17547 : นวัตกรรมผงโรยข้าว (ฟูริคาเกะ) ชาเมี่ยงผสมสมุนไพรอินทรีย์เสริมสารต้านออกซิเดชันและจับโลหะทรานซิชันเพื่อการพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ดร.ณิชมน ธรรมรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/11/2564 14:24:43
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มธุรส  ชัยหาญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ความนิยมบริโภคสมุนไพรอินทรีย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งคนส่วนใหญ่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญมากขึ้นรวมทั้งภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่มีความเชื่อว่า การบริโภคสมุนไพรช่วยรักษาหรือบรรเทาโรคต่างๆได้ เช่น โรคเก๊าต์ มะเร็ง ตาบอดในเวลากลางคืน แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ตลอดจนการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงการแพทย์แผนปัจจุบันที่พบว่าสมุนไพรบางชนิดช่วยลดคลอเรสเตอรอล ป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ การนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันประชาชนไทยได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรทั้งในด้านใช้เป็นยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอางและของใช้ในครัวเรือน ทั้งนี้เนื่องจากสมุนไพรก่อให้เกิดอาการพิษและอาการข้างเคียงน้อยกว่าสารเคมีสังเคราะห์ ประกอบกับรัฐบาลไทยโยกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเสริมให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ การนำสมุนไพรมาทำการแปรสภาพโยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์นานาชนิด สามารถผลิตใช้ในครัวเรือน หรือ อาจแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นอาชีพเสริมหรือประกอบเป็นธุรกิจในครอบครัวได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันผงโรยข้าวกำลังได้รับความนิยมในการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย โดยผงโรยข้าวส่วนใหญ่ทำมาจากสาหร่าย ไข่หรือปลาชนิดต่างๆ และปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรสซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งยังได้รับประโยชน์จากเนื้อปลา สาหร่ายและคุณค่าจากไข่อีกด้วย นอกจากนี้อาจมีส่วนผสมที่เติมลงไปเพื่อให้เกิดลักษณะ เช่น พริกไทย เป็นต้น ส่วนของส่วนผสมชิ้นเล็กๆหรือละเอียดผสมกันไป สีของผงโรยข้าวต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของส่วนผสมต่างๆ มีกลิ่นหอมรสชาติดี ปราศจากรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น ในโครงการนี้เป็นการศึกษาด้านกระบวนการผลิตผงโรยข้าวผัก ชาเมี่ยงและสมุนไพรอินทรีย์เสริมสารต้านออกซิเดชันและสารจับโลหะทรานซิชันเพื่อให้สารออกฤทธิ์ชีวภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการบริโภค คณะผู้วิจัยจะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้สู่การพัฒนาเป็นผงโรยข้าวผักและสมุนไพรอินทรีย์ที่มีเอกลักษณ์โดยเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นจากเดิมด้วยการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน หรือเมล็ดธัญพืชและงาขี้ม้อนมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผัก ชาเมี่ยงและสมุนไพรอินทรีย์โดยปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีรสชาติที่ผู้บริโภคให้การยอมรับมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ใหม่จากผัก ชาเมี่ยงและสมุนไพรอินทรีย์สามารถใช้เทคโนโลยีการผลิตภายในประเทศและมีต้นทุนต่ำและมีประโยชน์และความปลอดภัยต่อผู้บริโภคจึงมีศักยภาพในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้โดยผลที่ได้จากการวิจัยจะช่วยเพิ่มมูลค่าของผัก ชาเมี่ยงและสมุนไพรอินทรีย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารออกฤทธิ์ สารต้านอนุมูลอิสระ สารจับโลหะทรานซิชันและสารต้านแบคทีเรียจากชาเมี่ยง ผัก และสมุนไพรอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้
เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยง ผักและสมุนไพรอินทรีย์
เพื่อพัฒนาสูตรและกรรมวิธีการผลิตผงโรยข้าวจากชาเมี่ยง ผักและสมุนไพรอินทรีย์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเสริมสารต้านออกซิเดชันและจับโลหะทรานซิชัน
เพื่อประเมินความคงตัวของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวจากชาเมี่ยง ผักและสมุนไพรอินทรีย์ระหว่างการเก็บรักษา
เพื่อทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวจากชาเมี่ยง ผักและสมุนไพรอินทรีย์ต้นแบบ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผักและสมุนไพรอินทรีย์เสริมสารต้านออกซิเดชันและสารจับโลหะทรานซิชัน
KPI 1 : ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผักและสมุนไพรอินทรีย์เสริมสารต้านออกซิเดชันและสารจับโลหะทรานซิชัน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 2 : องค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผักและสมุนไพรอินทรีย์เสริมสารต้านออกซิเดชันและสารจับโลหะทรานซิชัน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 3 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผักและสมุนไพรอินทรีย์เสริมสารต้านออกซิเดชันและสารจับโลหะทรานซิชัน
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบผงโรยข้าวผักและสมุนไพรอินทรีย์เสริมสารต้านออกซิเดชันและสารจับโลหะทรานซิชัน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มธุรส  ชัยหาญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมา ในวงเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 30,000.00 บาท 10,000.00 บาท 20,000.00 บาท 70,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 130,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
30,000.00 บาท 50,000.00 บาท 30,000.00 บาท 20,000.00 บาท 130,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล