17356 : โครงการส่งเสริมเทคโนโลยี และพัฒนานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis ปลอดภัยมุ่งสู่อินทรีย์ ที่เพิ่มสารสี phycocyanin เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/10/2564 17:53:26
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2564  ถึง  31/12/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  3  คน
รายละเอียด  นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (ฝึกปฏิบัติทั้งกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ให้เป็นบัณฑิตผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานการบริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ งบประมาณแผ่นดินเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 2563 จำนวน 100,000 บาท 2564 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. จงกล  พรมยะ
อาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านบริหารจัดการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 64 MJU 1.2 มีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (Organic farm & fruit)
ตัวชี้วัด 64 MJU 1.4 ความสำเร็จของการพัฒนา Product Champion (ตลอด Supply Chain)
กลยุทธ์ 64 MJU 1.2.6 พัฒนาผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต้นแบบที่มีความเป็นเลิศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-64-6. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ FT-64-6.2 มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ตัวชี้วัด FT-64-6-5 จำนวนผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
กลยุทธ์ FT-64-6.2.9 ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์การประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สไปรูลิน่า (Spirulina platensis) หรือ อาร์โธรสไปร่า (Arthospira platensis) เป็นไซยาโนแบคทีเรีย ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรมมีมากขึ้น จึงทำให้สาหร่าย สไปรูลิน่าเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงมีความต้องการเพิ่มมูลค่าของสาหร่ายสไปรูลิน่า โดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หนึ่งในผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ คือ อาหารเสริม ซึ่งต้องผ่านการอบแห้ง เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายสไปรูลิน่าไว้ (Jaturonglumlert and Varith, 2013) สาหร่ายสไปรูลิน่าที่สามารถช่วยบำรุง และเสริมการรักษาโรคต่าง ๆ เนื่องจากสาหร่ายสไปรูลิน่ามีองค์ประกอบหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น มีโปรตีนสูงถึง 60% ของน้ำหนักแห้ง และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี อีกทั้งยังเป็นแหล่งของวิตามินโดยเฉพาะวิตามินบี 12 นอกจากนี้ยังมีเบตาแคโรทีน (Beta-Carotene) ธาตุเหล็ก และกรดไขมันจำเป็นที่หายาก เช่น กรด Gamma linolenic ที่พบในพืชบางชนิดเท่านั้น (Boonsom, 1990) นอกจากนี้สาหร่ายสไปรูลิน่ายังมีสาร Phycocyanin เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่มีรงควัตถุเกาะอยู่บนโมเลกุล พบได้ทั่วไปในสาหร่ายในคลาส Cyanophyceae สารที่สกัดจากสาหร่ายสไปรูลิน่าเป็นสารที่มีสีฟ้า เรืองแสงได้ ละลายได้ดีในน้ำ มีคุณสมบัติเป็นสารเพื่อโภชนะบำบัด (Nutraceutical) และมีมูลค่าสูง ในปัจจุบันสารไฟโคไซยานินถูกใช้เป็นสีผสมอาหาร ใช้ในงานวิเคราะห์เนื่องจากไฟโคไซยานินมีคุณสมบัติเป็นสารเรืองแสงจึงใช้เป็นสารติดตาม (Immunoassays) ในงานด้านชีวเคมีนอกจากนี้ในทางการค้ามีการผลิตสารไฟโคไซยานินทั้งในรูปของเหลว และผงแห้งในชื่อต่าง ๆ กัน เช่น Bioprex’s PC ในรูปผง มีทั้งชนิดที่ใช้ในอาหารซึ่งจะมีค่าความบริสุทธิ์ต่ำ และชนิดที่ใช้ในการรวจสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยา ซึ่งมีความบริสุทธิ์ และมีราคาสูงกว่า (Kronick, 1986) ปริมาณไฟโคไซยานินตามธรรมชาติของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแต่ละชนิดมีปริมาณไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ อายุของสาหร่าย ความเข้มแสง คุณภาพแสง และเงื่อนไขการเจริญเติบโต (Ajayan et al., 2012) เช่น ในสาหร่าย Arthrospira (Spirulina) platensis มีไฟโคไซยานินคิดเป็นร้อยละ 40 ของโปรตีนทั้งหมดในเซลล์ (Zhou et al., 2005) การสังเคราะห์พิกเมนต์กลุ่มไฟโคบิลิโปรตีนของสาหร่ายจะตอบสนองได้ดีต่อการเหนี่ยวนำทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคุณภาพแสง (Chorus and Bartram, 1999) โดย Kumar et al. (2011) พบว่า สภาวะของแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟโคบิลิโปรตีนของสาหร่าย Spirulina platensis ในการเลี้ยงแบบคราวเดียวคือที่ 2,000 lux และที่ 35 องศาเซลเซียส และจากการศึกษาการตอบสนองของสาหร่าย Spirulina sp. ต่อความเข้มแสง และอุณหภูมิ พบว่าที่ความเข้มแสงสูง 500 µE/m2/s สาหร่ายผลิตไฟโคไซยานิน และคลอโรฟิลล์ได้น้อยกว่าที่ความเข้มแสง 100 µE/m2/s (0.018 µE/m2/s = 1 Lux) และ Chaiklahan et al (2011) กล่าวว่า ไฟโคบิลิโปรตีนพบได้มากภายในเซลล์ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แต่ไฟโคไซยานินที่สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสังเคราะห์ตามธรรมชาติยังมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการในการใช้ประโยชน์ระดับอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงมีการทำโครงการส่งเสริมเทคโนโลยี และพัฒนานวัตกรรมการการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis ปลอดภัยมุ่งสู่อินทรีย์ ที่เพิ่มสารสี phycocyanin เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าในตัวสาหร่ายสไปรูลิน่าผง ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คณะนักวิจัย จึงมุ่งเน้นเกี่ยวกับ ผลิตสาหร่าย Arthrospira (Spirulina) platensis ภายใต้สภาวะความเข้มแสง 2,000 lux และอุณหภูมิที่ และที่ 35 องศาเซลเซียส (สมเกียรติจ และจงกล, 2559) เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยมุ่งสู่อินทรีย์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการจัดระบบนิเวศน์ ที่ยั่งยืน และเป็นการทำการเกษตรปลอดภัยมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ที่เป็นรูปธรรม เป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรน้ำทำให้เกิดการพัฒนาที่อย่างยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยี และพัฒนานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Arthrospira platensis (Spirulina platensis) และเพิ่มปริมาณไฟโครไชยานิน
เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (สาหร่ายสไปรูลิน่าผง) และผลักดันคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้การรับรองมาตรฐาน
เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (ฝึกปฏิบัติทั้งกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ให้เป็นบัณฑิตผู้ประกอบการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสาหร่ายสไปรูลิน่าผง (ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว)
KPI 1 : ผลการใช้จ่ายของการจัดทำโครงการเป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
KPI 2 : คู่มือกระบวนการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis ที่เพิ่มปริมาณไฟโครไชยานินสูง เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กระบวนการ 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสาหร่ายสไปรูลิน่าผง (ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
18 กิโลกรัม 18
KPI 5 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (ฝึกปฏิบัติทั้งกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ให้เป็นบัณฑิตผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 คน 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสาหร่ายสไปรูลิน่าผง (ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว)
ชื่อกิจกรรม :
1. การเพาะเลี้ยงสไปรูลิน่า
2. สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบสาหร่ายสไปรูลิน่าผง
3. จัดทำคู่มือกระบวนการเพาะเลี้ยง
4. จัดทำรายงานประเมินผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2564 - 31/12/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล  พรมยะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างสาหร่าย เช่น คุณค่าทางโภชนาการ โลหะหนัก สารปนเปื้อน เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาการจัดทำคู่มือกระบวนการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis ที่เพิ่มปริมาณไฟโครไชยานินสูง เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุการเกษตร เช่น สแลนดำ พลาสติก สายรัดพลาสติก เป็นต้น เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงสาหร่าย (NaHCO3 NaNO3 NaCL) ผ้ากรองสาหร่าย เป็นเงิน 35,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
35,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น สายไฟ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึก และและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง เช่น ตาข่ายพลาสติก ท่อ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
8,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อาจเกิดความล่าช้าในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานงาน ดำเนินการให้ได้ตามแผน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล