17523 : โครงการการจัดการเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประจำ ปีงบประมาณ 2565
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเกษราภรณ์ ทองสุก (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/11/2564 16:36:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  600  คน
รายละเอียด  นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวต่างชาติ,นักศึกษาไทย,บุคลากรในมหาวิทยาลัย, และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ห้างร้าน บริษัท หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณจากวิทยาลัยนานาชาติ แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง:แผนงานยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ผลผลิต:ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชนกองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) โครงการเส้นทางการท่องเที่ยว
2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. รดาพร  ทองมา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. วินิตรา  ลีละพัฒนา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.22 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.22 รายได้จากการให้บริการวิชาการ (อบรม ดูงาน ที่ปรึกษา วิทยากร ฯลฯ)
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลาการหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยม เพราะสามารถ ดำ รงไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดใจอย่างไม่เสื่อมคลาย และธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับปรุง คุณภาพให้ได้ผลกำ ไรอย่างเป็นธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนสม่ำ เสมออย่างเพียงพอ แต่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดอย่างยืนยาว (บุญเลิศ จิตตั้ง วัฒนา,2542 :11) ลักษณะการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีลักษณะสำ คัญอยู่ 6 ประการดังนี้ คือ 1.1 เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกแห่ง 1.2 เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว 1.3 เป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม 1.4 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและวัฒนธรรม 1.5 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยืนยาว 1.6 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น และคืนผลประโยชน์กลับสู่ทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น หลักการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน กล่าวใน อุษาวดี พูลพิพัฒน์ (2545 : 12) ว่ามีหลักการดังนี้ 2.1 การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable ) ทั้งในส่วนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม เป็นสิ่งสำ คัญและเน้นการทำ ธุรกิจในระยะยาว 2.2 การลดการบริโภคที่เกินความจำ เป็นและการลดของเสีย (Reducing Over-consumption and Waste) จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำ นุ บำ รุงสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำ ลายในระยะยาว และเป็นการเพิ่มคุณภาพของการท่องเที่ยวด้วย 2.3 การรักษาและส่งเสริมความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ (Maintaining Diversity ) สังคม และวัฒนธรรม จะช่วยขยายฐานของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต 2.4 การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning) เข้ากับกรอบแผนกลยุทธ์การพัฒนาแห่งชาติ การพัฒนา ท้องถิ่น และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะช่วยขยายศักยภาพการท่องเที่ยว 2.5 การท่องเที่ยวที่รองรับกิจกรรมในท้องถิ่น (Supporting Local Economic) โดยคำ นึงถึงราคาและพัฒนาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมไว้ ไม่ เพียงแต่ทำ ให้เกิดการประหยัด แต่ยังป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำ ลายอีกด้วย 2.6 เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น (Involving Local Communities) ในด้านการจัดการผลตอบแทนของประชาชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการจัดการการท่องเที่ยว 2.7 การประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ประชาชนท้องถิ่น องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง (Consulting Stakeholders and the Public) เพื่อลดข้อขัดแย้งและร่วมแก้ปัญหา 2.8 เป็นการฝึกอบรมบุคลากร (Training Staff ) โดยสอดแทรกแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแบบยั่งยืนแก่บุคลากรท้องถิ่นทุกๆระดับ เพื่อยกระดับการบริการการท่องเที่ยว 2.9 ข้อมูลข่าวสารที่สื่อให้กับนักท่องเที่ยว โดยมุ่งสร้างความเข้าใจในการเคารพต่อธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว (Marketing Tourism Responsibly) อีกทั้งเป็นการช่วยยกระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง 2.10 การวิจัยและติดตามผล (Undertaking Research) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำ เนินงาน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อ นำ ไปสู่แนวทางการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) มีหลักการที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งเป็นกระ แสความคิดหลักของโลกในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา และได้รับความสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable Development) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งหลักการโดยทั่วไปของการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ จะต้องมีการ อนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลายาวนาน และมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วน ใหญ่ รวมทั้งมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อนำ หลักการนี้มาปรับใช้กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงมีจุดเน้นที่สำ คัญดังนี้ (สารานุกรมไทยสำ หรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27) 1. จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลา ยาวนานจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่น ปัจจุบันเท่านั้น 2. ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 3. มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว 4. มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำ เสมอระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อการวางแผนงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม 5. มีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่แนวคิด การศึกษาวิจัย และความรู้เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ออกไปในหมู่ประชาชน ทั้งภายใน ประเทศและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด โดยคณะฯ ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการท่องเที่ยว ใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทางด้านการท่องเที่ยว โดยเน้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่ชุมชนในท้องที่โดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และในเขตภาคเหนือ โดยได้ส่งเสริมและสนับสนุนทุกวิถีทางให้ชุมชนในท้องถิ่นได้ ตระหนักถึงการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนภายในชุมชน โดยได้ส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษา ให้การสนับสนุนทางวิชาการ การทำ วิจัย การบริการ วิชาการให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตได้ได้วางแผนจะให้การท่องเที่ยวของชุมชนได้เข้าถึงและได้ใส่ใจในการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ACE) เช่นกัน แต่ทั้งนี้การที่จะเข้าถึงชุมชนได้ อย่างทั่วถึง และสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ วิทยาลัยนานาชาติจะ ต้องมีการเตรียมการ มีการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถให้ความรู้ที่ยั่งยืนแก่ผู้ขอรับ บริการ โดยผ่านหน่วยงานของวิทยาลัยนานาชาติ คือ สถานบริการฝึกอบรมและให้คำ ปรึกษาด้านการท่องเที่ยว (Tourism Training and Consulting Service Center)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้และฟาร์มมหาวิทยาลัย ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนอย่างยั่งยืน
2.เพื่อเสริมสร้างฐานเรียนรู้ด้านการเกษตรให้แข็งแกร่ง และมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว
3.เพื่อให้บริการความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษา ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ใน ภูมิภาคกลุ่มอาเซียน
4.เพื่อตอบสนองนโยบายในเชิงรุกของมหาวิทยาลัย ด้านการศึกษาทางการท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน+6
5.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริการวิชาการและก่อให้เกิดรายได้ของหน่วยงาน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ได้ให้บริการวิชาการด้านเส้นทางการท่องเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : จำนวนนักท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
600 คน 600
KPI 2 : ร้อยละของโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจที่มีต่อการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ได้ให้บริการวิชาการด้านเส้นทางการท่องเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
โครงการเส้นทางท่องเที่ยว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2564 - 30/10/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.รดาพร  ทองมา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 12 ครั้ง รวมเป็นเงินทั้งหมด 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาพนักงานขับรถ จำนวน 12 ครั้งๆ ละ 300 บาท 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 12 ครั้งๆ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุการเกษตร(ใช้ในฐานเรียนรู้) เช่น ค่าก้อนเห็ด,ค่าต้นกล้าข้าว,ดินผสม,ฟางอัด เป็นต้น จำนวน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล