17527 : โครงการ "เส้นทางศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในจังหวัดชุมพร"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/2/2565 16:45:54
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
12/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษา นักเรียน กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป รวมจำนวน 30 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2565 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.4 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.1 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 37. พัฒนาองค์ความรู้และผลักดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.2 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 38. ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.4 ชุมชนที่ได้รับการยกระดับจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 40. ผลักดันให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี/ให้บริการวิชาการจากมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เสม็ดแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum จัดอยู่ในวงศ์ Myrtaceae ในแต่ละท้องถิ่นมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ไคร้เม็ด (เชียงใหม่) เม็ก (ปราจีนบุรี) เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) เสม็ด (สกลนคร) เสม็ดเขา เสม็ดแดง (ตราด) เสม็ดชุน (ภาคกลาง) สำหรับลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน ผล กลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผล เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ส่วนที่ใช้ ได้แก่ ใบสด สำหรับสรรพคุณและวิธีใช้ มีดังนี้ ใช้ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, มปป.) ตำรายาไทย ใช้เปลือกต้มทาลมพิษหรือแก้พิษน้ำเกลี้ยง ใบแก่ใช้ตำพอกแก้ฟกช้ำ ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา แก้ผิดสำแดง ยอดอ่อน รับประทานสด ขับลม (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, มปป.; ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2553) ปลูกในสวนสมุนไพรหรือให้ร่มเงาในบ้าน โดยยอดอ่อน ลวกหรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบใช้รับประทานกับน้ำพริก ขนมจีนหรือข้าวยำ ตำพอกแก้เคล็ดขัดยอกฟกบวม (https://th.wikipedia.org/wiki/) น้ำมันจากใบ มีกลิ่นคล้ายการบูร ใช้นวดแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม แก้หมัด เหา ชุบสำลีอุดฟันแก้ปวดฟัน (http://www.natres.psu.ac.th/) คุณค่าทางอาหาร ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม พบว่า ผักเม็กหรือเสม็ดแดง ให้แคลอรี่สูงถึง 72 หน่วย สูงกว่าผักหวานป่า (39 หน่วย) ชะมวง (51 หน่วย) ผักกูด (19 หน่วย) มะกอกป่า (46 หน่วยแคลอรี) และเสม็ดแดงให้โปรตีน 3.0 กรัม สูงกว่า ผักหวานป่า ชะมวง ผักกูด มะกอกป่า สำหรับการวิเคราะห์วิตามิน B2 พบว่า ผักเสม็ดแดงให้วิตามิน B2 สูงกว่าชะมวง ผักกูด ใบมะม่วงหิมพานต์ และมะกอกป่า นอกจากนี้ยังมี ไนอาซีนสูงกว่าพืชผักพื้นบ้านหลายชนิด เช่น ชะมวง ผักกูด ใบมะม่วง หิมพานต์ เป็นต้น (กองโภชนาการ กรมอนามัย, 2535 อ้างโดย teerachon, 2557) ปัจจุบัน ต้นเสม็ดแดงในพื้นที่ป่าชุมชนเขตจังหวัดชุมพรและภาคใต้ตอนบน ได้ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพป่าธรรมชาติได้ลดลง มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ฯลฯ มีบ้านเรือนและโรงงานมากขึ้น มีการขุดล้อมต้นเสม็ดแดงไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เช่น ขุดล้อมไม้ใหญ่ไปใช้ตกแต่งสวนหย่อมเพราะทรงต้นมีทรงพุ่มสวยงาม และสีลำต้นมีสีแดงสวยงามแบบธรรมชาติ การปลูกขยายพันธุ์ทำได้ยาก เนื่องจากลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง มีปัญหาในการปักชำกิ่งได้ยาก ในธรรมชาติเมล็ดสามารถงอกได้แต่เติบโตได้ช้า มีแนวโน้มสูญหายทางพันธุกรรมจากแหล่งกำเนิดดั้งเดิมได้ในอนาคต จึงต้องสำรวจศึกษาและอนุรักษ์พันธุกรรมต้นเสม็ดแดงไว้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ดำเนินงานโครงการการอนุรักษ์พันธุกรรมและขยายพันธุ์ต้นเสม็ดแดงเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ (อพ.สธ.-แม่โจ้) ในปีงบประมาณ 2563 นั้น ได้สำรวจพบต้นเสม็ดแดงที่อยู่ในป่าอนุรักษ์ฯ มีปริมาณน้อย ดังนี้ จำนวนต้นเสม็ดแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นตั้งแต่ 5 ซม. ขึ้นไป มีจำนวน 62 ต้น ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น (วัดที่ค่า DBH) เท่ากับ 23.1 ซม. ข้อมูลลักษณะการเติบโตของลำต้น แบ่งได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ ลำต้นกลุ่ม M มี 12 ต้น คิดเป็น 19.4% และลำต้นแบบ S หรือลำต้นเดี่ยว มี 50 ต้น คิดเป็น 80.6% ของจำนวนต้นทั้งหมด สำหรับขนาดลำต้นของเสม็ดแดง แบ่งตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น (DBH) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มต้นขนาดเล็ก ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 5-10 ซม. คิดเป็น 5% (2) กลุ่มต้นขนาดกลาง ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 11-20 ซม. คิดเป็น 50% (3) กลุ่มต้นขนาดใหญ่ ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 21-30 ซม.คิดเป็น 26% (4) กลุ่มต้นขนาดใหญ่มาก มีความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ตั้งแต่ 31 ซม. ขึ้นไป คิดเป็น 19.4% จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ต้นเสม็ดแดงในป่าธรรมชาติในเขตจังหวัดชุมพรมีปริมาณน้อยลงไปเรื่อยๆ สำหรับต้นเสม็ดแดงที่เกิดอยู่ในเขตป่าชายหาดแห่งนี้ยังคงมีเหลืออยู่ในจำนวนหนึ่ง ดังนั้น หากมีการกำหนดแนวพื้นที่เขตอนุรักษ์ต้นพันธุ์เสม็ดแดงอันเป็นต้นหลัก ต้นเสม็ดที่มีอายุมากและมีความสูงมากเหล่านั้นไว้ในป่าอนุรักษ์ฯ ให้ชัดเจน ใช้เป็นสถานที่ศึกษาชีววิทยาและระบบนิเวศวิทยาป่าชายหาด ย่อมช่วยลดปัญหาการลักลอบขุดล้อมต้นเสม็ดแดงไปจำหน่ายได้และป้องกันการตัดแผ้วถางป่าเสม็ดเพื่อทำการเกษตรกรรมอื่น ช่วยคงสภาพและรักษาป่าเสม็ดแดงเพื่อรักษาระบบนิเวศตามธรรมชาติไว้ให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดทำเส้นทางศึกษาชีววิทยาของต้นเสม็ดแดงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมฯ มีการจัดทำป้ายสื่อความหมายที่ชัดเจน ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ต้นเสม็ดแดงที่มีชีวิต เพื่อใช้ศึกษาชีววิทยา ระบบนิเวศ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อการปกปักรักษาสภาพแวดล้อมของป่าเสม็ดแดงตามธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไป และยังเป็นการกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์เสม็ดแดง สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นแม่พันธุ์เสม็ดแดงเพื่อให้คงอยู่ในป่าตามสภาพธรรมชาติและมีการพัฒนาต่อยอดของชุมชนท้องถิ่นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อจัดทำเส้นทางสำรวจและศึกษาต้นเสม็ดแดงที่ได้ขึ้นทะเบียนพิกัดต้นพันธุ์เสม็ดแดงในป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืช จำนวน 1 แห่ง
เพื่อศึกษาสูตรผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเสม็ดแดง อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์
เพื่อจัดอบรมในรูปแบบออนไลน์เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องเส้นทางศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในจังหวัดชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เส้นทางสำรวจและศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดง
KPI 1 : จำนวนเส้นทางสำรวจและศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แห่ง 1
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 เปอร์เซ็นต์ 80
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเสม็ดแดง
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 เปอร์เซ็นต์ 80
KPI 2 : จำนวนผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
ผลผลิต : องค์ความรู้เรื่อง เส้นทางสำรวจและศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดงในจังหวัดชุมพร
KPI 1 : จำนวนครั้งในการจัดอบรมแบบออนไลน์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ครั้ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เส้นทางสำรวจและศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 จัดทำเส้นทางสำรวจและศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/02/2565 - 15/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายชื่อโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นป้ายสื่อความหมาย จำนวน 2 ป้ายๆละ 900 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเส้นทางสำรวจและศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดง จำนวน 1 งานๆละ 30,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำที่นั่งเพื่อใช้ในเส้นทางสำรวจและศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดง จำนวน 1 งานๆละ 26,000 บาท เป็นเงิน 26,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 26,000.00 บาท 0.00 บาท 26,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,500.00 บาท 2,500.00 บาท 9,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 68000.00
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเสม็ดแดง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 จัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเสม็ดแดง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/02/2565 - 15/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสติ๊กเกอร์ จำนวน 1 งานๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ขุยมะพร้าว มูลวัว เทปสายน้ำพุ่ง อีเอ็ม ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษA4, ปากกา, ดินสอ, แฟ้ม ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ซองใส่ชา กระดาษทิชชู มีด ถุงพลาสติกใส ฯลฯ เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27200.00
ผลผลิต : องค์ความรู้เรื่อง เส้นทางสำรวจและศึกษาชีววิทยาของเสม็ดแดงในจังหวัดชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมออนไลน์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/02/2565 - 15/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 1 คนๆ ละ 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 1,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 โครงการเสม็ดแดง 2565
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล