17529 : โครงการ "จัดทำระบบสื่อความหมายเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ ณ ทองแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/11/2564 10:17:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
31/10/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  1. พื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ -ชุมพร: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ประกอบด้วย พันธุกรรมเสม็ดแดง เสม็ดขาวและผลิตภัณฑ์ พันธุกรรมไผ่ และ พันธุกรรมต้นเคี่ยม ธนาคารปูม้า รวมถึงพื้นที่เชื่อมโยงซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเรือใบพื้นบ้านอำเภอละแม จังหวัดชุมพร และ 2. เครือข่ายภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาครัฐ NGOs สื่อสารมวลชนและภาคเอกชน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากจากงบสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2565 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.6 ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.3 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 39. ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ ที่ผ่านมาประชาชนทั่วไปทราบถึงสรรพคุณของพืชพรรณที่มีการอนุรักษ์พันธุกรรมแต่การรับรู้ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ส่งผลให้พืชหายากบางชนิดถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยเหตุนี้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) จึงมีกรอบการดำเนินงาน 1) เรียนรู้ทรัพยากรโดยพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและบริหารจัดการปกปักทรัพยากรของประเทศ มุ่งเน้นการรักษาพันธุกรรมดั้งเดิม สำรวจเพื่อเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช และต่อยอดด้วยการปลูกขยายพันธุกรรมพืช ที่ผ่านมา พื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีการดำเนินโครงการเพื่อรักษาและพัฒนาพันธุกรรมพืชที่มีความโดดเด่นและหลากหลายจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากต้นเสม็ดขาว เสม็ดแดง กล้วยหอมทอง พันธุกรรมไผ่ และธนาคารปูม้า เป็นต้น แสดงให้เห็นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพันธุ์พืช รวมถึงมีการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่บูรณาการความรู้สหวิชาการ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว เทคโนโลยีการผลิตพืช การประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านสุขภาวะเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ ถือเป็นรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่โดยสร้างคุณค่าฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ การจัดทำระบบสื่อความหมายในบริบทของการท่องเที่ยว ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำศิลปะด้านการสื่อสารมานำเสนอเรื่องราวกระตุ้นความสนใจให้นักท่องเที่ยวมีความรู้ และความเพลิดเพลิน ตระหนักในคุณค่า และเห็นความสำคัญของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในกรณีพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ถือเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าในสินค้าและบริการ ตลอดจนการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ดังนั้น กรอบการดำเนินโครงการจัดทำระบบสื่อความหมายเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรเพื่อการท่องเที่ยว มีกรอบแนวคิด 1) สำรวจทรัพยากรพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เด่นในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา 2) จัดทำเรื่องราวความสัมพันธ์ของแต่ละพันธุกรรมพืช ทั้งรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร ประมง และการท่องเที่ยว ที่แสดงให้เห็นกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และ 3) เชื่อมโยงเส้นทางการรักษาพันธุกรรมดั้งเดิมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ให้มีความน่าสนใจและมีรูปแบบการต่อยอดด้วยกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เช่น การปลูกและรักษาพันธุกรรมพืช หรือการสร้างแรงจูงใจหรือจุดขายทางการท่องเที่ยวที่สนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
เพื่อสำรวจทรัพยากรพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เด่นของแต่ละพันธุกรรมพืชที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร ประมง และการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
เพื่อจัดทำระบบสื่อความหมายแบบ 2 มิติ (QR-Code) นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ของแต่ละพันธุกรรมพืชที่ และแนวทางจัดภูมิทัศน์เส้นทางท่องเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้และพื้นที่เชื่อมโยงอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
เพื่อจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางพันธุกรรมดั้งเดิมและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจแบบวงรอบภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้และพื้นที่เชื่อมโยงอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ระบบสื่อความหมายที่ใช้เทคโนโลยีบาร์โค๊ดสองมิติ (QR code) และคู่มือสื่อความหมายออนไลน์ (online) แผนที่แสดงจุดท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวแบบวงรอบภายในมหาวิทยาลัย โปรแกรมท่องเที่ยวและแผนออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว
KPI 1 : จำนวนครั้งในการจัดประชุม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ครั้ง 3
KPI 2 : ร้อยละของแหล่งเรียนรู้ที่มีระดับความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยวระดับดีขึ้นไป
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : แผนเส้นทางท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 เส้นทาง 3
KPI 4 : จำนวนเส้นทางท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 เส้นทาง 3
KPI 5 : จำนวนสถานีสื่อความหมาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
12 สถานี 12
KPI 6 : บูรณาการกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการพระราชดำริ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 ร้อยละ 60
KPI 7 : จำนวนโปรแกรมการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุด 1
KPI 8 : บูรณาการร่วมกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเรือใบพื้นบ้านอำเภอละแม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ร้อยละ 30
KPI 9 : ร้อยละของการนำเนื้อหาโครงการมาใช้ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 ร้อยละ 40
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ระบบสื่อความหมายที่ใช้เทคโนโลยีบาร์โค๊ดสองมิติ (QR code) และคู่มือสื่อความหมายออนไลน์ (online) แผนที่แสดงจุดท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวแบบวงรอบภายในมหาวิทยาลัย โปรแกรมท่องเที่ยวและแผนออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว
ชื่อกิจกรรม :
1.สำรวจทรัพยากรพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เด่น และสร้างเรื่องราวความสัมพันธ์ของแต่ละพันธุกรรมพืช

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3 ครั้งๆ ละ 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 22 วันๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 55,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 30 ชุด ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 10 เล่ม ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 84,200.00 บาท 84,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกาลูกลื่น ฯลฯ เป็นเงิน15,740 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ เป็นเงิน 10,160 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,900.00 บาท 25,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 110100.00
ชื่อกิจกรรม :
การกำหนดสถานีสื่อความหมายที่เหมาะสมกับพันธุกรรมพืช การดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และเรื่องราวสื่อความหมายในแต่ละเส้นทางย่อยของพื้นที่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2565 - 30/06/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์อุทัยวรรณ  ศรีวิชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อความหมายผสมระบบสารสนเทศที่มีเนื้อหาท่องเที่ยว (story telling) จำนวน 12 แผ่น ๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายสื่อความหมาย QR code พร้อมติดตั้ง จำนวน 12 ชุด ๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำแผนที่แสดงจุดท่องเที่ยว และออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยว จำนวน 1 งาน ๆ ละ 2,800 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60400.00
ชื่อกิจกรรม :
โปรแกรมท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้และพื้นที่เชื่อมโยง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล  พิมลรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้และพื้นที่เชื่อมโยง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 3 เส้นทางๆ ละ 4,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
- ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 3 เส้นทาง จำนวน 1 คันๆ ละ ุ5 วัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 24,500.00 บาท 0.00 บาท 24,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 29500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวนแหล่งเรียนรู้พันธุกรรมพืชไม่ครบตามเป้าหมายที่กำหนด กรณีจุดท่องเที่ยวนั้นมีระดับศักยภาพต่ำในการสร้างรูปแบบการสื่อความหมายเพื่อการท่องเที่ยว สภาพอากาศอาจไม่อำนวยต่อการศึกษาในบางตัวชี้วัด เวลาของคณะทำงานและแกนนำเครือข่ายในพื้นที่ไม่ตรงกันตามเป้าหมายที่กำหนดขึ้น ส่งผลให้เวลาโดยภาพรวมของการสำรวจคลาดเคลื่อนจากเดิม งบประมาณของโครงการอาจไม่เพียงพอต่อการพัฒนาในบางพื้นที่ งบประมาณของโครงการอาจไม่เพียงพอต่อการออกแบบ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เลือกแหล่งเรียนรู้พันธุกรรมพืชที่มีระดับศักยภาพปานกลาง-สูง ใช้กลยุทธ์การประสานทุกทางทั้งแกนนำและสมาชิกเก่าและใหม่ในเรื่องเวลาให้ชัดเจน งบประมาณของโครงการอาจไม่เพียงพอต่อการพัฒนาในบางพื้นที่ งบประมาณของโครงการอาจไม่เพียงพอต่อการออกแบบ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา กบ 335 ภูมิศาสตร์และการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยว หัวข้อเครื่องมือจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยการใช้ระบบสื่อความหมาย ปีการศึกษา 2565
ช่วงเวลา : 01/01/2565 - 31/08/2565
ตัวชี้วัด
2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ฟื้นฟูและอนุรักษ์กิจกรรมเรือใบพื้นบ้านละแม
ช่วงเวลา : 01/01/2565 - 31/08/2565
ตัวชี้วัด
สมศ 10 การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานวิจัย
การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ช่วงเวลา : 01/08/2565 - 31/12/2565
ตัวชี้วัด
7.2 การพัฒนามหาวิทยาลัย สู่มหาวิทยาลัยเรียนรู้
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล