพร้อม ไม่ฝืนธรรมชาติ และนำพืชพรรณไม้ใน โรงเรียนพัฒนาเป็นฐานการเรียนรู้ เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ อันจะเกิดผลประโยชน์แก่นักเรียน ครู อาจารย์ที่ดำเนินงาน เกิดข้อมูลองค์ความรู้ วิธีการที่จะทำให้เกิดผู้เชี่ยวชาญ สามารถที่จะนำไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อเสนอขอตำแหน่งปรับระดับตำแหน่งทางวิชาการต่อไป มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจัดพื้นที่บางส่วนของโครงการอนุรักษ์ ศึกษา และพัฒนาป่าบ้านโปงเพื่อเข้าร่วมโครงการ ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และขยายพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ เป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ จ.แพร่ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จ.ชุมพร ได้ดำเนินงานตามกรอบงานของโครงการฯ อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีคณาจารย์ประมาณไม่ต่ำกว่า 50 คน และนักศึกษาจำนวนมากจากหลากหลายสาขาวิชา ประกอบกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ระยะ 15 ปี (Maejo Flagships to 2026) ได้มุ่งเน้นการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปสู่ “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบชีวิต 5 ประการดังนี้ คือ 1) ความสำคัญของการเกษตร 2) ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม 4) โลกของความเป็นจริง ตามทันและรู้ทันการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และ 5) หลักธรรมาภิบาล โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ดังนี้คือ 1) สังคมเกษตรอินทรีย์ (Organic University) 2) สังคมสีเขียว (Green University) และ 3) สังคมเชิงนิเวศ (Eco University) มหาวิทยาลัยแม่โจ้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินงานในกรอบดำเนินงานนี้ จึงได้ดำเนินการในสามกิจกรรม ดังนี้คือ 1) งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นนวัตกรรมของการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทย นำไปสู่การพัฒนาคนให้เข้มแข็งรู้เท่าทันพร้อมรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก 2) งานพิพิธภัณฑ์ เป็นการขยายผลการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ไปสู่ประชาชน กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยใช้การนำเสนอในรูปของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นสื่อเข้าถึงประชาชนทั่วไป 3) งานอบรม เป็นการอบรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน, งานฝึกอบรมปฏิบัติการสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยอาจจัดร่วมกับ อพ.สธ. อนึ่งในปี 2560 จะเริ่มต้นเฉพาะในส่วนของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนไปก่อน เมื่อพร้อมแล้วแล้วค่อยดำเนินการในงานที่ 2 และ 3 ในปีถัดไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อให้ผู้รับการอบรมเข้าใจหรืออธิบายถึงที่มาและความสำคัญของพฤกษศาสตร์ได้
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถอธิบายหลักเกณฑ์การจัดจำแนกพืช ความสำคัญของชื่อวิทยาศาสตร์และหลักการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ได้
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้พืชไปใช้ในชีวิตประจำวันการเรียน การสอน และการทำวิจัยต่างๆ
เพื่อปรับปรุงมุมเรียนรู้ (Learning space) สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ /ค้นคว้าด้านพืช สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรที่สนใจ
เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างดอกกล้วยไม้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : จำนวนตัวอย่างดอกกล้วยไม้ดอง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ตัวอย่าง 20
KPI 2 : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านพฤกษศาสตร์เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 4 : สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน หรือทำการศึกษาวิจัยที่ใช้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ได้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 6 : สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน หรือทำการศึกษาวิจัยที่ใช้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
การเก็บตัวอย่างดอกกล้วยไม้ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2565 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 25000.00
ชื่อกิจกรรม :
การปรับปรุงและพัฒนามุมเรียนรู้ (Learning space) พื้นที่ ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ห้องเอื้องเสือแผ้ว) ชั้น 1 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง พฤกษศาสตร์กับการประยุกต์ใช้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2565 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (2 วัน x 2 มื้อ x 30 บาท x 40 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (2 วัน x 1 มื้อ x 80 บาท x 40 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (2 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 19,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,800.00 บาท 0.00 บาท 19,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 38200.00
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง วิถีนักพฤกษศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2565 - 30/06/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก (2 คน x 1,200 บาท x 1 คืน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะเดินทางวิทยากร (2 คน x 2,500 บาท x 2 เที่ยว)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมา ในวงเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (2 วัน x 2 มื้อ x 30 บาท x 40 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (2 วัน x 1 มื้อ x 80 บาท x 40 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (2 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 56800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล