17317 : หมู่บ้านนักพัฒนาการเกษตรดิจิทัล Village of AgTech Makers (VAM)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/8/2564 14:56:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
31/08/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  125  คน
รายละเอียด  ผู้ประกอบการที่สามารถพัฒนาสินค้าและบริการด้านดิจิทัลการเกษตร (SMEs /Startup) และ ผู้ประกอบการและเกษตรกรมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางการเกษตรไปประยุกต์ใช้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2564 559,000.00
งบประมาณเงินรายได้ คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2564 39,130.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ นนท์  ปิ่นเงิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. จำเนียร  บุญมาก
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.6 ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA64-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ BA64-G9 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด KPI 64-25 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ BA64-S-52 ผลักดันการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับ ประเทศและนานาชาติ ซึ่งเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัยคือ การสร้างและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตรและนวัตกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ รวมถึงประยุกต์เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นหน่วยงานการแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์ และองค์คงวามรู้ทางวิชาการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อยกระดับการผลิตในภาคการเกษตรของประเทศ โครงการหมู่บ้านนักพัฒนาการเกษตรดิจิทัล Village of AgTech Maker (VAM) ต้องการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลิตนักพัฒนานวัตกรรมสำหรับงานทางด้านการเกษตรดิจิทัลอย่างครบวงจร โดยอาศัยพื้นที่และองค์ความรู้จากงานวิจัยการเกษตรอัจฉริยะที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นตัวขับเคลื่อน ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) โดยการสร้างองค์ประกอบพื้นฐานให้เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ ทดลอง เน้นการได้สัมผัสกับปัญหาจริง และใช้องค์ความรู้ที่มาจากงานวิจัยที่ผ่านการทดลองแล้วเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ในโครงการจะประกอบไปด้วย 6 บริการหลัก ดังต่อไปนี้ 1) การให้บริการพื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นส่วนจัดแสดงชิ้นงานในอาคารและสร้างเครือข่ายสำหรับนักพัฒนา (Digital Maker Lab) 2) การให้บริการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรดิจิทัล 3) การให้บริการพื้นที่ทดลองภาคสนามทางการเกษตร (Digital Field Test) 4) การให้บริการเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเกษตรดิจิทัล 5) การให้บริการระบบคลาวด์เพื่องานด้านข้อมูลและ IoT เพื่อการเกษตร 6) การให้บริการที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยการดำเนินงานให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรแบบครบวงจร ภายใต้ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและพัฒนาความเข้มแข็งของผู้ประกอบการภาคการเกษตรทั้ง SMEs , Startup รวมถึงเกษตรกร ทั่วทั้งประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจทางการเกษตร โดยนำผลงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และพันธมิตรสู่การใช้งานจริงในพื้นที่ ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการเกษตร ย่างทั่วถึง พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรใน Ecosystem ด้านการเกษตรให้ก้าวทันเทคโนโลยี ตลอดจนเป็นแหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกร ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ เกษตรสมัยใหม่ ด้านเทคโนโลยีเกษตรเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตภาคการเกษตรของประเทศ รวมถึงจะร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งมหาวิทยาลัยและเครือข่ายพันธมิตร ตลอดจนพัฒนาพื้นที่รองรับการเรียนรู้ในระดับภาคสนามและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมดิจิทัลสู่เกษตร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลให้เกิดการลงทุนหรือประกอบกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลเกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การวิเคราะห์ การทดสอบ การสอบเทียบเครื่องมือ การทดลอง และพื้นที่เพื่อการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ห้องปฏิบัติการ พื้นที่เพื่อการสร้างเครือข่ายธุรกิจอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ระบบคอมพิวเตอร์แบบหมู่เมฆ (Cloud Computing) รวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้ง/เครือข่าย และอื่นๆ
การก่อสร้างเพื่อให้การดำเนินงานโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย รวมถึงระบบ คอมพิวเตอร์แบบหมู่เมฆ (Cloud Computing) ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แบบก่อสร้างอาคารและรายงานศึกษาความเป็นไปได้ การจัดทำแผนการลงทุนหรือแผนธุรกิจ
KPI 1 : แบบก่อสร้างอาคารและรายงานศึกษาความเป็นไปได้ การจัดทำแผนการลงทุนหรือแผนธุรกิจ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฉบับ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แบบก่อสร้างอาคารและรายงานศึกษาความเป็นไปได้ การจัดทำแผนการลงทุนหรือแผนธุรกิจ
ชื่อกิจกรรม :
ออกแบบอาคารและศึกษาความเป็นไปได้ การจัดทำแผนการลงทุน หรือแผนธุรกิจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 31/08/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์นนท์  ปิ่นเงิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าจ้างเหมาออกแบบอาคาร เป็นเงิน 170,130 บาท
2.ค่าจ้างเหมาศึกษาความเป็นไปได้ การจัดทำแผนการลงทุน หรือแผนธุรกิจ เป็นเงิน 428,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 598,130.00 บาท 598,130.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 598130.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล