17548 : การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของเห็ดท้องถิ่นและเห็ดเศรษฐกิจในประเทศไทย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ดร.ณิชมน ธรรมรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/11/2564 10:28:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 600,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. รัฐพร  จันทร์เดช
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เห็ดจัดเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่เจริญเป็นเส้นสาย (hyphae) และมีโครงสร้างสืบพันธุ์ขนาดใหญ่ (fruit body) สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและสามารถใช้มือเก็บได้ โดยเห็ดนั้นจัดว่าเป็นเชื้อราประเภทหนึ่งเช่นกัน ซึ่งทั้งเห็ดและราถูกจัดอยู่ในอาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) โดยในปี ค.ศ. 1995 Hawksworth และคณะ ได้รายงานจำนวนสมาชิกของเห็ดในอาณาจักรฟังไจที่สามารถจัดจำแนกได้ในโลก โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม ตามวิธีการสร้างสปอร์แบบอาศัยเพศ โดยกลุ่มที่หนึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Ascomycetes เป็นกลุ่มที่สร้างสปอร์ใน ascus ซึ่งมีลักษณะคล้ายถุง จึงเรียกว่า sac fungi ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 32,267 สปีชีส์ 3,266 จีนัส 264 แฟมิลี และกลุ่มที่สองจัดอยู่ในกลุ่ม Basidiomycetes เป็นกลุ่มที่สร้างสปอร์บน basidium ที่มีลักษณะคล้ายกระบอง จึงเรียกเห็ดกลุ่มนี้ว่า club fungi ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 22,244 สปีชีส์ 1,428 จีนัส 165 แฟมิลี ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 Kirk และคณะ ได้รายงานการจัดระบบการจัดจำแนกใหม่โดยอาศัยหลักการทางอณูชีววิทยาเข้ามาช่วยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขในแต่ละลำดับขั้นทางอนุกรมวิธานของเห็ดในกลุ่ม Basidiomycetes โดยมีการปรับจำนวนสมาชิกในแต่ละลำดับขั้นใหม่เป็น 20,391 สปีชีส์ 1,037 จีนัส 112 แฟมิลี 16 ออร์เดอร์ ส่วนของประเทศไทยในปี ค.ศ. 2011 อนงค์ จันทรศรีกุล และคณะ ได้รายงานจำนวนสมาชิกเห็ดในกลุ่ม Basidiomycetes ที่พบในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 1,978 สปีชีส์ ซึ่งคิดเป็นเพียง 9.7% ของเห็ดในกลุ่มนี้ที่มีรายงานในโลก เห็ดมีหน้าที่สำคัญคือ รักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม โดยการนำสารอินทรีย์ต่างๆ มาใช้ใหม่ เห็ดหลายชนิดมีความสำคัญต่อนิเวศป่าไม้และเกษตรกรรม โดยทั่วไปเห็ดที่เจริญอยู่ในสภาพธรรมชาติหรือเห็ดป่าเหล่านี้ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง เป็นเห็ดที่เจริญอยู่บนเศษซากพืช เรียกว่า เห็ดผู้ย่อยสลาย หรือเห็ดแซบโปรไฟต์ (saprophytic mushrooms) ช่วยย่อยสลายเศษซากพืชให้กลับกลายเป็นแร่ธาตุอาหารคืนสู่ดิน อันเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และช่วยให้พืชเจริญเติบโตดี เห็ดกลุ่มที่สองคือ เห็ดที่เจริญอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง หรือเห็ดซิมไบโอซิส (symbiotic mushrooms) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มย่อยที่หนึ่งคือ เห็ดไมคอร์ไรซา (mycorrhizal mushrooms) เป็นเห็ดกลุ่มที่มีเส้นใยเจริญอยู่ร่วมกับรากพืชที่มีชีวิต เส้นใยเหล่านี้ช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารในดินส่งไปให้รากพืช อันมีผลทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตและทนทานต่อโรคที่เกิดกับรากและสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดีกว่าต้นพืชชนิดเดียวกันที่ไม่มีเห็ดพวกไมคอร์ไรซาเจริญอยู่ ส่วนเส้นใยของราก็ได้รับคาร์โบไฮเดรทที่พืชสังเคราะห์ขึ้นไปใช้ในการเจริญเติบโต และกลุ่มย่อยที่สองคือ เห็ดปลวก (termite mushrooms) เป็นเห็ดที่มีเส้นใยเจริญอยู่ในรังปลวก โดยเส้นใยได้รับสารอาหารที่ขับถ่ายออกมาจากปลวก ส่วนปลวกก็ใช้บางส่วนของเส้นใยเห็ดเป็นอาหาร จนกระทั่งเมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม เส้นใยจึงรวมตัวกันเกิดเป็นดอกเห็ดขึ้นมาเหนือรังปลวก และเห็ดพวกที่สามคือ เห็ดที่ก่อให้เกิดโรคกับรากและลำต้นของพืช หรือเห็ดปรสิต (parasitic mushrooms) ซึ่งเห็ดพวกนี้จะพบขึ้นอยู่ที่รากและลำต้นของต้นไม้ที่มีอาการรากเน่า (root rot disease) หรือไส้เน่า (heart-rot disease) และอาจทำให้ต้นไม้นั้นตายในที่สุด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากเห็ดนานาชนิดมีมากมายหลากหลายด้าน โดยจัดเป็นกลุ่มต่างๆได้ดังนี้ คือ กลุ่มเห็ดที่รับประทานได้ (edible mushroom) เป็นเห็ดที่เป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุ และมีไขมันต่ำ เช่น เห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus) เห็ดขอนขาว (Lentinus squarrosulus) เห็ดขอนตีนปลอก (Lentinus sajor-caju) เห็ดแครงหรือเห็ดตีนตุ๊กแก (Schizophyllum commune) เห็ดหูหนู (Auricularia fuscosuccinia) และเห็ดร่างแหหรือเห็ดเยื่อไผ่ (Dictyophora indusiata) กลุ่มเห็ดที่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ (medicinal mushroom) ได้แก่ เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) และเห็ดจวักงู (Amauroderma rugosum) เห็ดหลินจือเป็นเห็ดสมุนไพรใช้รักษาโรคได้หลายโรค เช่น โรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ โรคตับโตเรื้อรัง โรคเครียด แก้อาการทรงตัวไม่ได้ โรคนอนไม่หลับ โรคหัวใจ กลุ่มเห็ดที่ใช้ย้อมสี (dyeing mushroom) เห็ดบางชนิดสามารถให้สีย้อมธรรมชาติได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้ย้อมกับผ้าขนสัตว์ เช่น เห็ดในสกุล Dermocybe ให้สีแดง สีชมพู สีม่วง และสีส้ม เห็ดสกุล Hydnellum และ Sarcodon ให้สีฟ้าและสีเขียว ส่วนพวกเห็ดหิ้งให้สีเหลืองหรือสีส้ม เป็นต้น กลุ่มเห็ดที่ใช้ทำสิ่งประดิษฐ์และงานฝีมือต่างๆ เช่น เห็ดกรวยทองตากู (Microporus xanthopus) และเห็ดขอนแดงหรือเห็ดขอนสีส้ม (Pycnoporus sanguineus) เนื่องจากเป็นเห็ดที่มีรูปร่างและสีสวยงามสะดุดตา ทั้งในขณะที่ยังสดอยู่และเมื่อถูกทำให้แห้ง กลุ่มเห็ดพิษ (poisonous mushroom) มีรายงานกลุ่มของสารพิษที่เห็ดสร้างขึ้นมา 7 กลุ่ม โดยกลุ่มที่มีพิษร้ายแรงที่สุดคือ amanitin ซึ่งพบมากในเห็ดสกุล Amanita โดยพิษกลุ่มนี้มีผลให้เกิดอาการตับและไตวาย และตายในที่สุด ลักษณะอาการที่เกิดจากพิษเห็ดนั้น ได้แก่ ท้องร่วง อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ซึ่งระยะเวลาที่แสดงอาการหลังจากรับประทานเห็ดเข้าไปจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเห็ด รวมทั้งปริมาณที่รับประทาน และความต้านทานของแต่ละบุคคล การศึกษาด้านความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากเห็ดมีเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของโภชนาการและสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เนื่องจากเห็ดมีสารในกลุ่ม บีตากลูแคน (ß-glucan) ซึ่งเป็นสารประเภทพอลีแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ที่เรียงต่อกันด้วยพันธะบีตาไกลโคซิดิก (ß-glycosidic) มีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการเกิดเนื้องอก ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ต้านอักเสบ ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เป็นต้น ทั้งนี้ในเห็ดแต่ละชนิดจะมีชนิดและปริมาณของสารสำคัญที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเห็ดท้องถิ่นที่พบในธรรมชาติจะมีความแตกต่างกันมากเนื่องจากแหล่งอาหารและสภาพแวดล้อมมีผลต่อการสะสมอาหารและการสร้างสารสำคัญในเห็ด ในด้านการนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการศึกษาด้านความหลากหลายของเห็ด คุณค่าทางโภชนาการและสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ วิธีการเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มปริมาณวัตถุดิบและสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การฟื้นฟูและอนุรักษ์เห็ดในสภาพธรรมชาติ เพื่อให้มีแหล่งวัตถุดิบสำหรับนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเห็ดท้องถิ่นและเห็ดเศรษฐกิจ จากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยา เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และการนำไปใช้ประโยชน์ ในอนาคต
เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีของเห็ดท้องถิ่นและเห็ดเศรษฐกิจ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อไป
เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรเห็ดท้องถิ่นในชุมชน อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของเห็ดในประเทศไทย
KPI 1 : บทความหลากหลายทางพันธุกรรมและดีเอ็นเอ barcode ของเห็ด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 2 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
KPI 3 : บทความคุณค่าทางโภชนาการของเห็ด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 4 : ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเห็ดที่ได้จากการสำรวจและรวบรวมไว้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 5 : ข้อมูลสารสำคัญที่พบในเห็ด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 6 : บทความสารสำคัญที่พบในเห็ด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 7 : ฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของเห็ดในประเทศไทย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุดข้อมูล 1
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์คุกกี้เห็ดเสริมพรีไบโอติกจากเห็ดนางรม
KPI 1 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
KPI 2 : ผลิตภัณฑ์เสริมพรีไบโอติกจากเห็ดนางรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 3 : องค์ความรู้เรื่องการย่อยได้โดยใช้กระเพาะอาหารจำลอง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของเห็ดในประเทศไทย
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาข้อมูลทางสัณฐานและพันธุกรรมของเห็ดสกุลนางรม (Pleurotus spp.) ที่พบในธรรมชาติและเก็บจากแหล่งเพาะเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.รัฐพร  จันทร์เดช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารวี  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง (2 คน x 10 วัน x 240 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,920.00 บาท 2,880.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก (1 ห้อง x 9 คืน x 750 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,000.00 บาท 3,750.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมา ในวงเงิน 68,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 55,000.00 บาท 13,200.00 บาท 0.00 บาท 68,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 120,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
55,000.00 บาท 30,000.00 บาท 35,250.00 บาท 0.00 บาท 120,250.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาข้อมูลทางโภชนาการและสารสำคัญทางชีวภาพจากเห็ดสกุลนางรม (Pleurotus spp.)
ที่น่าสนใจบางชนิดจากธรรมชาติและแหล่งเพาะ สำหรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ
ในอนาคต

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.รัฐพร  จันทร์เดช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักจำนวน (1 ห้อง x 9 คืน x 750 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,000.00 บาท 3,750.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง (2 คน x 10 วัน x 240 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,920.00 บาท 2,880.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมา ในวงเงิน 132,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 66,000.00 บาท 66,000.00 บาท 0.00 บาท 132,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 56,450 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
26,000.00 บาท 20,450.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 56,450.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
ชื่อกิจกรรม :
สรุปและรายงานผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.รัฐพร  จันทร์เดช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์คุกกี้เห็ดเสริมพรีไบโอติกจากเห็ดนางรม
ชื่อกิจกรรม :
การผลิตคุกกี้เห็ดเสริมพรีไบโอติกจากเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มยุรา  ศรีกัลยานุกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานวาด  ศิลปวัฒนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (1 คน x 180 วัน x 200 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,000.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท 8,000.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 164,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
45,000.00 บาท 80,000.00 บาท 39,000.00 บาท 0.00 บาท 164,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล