17392 : การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ “Tobiz ธุรกิจจำลอง”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางดวงใจ ไพพงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/10/2564 20:54:26
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/10/2564  ถึง  20/10/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 4 จำนวน 43 คน ซึ่งอยู่ระหว่างลงทะเบียนศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ใน 4 รายวิชาดังนี้ รายวิชา และ ผู้สอน 1) ธท 240 ครัวอินทรีย์ ผู้สอน อ.อรุณโรจน์ พวงสุวรรณ 2) ธท 430 สัมมนาทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ผู้สอน ดร.สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ 3) ธท 331 การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ ผู้สอน อ.อรจนา แสนไชย จันทรประยูร 4) ธท 334 การดำเนินงานบริษัทนำเที่ยวและตัวแทนจัดจำหน่ายระหว่างประเทศ ผู้สอน ดร.ปานแพร เชาวน์ประยูร อุดมรักษาทรัพย์
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ สำนักงานคณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2565 แผนงานการเรียนการสอน งานจัดการศึกษาสาขาพัฒนาการท่องเที่ยว กองทุนเพื่อการศึกษา งบอุดหนุน 2565 21,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. สวิชญา  ศุภอุดมฤกษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.17 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่นการสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69 TDS 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 TDS 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 TDS 2.1.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 65-69 TDS ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่น การสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ประกอบด้วยทักษะสำคัญทั้งหมด 13 ด้าน ตามนโยบายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่กำหนดให้หลักสูตรต่าง ๆ มีการจัดทำหลักสูตรให้เป็นไปตามหลักการ Outcome-Based Education (OBE) หลักสูตรฯ จึงมีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวในแต่ละปี ซึ่งตลอดหลักสูตรฯ ได้วางเป้าหมายการเรียนรู้ของนักศึกษา 7 ข้อ ได้แก่ 1) เข้าใจศาสตร์ทางการท่องเที่ยวและบริการ หลักการจัดการ และจริยธรรมทางธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ 2) ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว 3) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้ 4) สามารถประเมินแนวโน้มของธุรกิจท่องเที่ยวและบริการในอนาคต 5) สร้างแผนธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ที่มีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมได้ 6) ทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีจิตบริการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ และ 7) สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) หลักสูตรฯ ได้ออกแบบรายวิชาให้สอดคล้องกับ PLOs ดังกล่าวข้างต้นทั้ง 7 ข้อ และได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของแต่ละชั้นปีที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 นี้ มีรายวิชาทีเกี่ยวข้อง 4 รายวิชา ได้แก่ ธท 240 ครัวอินทรีย์ ธท 331 การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ ธท 334 การดำเนินงานบริษัทนำเที่ยวและตัวแทนจัดจำหน่ายระหว่างประเทศ และ ธท 430 สัมมนาทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรฯ มีได้กำหนดเป้าหมายให้นักศึกษาสามารถบูรณาการองค์ความรู้ และทักษะด้านการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว สู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประชากรโลกได้ ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สามารถพัฒนาตนเองได้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ หลักสูตรฯ จึงมีแนวคิดในการจัดโครงการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ “Tobiz ธุรกิจจำลอง” เพื่อบูรณาการทั้ง 4 รายวิชา ออกแบบการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้พัฒนากระบวนคิด การวางแผน และการทำงานเป็นทีม ภายใต้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพ ตามวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Outcome-Based Education (OBE) เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน วางแผนการประกอบธุรกิจจำลองในระยะสั้นที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และฝึกปฏิบัติการขายสินค้า/บริการที่ออกแบบไว้ได้จริง ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านกระบวนการแสดงความคิด การวิเคราะห์ การปฏิบัติจริง และการประเมินผลจากการดำเนินธุรกิจจริง เพื่อเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ให้มีความพร้อมสำหรับการเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยวต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดตั้งธุรกิจและการเขียนแผนธุรกิจ
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ในการปฏิบัติจริงในธุรกิจที่เลือกผ่านการสอนงานโดยมืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เลือก
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการผ่านกระบวนการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการและสามารถจัดตั้งธุรกิจจำลองตามเป้าหมายของโครงการได้
KPI 1 : สามารถวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบธุรกิจต่างๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ธุรกิจ 5
KPI 2 : สามารถจัดตั้งธุรกิจจำลองและเขียนแผนธุรกิจได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ธุรกิจ 1
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : สามารถปฏิบัติจริงตามแผนธุรกิจที่วางไว้ได้สำเร็จในระดับ “ดี”
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คะแนนเฉลี่ย 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการผ่านกระบวนการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการและสามารถจัดตั้งธุรกิจจำลองตามเป้าหมายของโครงการได้
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านการสอนงานโดยมืออาชีพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/10/2564 - 20/10/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สวิชญา  ศุภอุดมฤกษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1,200 บาท x 18 ชั่วโมง x 1 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
21,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 21600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่ได้จัดโครงการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล