17528 : โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมไผ่อย่างบูรณาการ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/11/2564 15:14:52
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  - จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ - จำนวนผู้เข้าร่วมเสวนา/ศึกษาดูงาน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการสนองพระราชดำริ 2565 400,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
อาจารย์ ดร. พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.4 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขตEco Community & Tourism
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.10 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.4.3 สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.6 เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างเต็มรูปแบบ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของโลก (Digital University)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.13 ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.6.3 พัฒนาฟาร์มอินทรีย์ต้นแบบที่มีความทันสมัย รวมทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องจักรต่างๆ ที่ใช้ภายในฟาร์ม
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.3 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขต Eco Community & Tourism
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 4. สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 1.5 เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างเต็มรูปแบบ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของโลก (Digital University)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:1.5.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 6. เพื่อพัฒนาฟาร์มอินทรีย์ต้นแบบที่มีความทันสมัยรวมมั้งเทคโนโลยีนวัตกรรม และเครื่องจักรต่างๆ ที่ใช้ภายในฟาร์ม
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.3 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 39. ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมไผ่อย่างบูรณาการ สอดคล้องกับการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวทางพระราชดำรัส อ้างอิงจากเว็บไซต์ มูลนิธิชัยพัฒนา มีดังต่อไปนี้ ...การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย... ...การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ... ไผ่ เป็นพืชที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนได้ในหลากหลายมิติ ปัจจุบัน “ไผ่” มีความสำคัญต่อสังคมเกษตรระดับชาติและนานาชาติ การปลูกสร้างสวนไผ่ และการพัฒนาไผ่อย่างครบวงจร เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่เตรียมป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมระดับโลกกำลังได้รับความนิยม ไผ่ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวทำหน้าที่ฟอกอากาศได้อีกด้วย หลายประเทศให้ความสำคัญกับไผ่อย่างมาก เช่น ประเทศจีน ใช้ไผ่พัฒนาประเทศอย่างบูรณาการ ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562) ประเทศไทยส่งเสริมการปลูกไผ่บนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมทางภาคเหนือ ทดแทนและลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างป่าถาวร สร้างระบบวนเกษตร สร้างรายได้ให้ประชาชน มีโรงงานแปรรูปไผ่ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดการไผ่ตั้งแต่ “ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ” (แม่แจ่มโมเดล) ไผ่เป็นพืชที่อยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์มานาน มีการใช้ประโยชน์จากไผ่ในหลายรูปแบบ ทั่วโลกมีไผ่ประมาณ 75 สกุล 1,250 ชนิด ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมกับการกระจายพันธุ์และการเจริญเติบโตของไผ่ จากการสำรวจ ชนิดพันธุ์ไผ่ในประเทศไทยพบว่า มีจำนวน 17 สกุล (genera) 72 ชนิด (species) (สราวุธ สังข์แก้ว, 2553) กระจารยอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบมากในป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ไผ่ที่รู้จักกันดีเช่น ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซาง (ซางหม่น ซางนวล) ไผ่บงหวาน ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ตากวาง และ ไผ่ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไผ่ชนิดพันธุ์ต่างประเทศที่สามารถเติบโตในภูมิอากาศของประเทศไทยได้มาปลูกเป็นไผ่เศรษฐกิจ เช่น ไผ่ดำอินโด ไผ่กิมซุง ไผ่เก้าดาว เป็นต้น คนไทยมีความผูกพันธุ์กับไผ่มาอย่างช้านาน จะเห็นได้ว่าใช้ไม้ไผ่มาสร้างบ้าน ทำเสาบ้าน และฝากสับ นำไม้ไผ่มาจักรสานข้าวของเครื่องใช้ต่างๆในครัวเรือน นำหน่อมาเป็นอาหาร ใช้ในรูปแบบหน่อสดและดองเพื่อถนอมอาหารไว้กินนอกฤดู ใช้ไม้ไผ่เพื่อการเกษตร ทำค้างผัก ทำพะอง ทำคอกสัตว์ ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ไผ่คือพืชที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย อย่างไรก็ดีพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆเช่น ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน กำลังรุกรานพื้นที่ไผ่ จนทำให้ไผ่บางชนิดกำลังจะสูญหายไปจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอนุรักษ์ไผ่ไว้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดให้การขับเคลื่อนเรื่องไผ่เป็นพืชในยุทธศาสตร์หนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์ไผ่ไว้บ้างแล้วจำนวนหนึ่ง โดยการสนับสนุนของชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ ตลอดจนเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกไผ่ในท้องถิ่นภาคใต้ อีกทั้งยังมีกลุ่มผู้จำหน่ายพันธุ์ไผ่ รวมตัวจัดกิจกรรมปลูกไผ่ และเสวนาพูดคุยเกี่ยวกับไผ่ ณ แปลงโครงการไผ่เพื่อน้อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมานั้นทำให้เห็นว่าหากมีการบูรณาการร่วมมือของส่วนต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ไผ่ และการจัดการไผ่อย่างมีระบบ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและกลุ่มคนที่สนใจไผ่ จึงจะส่งผลประโยชน์โดยแท้จริง (ภาพประกอบการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับไผ่) อย่างไรก็ดีในการจัดการสวนไผ่ นอกจากการคัดเลือกสายพันธุ์ไผ่ที่ดีแล้ว การดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไผ่เจริญได้ดี ทั้งนี้ ไผ่สามารถเจริญได้ดีในที่ราบหรือที่ราบเชิงเขาที่มีดินปนทราย มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง ซึ่งถ้าน้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะทำให้ไผ่ชะงักการเจริญเติบโตถึงตายได้ โดยเฉพาะไผ่ที่เริมปลูกใหม่ๆ หรือหากน้ำไม่เพียงพอ ไผ่ก็ไม่สามารถผลิตหน่อได้ เช่น ไผ่ตง ต้องการน้ำประมาณ 120 ลิตร/วัน หรือ 6 ปี๊บ/กอ/วัน ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการคำนึงถึงการให้น้ำแบบอัตโนมัติ เนื่องจากความชื้นในดินมีผลต่อการเจริญ และการพัฒนาของตาเหง้า ประกอบกับการใช้ไฟฟ้าพลังงานโซลาร์เซลล์ หรือพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการให้น้ำแบบอัตโนมัติต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่ในท้องถิ่นภาคใต้และไผ่ต่างถิ่น
เพื่อจัดกิจกรรมเสวนาการอนุรักษ์ไผ่ไทย
เพื่อให้ระบบบริหารจัดการสวนไผ่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานองค์ความรู้และนวัตกรรม การให้น้ำแบบอัตโนมัติ และการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : รวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่คืนวิถีชีวิตไทยให้ชุมชน
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมเสวนา/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 2 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : การจัดการระบบให้น้ำแบบอัตโนมัติและโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในแปลงรวบรวมสายพันธุ์ไผ่
KPI 1 : ร้อยละของอัตราการรอดของไผ่ที่ปลูกในโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเสวนาการอนุรักษ์ไผ่ไทย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละความความพึงพอใจต่อระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : รวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่คืนวิถีชีวิตไทยให้ชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
รวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่คืนวิถีชีวิตไทยให้ชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตร จำนวน 100 วันๆละ 300 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำโรอัฟ จำนวน 5 ชิ้นๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเตรียมแปลงปลูกรวบรวมพันธุ์ไผ่ จำนวน 2 ไร่ๆละ 32,250 บาท เป็นเงิน 64,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 64,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 64,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตสารคดีไผ่ท้องถิ่นในในจังหวัดชุมพร จำนวน 1 เรื่องๆ 2 ตอนๆละ 16,440 บาท
เป็นเงิน 32,880 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 32,880.00 บาท 0.00 บาท 32,880.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ต้นพันธุ์ไผ่ มูลโค ดินปลูก เลื่อย กรรไกรแต่งกิ่ง ฯลฯ เป็นเงิน 56,720 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 56,720.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 56,720.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
ผลผลิต : การจัดการระบบให้น้ำแบบอัตโนมัติและโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในแปลงรวบรวมสายพันธุ์ไผ่
ชื่อกิจกรรม :
การจัดการระบบให้น้ำแบบอัตโนมัติและโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในแปลงรวบรวมสายพันธุ์ไผ่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาวางระบบท่อน้ำพร้อมติดปริงเกอร์ จำนวน 1 ไร่ๆละ 42,500 บาท เป็นเงิน 42,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 42,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 42,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาปรับภูมิทัศน์ จำนวน 2 ไร่ๆละ 35,000 บาท เป็นเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 70,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาขุดลอกสระน้ำ จำนวน 2 สระๆละ 35,000 บาท เป็นเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 70,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตป้ายชื่อโครงการ จำนวน 2 ป้ายๆ 5,000 เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาแปรรูปไม้กระถินเทพา จำนวน 3 ยกๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อาจทำให้การเสวนาไม่สามารถทำได้ในรูปแบบ Onsite
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
จัดกิจกรรมการเสวนาแบบออนไซด์ เพราะสถานการณ์โควิดไม่ระบาดรุนแรง มีการปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่าง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การจัดการสวนไผ่
ช่วงเวลา : 01/01/2565 - 31/08/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล