17514 : โครงการแหล่งรวบรวมอนุรักษ์พืชสมุนไพรท้องถิ่นบ้านแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (65-2.6.5)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
น.ส.รุ้งทอง เขื่อนขัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/6/2566 2:30:45
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  เยาวชน เกษตรกร หมอยาพื้นบ้าน และชาวบ้านในชุมชนบ้านโปง บ้านแม่โจ้ และผู้สนใจทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน
แผนงานพื้นฐาน
แผนงานรอง : แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ผลผลิต : ผลการให้บริการวิชาการ
กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์
แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชม
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน
เงินอุดหนุนทั่วไป
เงินอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2565 96,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวนิตย์  ธาราฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.6 ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.7(64-68)-FAED การให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.20FAED65 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ FAED-2.7.1(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 2.8(64-68)-FAED การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ
ตัวชี้วัด 2.21FAED65 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.8.3(64-68) จัดทำฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.18FAED65 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ FAED-2.8.1(64-68) สนับสนุนการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมากขึ้น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แหล่งรวบรวมอนุรักษ์พืชสมุนไพรท้องถิ่นบ้านแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในพื้นที่สวนสมุนไพรในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีขอบเขตพื้นที่เดิมซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และมีบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงที่สามารถนำมาพัฒนาให้เอื้อประโยชน์กับสวนสมุนไพร เช่น พื้นที่จัดทำโรงเรือนเพื่ออนุบาลพันธุ์พืช พื้นที่สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ในการออกแบบวางผังของพื้นที่สวนสมุนไพร มีแนวคิดหลักของการจัดแบ่งขอบเขต คือ การแบ่งตามส่วนประกอบของร่างกาย ซึ่งสามารถจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วน A เป็นส่วนที่แทนอวัยวะส่วนศีรษะของมนุษย์ ส่วน B เป็นส่วนร่างกายส่วนอกและอวัยะภายใน ส่วน C เป็นส่วนที่ยื่นยาวออกไป คือแขนขา ส่วน D เป็นส่วนร่างกายท่อนล่างอันประกอบไปด้วยระบบย่อยอาหารและระบบสืบพันธุ์ และส่วน E เป็นส่วนลานปริศนา ซึ่งจะมีแนวคิดการจัดวางสมุนไพรที่น่าสนใจ ในการวางผังพืชพรรณแต่ละส่วนของพื้นที่ จะยึดตามการแบ่งส่วนอวัยวะ กล่าวคือ พืชสมุนไพรชนิดใด ช่วยในการรักษาโรคกลุ่มใด ก็จะนำมาจัดปลูกในส่วนนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชม เข้าศึกษาเรียนรู้ได้เห็นความสำคัญและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และเป็นการสร้างอุปนิสัยที่ดีและรู้จักสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ไม่จำเป็นต้องพึ่งยารักษาโรคเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันสวนสมุนไพรดังกล่าว มีพื้นที่และโครงสร้างบางส่วนที่ต้องได้รับการฟื้นฟูและปรับปรุง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม ทรัพยากร การบริหารจัดการ และกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าไปศึกษาเรียนรู้ จึงได้พัฒนาขึ้นเป็น “ศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้” เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านสมุนไพร สรรพคุณและภูมิปัญญาพื้นบ้าน อันเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ในปีที่ผ่านมา (2564) ด้านกิจกรรมการพัฒนาศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้ ประกอบด้วยการสำรวจพื้นที่ ตรวจสอบเรื่องป้ายสื่อความหมาย เส้นทางศึกษาสมุนไพร และทำการปรับปรุง นอกจากนี้ได้ดำเนินการด้านการดูแลงานดูแลรักษา รดน้ำ เพาะขยายพันธุ์พืช พรวนดิน กำจัดวัชพืช ในแปลงสมุนไพร ปรับปรุงข้อมูลพืชสมุนไพร ในระบบฐานข้อมูล ทำการคัดเลือกพืชสมุนไพรมารวบรวมเพื่อการเพาะขยายพันธุ์พืชสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ เกล็ดปลาช่อน (Mecopus nidulans Benn.) กำลังไก่แจ้ (Barleria strigosa Willd.) ขางคันนา (Desmodium heterocarpon var. strigosum Meeuwen) เขืองแข้งม้า (Leea indica (Burm.f.) Merr.) เจตมูลเพลิงขาว (Plumbago zeylanica L.) โด่ไม่รู้ล้ม (Elephantopus scaber L.) ลูกลีบต้น (Phyllodium longipes (Craib) Schindl.) ลูกลึบน้อย (Phyllodium pulchellum (L.) Desv.) หญ้ารากเหลือง (Desmodium oblongum Benth.) และ ฮ่อมเกี่ยว (Strobilanthes sp.) และนำความรู้บูรณาการกับการเรียนการสอนใน 2 รายวิชา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อสำรวจ เก็บรวบรวมพันธุกรรม และภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้าน และพัฒนาเป็นแหล่งรวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้
3. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับการบริการวิชาการแก่ชุมชนใกล้เคียง และผู้รับบริการในเขตภาคเหนือตอนบน
4. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านในระยะต่อไปของโครงการ และผู้รับบริการนอกโครงการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญา พืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 คน 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้าศึกษาดูงานที่มีความรู้เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้ที่เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผลงานที่นำไปบูรณาการกับการเรียนการสอน และงานวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชิ้นผลงาน 2
KPI 5 : จำนวนชนิดสมุนไพรที่รวบรวมและอนุรักษ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
500 ต้น 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญา พืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
การรวบรวมและเก็บรักษาพันธุ์พืชสมุนไพร และดูแลแปลงสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้ เชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 22/11/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์  ธาราฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดเก็บ รวบรวมปลูกเลี้ยงและดูแลแปลงสมุนไพร
(1 คนx 60,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท 36,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 96000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชาวัสดุพืชพรรณสำหรับงานภูมิทัศน์ และวัสดุพืชพรรณและการเลือกใช้
ช่วงเวลา : 22/11/2564 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
แนวทางการอนุรักษ์พืชสมุนไพรหายากและใกล้สูญพันธุ์ ในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่าบ้านโปง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ช่วงเวลา : 22/11/2564 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล