17545 : การพัฒนานวัตกรรมการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และอาหารเสริมสุขภาพจากกล้วยไม้ไทยเอื้องคำ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ดร.ณิชมน ธรรมรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/11/2564 22:05:44
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  แนวทางการนำผลงานไปใช้ประโยชน์มี 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) เกษตรรายย่อย 2) วิสาหกิจชุมชนหรือชุมชน และ 3) ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการของตลาด มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และความพร้อมของผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วย ดังนี้ 1. หมู่บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 2. วิสาหกิจชุมชนตาดปลาแคมป์ออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ (รหัสทะเบียน :6-50-07-05/1-0034) 3. Deva Orchids & Precious Herbs (สวนเทวากล้วยไม้และสมุนไพรมีค่า) 127 หมู่ 3 ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 980,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และอาหารเสริมสุขภาพจากกล้วยไม้ไทย ซึ่งเป็นพืชอนุรักษ์ หนึ่งในเก้าชนิดภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยในปีงบประมาณ 2565 จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับกล้วยไม้ชนิดเอื้องคำ (Dendrobium chrysotoxum) ซึ่งเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยยาวรี รูปกระสวย กลางลำอ้วนกว่าโคนและปลาย ยาว 15-30 ซม. ขึ้นชิดกันเป็นกอ ผิวเป็นร่องตาม ยาวตื้นๆ ใบ มี 2-6 ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 8-15 ซม. แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ปลายหยักมน โคนเป็นกาบ เรียงตัวเวียนสลับใกล้ยอด ดอกสีเหลืองทอง ออกเป็นช่อใกล้ปลายยอด ยาว 15-20 ซม. ดอกบานกว้าง 2.5-3 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมขอบขนาน กลีบดอกรูปไข่กลับ กลีบปาก แผ่เป็นแผ่นเกือบกลม มีขนนุ่มปกคลุม กลางกลีบสีเหลืองเข้ม ขอบกลีบหยักเป็นฝอยละเอียดและบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เขตการกระจายพันธุ์ พบในประเทศอินเดีย จีน พม่า ลาว เวียดนามและในประเทศไทย พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลางและภาคใต้ ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน เอื้องคำ นอกจากมีความสำคัญด้านไม้ดอกไม้ประดับแล้ว ในแต่ละปีมีความต้องการผลผลิตจากเอื้องคำเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นวัตถุดิบทางสมุนไพรจีน โดยดอกและลำลูกกล้วยแห้งของเอื้องคำใช้ชงเป็นชาดื่มเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุลของหยินและหยาง กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) มีสรรพคุณช่วยให้ผิวชุ่มชื้น บำรุงผิว และป้องกันความแห้งกร้านของผิวที่ไม่สม่ำเสมอ ปัจจุบันมีการนำกล้วยไม้มาใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรมากขึ้นเนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่าง ๆ คือ มีสารที่มีหมู่ phenol ในโครงสร้างเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น สารกลุ่ม bibenzyl (batatasin, chrysotoxine, crepidatin, dendrofalconerol, fluorenone, gigantol, moscatilin, phenanthrene) มีสารกลุ่ม alkaloids, flavonoids, carotenoid และ phytosterols สาร moscatilin มีฤทธิ์ทางชีวภาพหลายอย่าง คือ ฤทธิ์ต้านการเจริญของเนื้องอกหรือมะเร็ง (antitumor) ฤทธิ์ต้านการเจริญของหลอดเลือด (anti-angiogenic) ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation) ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ (antioxidant) งานวิจัยของ H. Yang et al. (2002) ได้ทำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของเอื้องคำ (Dendrobium chrysotoxum) โดยแยกองค์ประกอบด้วยวิธี column chromatography พบ 4 สาร คือ 2,4,7-trihydroxy-9, 10-dihydrophenanthrene (I), 2, 7-dihydroxy-3, 4, 6-trimethoxy-phenanthrene (II), 5, 4′-dihydroxy -3,3′- dimethoxydibenzyl (III), 3, 4-dihydroxybenzoic acid (IV). งานวิจัยของ Jiang-Miao Hu (2012) พบสารกลุ่ม phenanthrenes ใหม่ 2 ชนิด จากส่วนของลำต้นเอื้องคำ (Dendrobium chrysotoxum) คือ chrysotoxols A และ chrysotoxols B และสารอีก 24 ชนิดที่รู้จักกันดีแล้ว นอกจากนี้ยังได้ศึกษาฤทธิ์ cytotoxic activity พบว่า Compound 2 และ six known phenols มีฤทธิ์ cytotoxic activity against กับเซลล์ human tumor cell lines (A549 and HL-60) สาร Erianin เป็นอนุพันธ์ของ bibenzyl แยกมาจากการสกัดส่วนลำต้นของเอื้องคำ (Dendrobium chrysotoxum) ด้วย 95% เอทานอล และ เอทาโนลิค แล้วแยกด้วยคอลัมน์ซิลิกาเจล โดยใช้ปิโตรเลียมอีเธอร์-คลอโรฟอร์ม (6:4 v:v) เป็นตัวชะแบบเกรเดียน เป็นที่ทราบกันดีว่ากล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) มีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้ง antiangiogenic, immunomodulating, เบาหวาน, cataractogenesis-inhibiting, ระบบประสาท (neuroprotective), hepatoprotective, ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory), การรวมตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelet aggregation), ฤทธิ์ต้านเชื้อรา (antifungal), ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย (antibacterial), antiherpetic, ฤทธิ์ต้านมาลาเรีย (antimalarial), aquaporin-5 stimulating และ hemagglutinating และนอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพลำไส้ใหญ่ และบรรเทาอาการของ hyperthyroidism (Jaime A. Teixeira da Silva, 2017) กล้วยไม้สกุลหวายมีสรรพคุณทางยามากมายโดยเฉพาะในการแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese medicine: TCM) เช่น D. officinale Kimura et Migo มีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ tie-pi-shi-hu โดยเฉพาะลำต้นและใบที่อุดมไปด้วย polysaccharides ซึ่งสารแมนแนน (mannan) ที่อยู่ในนั้นนำมาใช้เป็นยา และมีราคาในตลาดสูงถึงกิโลกรัมละ 3000 US$ (Xing et al. 2013) สารที่พบในพืชสกุลหวายมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย รวมทั้งฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง เช่น erianin, densiflorin และ denchrysan A จาก D. chrysotoxum (Li et al, 2001 and Chen et al, 2008) Erianin จาก D. chrysotoxum ชะลอการเจริญเติบโตใน xenografted melanoma A375 และ เซลล์ตับในมนุษย์ human hepatoma Bel7402 (Gong et al., 2004). Erianin จาก D. chrysotoxum ยังมีศักยภาพที่ประจักษ์กับมะเร็งผิวหนัง (against melanoma), มะเร็งเม็ดเลือดขาว (promyelocytic leukemia) และมะเร็งตับ (hepatocarcinoma) จากการสัมผัสกับ erianin เซลล์ osteosarcoma แสดงการหยุด G2/M phase และการตายแบบ apoptosis และ pathway การส่งสัญญาณของ autophagy via the reactive oxygen species/c-Jun Nterminal kinase (JNK) (Wang et al., 2016). ยาจีน Chinese materia medica (CMM) กล้วยไม้เอื้องคำ (Dendrobium chrysotoxum Lindl.) ในตำรับยาจีน Chinese materia medica (CMM) เรียกว่า endrobii Caulis มีชื่อพื้นถิ่นว่า Shihu มีสรรพคุณช่วยส่งเสริม บำรุงการทำงานของกระเพาะอาหาร, บำรุงหยิน และเป็นยาดับร้อน (Fang Tan et al., 2017) จากที่กล่าวมาข้างต้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้ให้ความสำคัญกับกล้วยไม้ชนิดเอื้องคำที่มีสรรพคุณทางยาในตำรับแพทย์แผนจีน โดยเริ่มต้นจากการศึกษานิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพในสภาพธรรมชาติ และสภาพกึ่งธรรมชาติในโรงเรือนปลูกเลี้ยงของชมรมอนุรักษ์ฟ้ามุ่ยบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แล้วจึงนำต้นพันธุ์และฝักบางส่วนมาขยายพันธุ์ด้วยเทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป อีกทั้งทางโครงการได้มีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากล้วยไม้เอื้องคำ ซึ่งมีบางส่วนที่ได้ทำไปแล้ว คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาจากเอื้องคำ โดยทำในรูปผลิตภัณฑ์ชาพร้อมดื่ม Golden Orchid Tea ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบและมีผลงานวิจัยรองรับ โดยดอกเอื้องคำจะปลูกเลี้ยงและดูแลในพื้นที่หมู่บ้านปงไคร้ โดยผู้ประกอบได้จ้างครอบครัวชนเผ่าดูแล มีผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิชาการเกษตรให้คำปรึกษาแนะนำ ที่ผ่านมาโครงการได้ทำให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาและผลิตต้นกล้วยไม้ โดยมีเทคโนโลยีในการขยายพันธุ์ที่ทันสมัย มีนวัตกรรม และสมาร์ทฟาร์มที่ช่วยในการผลิตต้นกล้วยไม้ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งทางโครงการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตต้น จึงมีนวัตกรรม ชุดปลูก ที่ช่วยลดการนำกล้วยไม้ออกจากป่า โดยให้ประชาชนสามารถปลูกกล้วยไม้ที่ขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ พร้อมบอกวิธีการออกปลูกที่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของกล้วยไม้และช่วยกันอนุรักษ์ให้อยู่ในถิ่นอาศัยอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของการขยายพันธุ์เอื้องคำด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวในระยะเพิ่มปริมาณต้นและระยะชักนำให้ออกราก
เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโรงเรือนโดยใช้เทคโนโลยีแสง LED ที่เหมาะสมกระตุ้นและเร่งให้ต้นกล้วยไม้เอื้องคำเจริญเติบโตและสร้างสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ (secondary metabolite)
เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีของดอกเอื้องคำและลำต้นกล้วยไม้เอื้องคำที่ได้จากการสกัดตัวอย่างสด กับสารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีที่ได้จากการสกัดตัวอย่างดอกและลำต้นอบแห้ง และการสกัดน้ำมันหอมระเหย (essential oil)
เพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องสำอางจากกล้วยไม้เอื้องคำ
เพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยไม้เอื้องคำ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การบริหารจัดการงานส่วนกลาง
KPI 1 : องค์ความรู้ที่ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 3 : เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 เล่ม 10
KPI 4 : การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละความสำเร็จของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ปัจจัยการขยายพันธุ์เอื้องคำในระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราว
KPI 1 : สภาวะที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์เอื้องคำด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 2 : ร้อยละของบุคคลที่เข้าร่วมการถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยีสามารถมีความรู้ความเข้าใจในระดับดีขึ้นไป
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
ผลผลิต : ปัจจัยที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ชนิดเอื้องคำ โดยใช้เทคโนโลยีแสง LED ในระบบโรงเรือน
KPI 1 : ร้อยละความสำเร็จของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : องค์ความรู้เกี่ยวกับสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เอื้องคำ ภายใต้ระบบแสง LED
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
ผลผลิต : สารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีของกล้วยไม้เอื้องคำ
KPI 1 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
KPI 2 : ร้อยละของบุคคลที่เข้าร่วมการถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยีสามารถมีความรู้ความเข้าใจในระดับดีขึ้นไป
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ข้อมูลสารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีของดอกและลำลูกกล้วยของกล้วยไม้เอื้องคำ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
ผลผลิต : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากกล้วยไม้เอื้องคำ
KPI 1 : บทความทางวิชาการ – วารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 2 : ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้นแบบผลิตภัณฑ์ – ระดับอุตสาหกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 3 : จำนวนบุคคลที่เข้าร่วมการถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 4 : ร้อยละของบุคคลที่เข้าร่วมการถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยีสามารถมีความรู้ความเข้าใจในระดับดีขึ้นไป
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย - นวัตกรรมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้นแบบกล้วยไม้เอื้องคำ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การบริหารจัดการงานส่วนกลาง
ชื่อกิจกรรม :
การบริหารจัดการงานส่วนกลาง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการผู้ประสานงานโครงการ (1 คน x 15,000 บาท x 10 เดือน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 150,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์เล่มรายงานประจำปี ในวงเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 42,120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 42,120.00 บาท 0.00 บาท 42,120.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 197120.00
ชื่อกิจกรรม :
การจัดประชุมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการวิสาหกิจและชุมชนที่สนใจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (1 วัน x 2 มื้อ x 30 บาท x 20 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (1 วัน x 1 มื้อ x 80 บาท x 20 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (2 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6400.00
ผลผลิต : ปัจจัยการขยายพันธุ์เอื้องคำในระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราว
ชื่อกิจกรรม :
สภาวะที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์เอื้องคำด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ภูมิสุทธาผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (3 คน x 200 บาท x 120 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,200.00 บาท 25,200.00 บาท 23,400.00 บาท 16,200.00 บาท 72,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 122,120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 72,120.00 บาท 0.00 บาท 122,120.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 194120.00
ชื่อกิจกรรม :
สรุปและรายงานผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ภูมิสุทธาผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ผลผลิต : ปัจจัยที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตและปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ชนิดเอื้องคำ โดยใช้เทคโนโลยีแสง LED ในระบบโรงเรือน
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตของกล้วยไม้ชนิดเอื้องคำ โดยใช้เทคโนโลยีแสง LED ในระบบโรงเรือน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการคนงาน (1 คน x 7,500 บาท x 10 เดือน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,500.00 บาท 22,500.00 บาท 22,500.00 บาท 22,500.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (2 คน x 200 บาท x 120 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,800.00 บาท 16,800.00 บาท 15,600.00 บาท 10,800.00 บาท 48,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 71,120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 35,560.00 บาท 35,560.00 บาท 0.00 บาท 71,120.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 194120.00
ผลผลิต : สารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีของกล้วยไม้เอื้องคำ
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาการจัดการและเตรียมตัวอย่างดอกเอื้องคำและลำลูกกล้วยเพื่อนำไปสกัดสารเมแทบอไลต์ ตลอดจนวิเคราะห์ตัวอย่างสารสกัดจากดอกและลำลูกกล้วย และวัดปริมาณสารสำคัญด้วยวิธีกราฟมาตรฐาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพปภา  พิสิษฐ์กุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ชมัยพร  นิธิกาจณ์พานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.รัฐพร  จันทร์เดช (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารวี  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการ ในวงเงิน 35,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 15,000.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (2 คน x 30 บาท/ชั่วโมง x 240 ชั่วโมง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,200.00 บาท 2,200.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 144,720 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
40,000.00 บาท 60,600.00 บาท 44,120.00 บาท 0.00 บาท 144,720.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 194120.00
ผลผลิต : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากกล้วยไม้เอื้องคำ
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาสภาวะการสกัดสารสกัดหยาบจากเอื้องคำด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2564 - 31/01/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.รุ่งทิพย์  กาวารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการ ในวงเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (3 คน x 200 บาท x 10 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 26000.00
ชื่อกิจกรรม :
การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดหยาบ และทดสอบสารออกฤทธิ์ของสารสำคัญในสารสกัดหยาบ ในระดับห้องปฏิบัติการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2565 - 30/04/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.รุ่งทิพย์  กาวารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการ ในวงเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 48,824 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 48,824.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,824.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 57824.00
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางพื้น โดยทดสอบค่าการละลายของสารออกฤทธิ์ในตำรับ, ทดสอบค่าการคงตัว, ทดสอบความไม่เข้ากันกับสารอื่น ๆ ประเมินตำรับโดยทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ โดยทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ, ความชุ่มชื้นผิว, ความนุ่มลื่น, ทดสอบการซึมเข้าสู่ผิวหนังของสารออกฤทธิ์ และการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.รุ่งทิพย์  กาวารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการ ในวงเงิน 40,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 70,296 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 70,296.00 บาท 0.00 บาท 70,296.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 110296.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล