17154 : โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากห้อม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/5/2564 14:35:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
31/05/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  70  คน
รายละเอียด  นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ และ เกษตรกรบ้านทุ่งโฮ้ง อ เมือง จ.แพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 64 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 64 MJU 4.2 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 64 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64-6. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 64-6.2 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
ตัวชี้วัด 64-6.2.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 64-6.2.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการที่สามารถสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมของสถาบัน/มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ต้นห้อมมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น โดยที่จังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย เรียกห้อมน้อย แม่ฮ่องสอนเรียกครามดอย ส่วนจังหวัดน่านเรียกห้อมเมือง และห้อมหลวง จากฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ต้นห้อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze วงศ์ ACANTHACEAE จากการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นบ้านนาคูหาและบ้านแม่ลัว ตำบลสวนเขื่อน และบ้านนาตอง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบห้อม 3 สายพันธุ์ คือ 1) สายพันธุ์ Strobilanthes cusia เป็นห้อมสายพันธุ์ใบใหญ่ พบที่บ้านแม่ลัวเป็น 2) สายพันธุ์ Strobilanthes auriculate voucher เป็นห้อมสายพันธุ์ในเล็ก พบที่บ้านนาตอง 3) สายพันธุ์ Baphicacanthus cusia voucher เป็นห้อมใบใหญ่ พบที่บ้านนาตอง (ณัฐพร, 2562) พื้นที่ดังกล่าวพบต้นห้อมขึ้นตามธรรมชาติในหมู่บ้านบริเวณสวนหลังบ้านที่ชื้นแฉะโดยเฉพาะข้างลำห้วย บ้านนาตองปลูกห้อม 21 ครัวเรือน บ้านนาคูหา 23 ครัวเรือน และบ้านแม่ลัว 31 ครัวเรือน (ซึ่งแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากส่วนใหญ่จะปลูกริมห้วยในป่า และปลูกแซมกับพืชอื่น) ทั้ง 3 หมู่บ้านตั้งอยู่บนพื้นที่สูงมีสภาพป่าธรรมชาติล้อมรอบ ทำให้มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี ในปัจจุบันต้นห้อมในธรรมชาติมีเหลือไม่มากนัก เนื่องจากมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสวมใส่ผ้าหม้อห้อมทำให้การผลิตและค้าขายเสื้อผ้าหม้อห้อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นห้อมที่นำมาย้อมสีเจริญเติบโตไม่ทันตามความต้องการ จากการสำรวจพบว่า ห้อมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มห้อมใบใหญ่ ได้แก่ สายต้นแพร่ 1 เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา 1 2) กลุ่มห้อมใบเล็ก ได้แก่ สายต้นแพร่ 2 และพะเยา 2 การเจริญเติบโตของห้อมทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน รวมทั้งการให้คุณภาพของสีก็ไม่แตกต่างกันมากนัก กลุ่มห้อมใบใหญ่ให้ผลผลิตห้อมสด 1,407-1,933 กิโลกรัมต่อไร่ ทำเป็นเนื้อห้อมได้ 110-180 กิโลกรัมต่อไร่ และสารอินดิโก 7.06-9.56 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มห้อมใบเล็กให้ผลผลิตห้อมสด 1,600-1,687 กิโลกรัมต่อไร่ ทำเป็นเนื้อห้อมได้ 122-169 กิโลกรัมต่อไร่ และสารอินดิโก 3.46-5.03 เปอร์เซ็นต์ (ประนอม, 2556) ซึ่งราคาห้อมสดจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 15-20 บาท ราคาห้อมเปียกจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 300-400 บาท สายพันธุ์ห้อมที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ Strobilanthes cusia (Nees.) Kuntze หรือห้อมใบใหญ่และยังมีสายพันธุ์ห้อมใบเล็ก Strobilanthes sp. ซึ่งชาวบ้านในชุมชนบ้านนาตองเชื่อว่าสายพันธุ์ใบเล็กให้ปริมาณเนื้อและสีที่ดีกว่าสายพันธุ์ใบใหญ่ แต่ก็ต้องทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต่อไป ในปี 2562 จังหวัดแพร่ได้จัดทำการขอขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในเรื่อง “ผ้าหม้อห้อมแพร่” โดยมีผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 37 คน และเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อม ซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิตและแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถรักษามาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาโดย GI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพให้สามารถยกระดับสินค้าจากท้องถิ่นออกสู่ระดับประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติต้องการห้อมเปียกหรือเปรอะ (Indigo plast) ที่มีคุณภาพในปริมาณที่สูง สืบเนื่องจากการอบรมเรื่องการก่อหม้อห้อมให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมแพร่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 พบปัญหาเรื่องของปริมาณเนื้อห้อมเปียกที่ไม่เพียงพอต่อการก่อหม้อย้อมของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่เนื่องจากใบห้อมที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดแพร่มีลักษณะใบบางความเข้มของการติดสีน้อย เปอร์เซ็นต์การให้เนื้อห้อมน้อยเกิดจากผู้ปลูกพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก และยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าที่ต้นห้อมมักเป็นโรคนี้กันค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงที่มีความชื้นสูงทำให้ดินมีความชื้นสูงตามไปด้วย จุลินทรีย์ร้ายต่าง ๆ ที่อยู่ในดินเจริญเติบโตแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ได้ดีและเร็ว สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟทอฟโธรา (Phytophthora parasitica Dastur) เชื้อราโรคพืชกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในดินปกติอยู่แล้ว รอเวลาที่ต้นพืชที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟทอปโธราก็จะเข้าเข้าลาย สังเกตได้จากเวลาพบต้นห้อมเป็น โรครากเน่าโคนเน่า จะไม่พบการระบาดทั่วทั้งแปลงแต่จะพบเป็นบางต้นและค่อย ๆ ลุกลามไปยังต้นข้างเคียงแสดงให้เห็นว่า เชื้อราไฟทอฟโธราจะเข้าทำลายต้นที่อ่อนแอมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่ำที่สุด แต่ถ้าดูแลให้ต้นห้อมแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะลดลงตามไปด้วย การแก้ปัญหาดังกล่าวผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการปลูกห้อมควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกห้อมให้อาหารทางใบสำหรับต้นห้อมและการใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ บิวเวอเรีย เมธาไรเซียมป้องกันแมลง ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพิ่มความหนาของใบ และเม็ดสีของใบห้อมใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ราสนิมน้ำค้าง ซึ่งพบว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพหลายชนิด แต่ถ้าเกิดใช้เอนโดไฟติกเเบคทีเรียเพียงชนิดเดียวสามารถให้ประสิทธิผลครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน จากงานวิจัยการใช้เชื้อเอนโดไฟตอกแบคทีเรียของ ณัฐพร (2561) สามารถทำให้ต้นห้อมสามารถปลูกในพื้นที่ราบได้โดยควบคุมความชื้นให้อยู่ที่ 75-80 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า ห้อมให้ผลผลิตที่ดีมีขนาดต้นที่สูงขึ้น จำนวนกอและกิ่งเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว อีกทั้งปริมาณเนื้อห้อมเพิ่มสูงขึ้น และให้การเปลี่ยนสีที่ดีขึ้นเมื่อใช้รวมกับเชื้อจุลินทรีย์ในการก่อหม้อ (ณัฐพร, 2562) และเนื่องจากจังหวัดแพร่ต้องการผลักดันผ้าหม้อห้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงบรรจุงานต่าง ๆ เรื่องห้อมไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด โดยจะอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีเป้าหมาย คือ 1) ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 2) ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่า คือ 1) เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมการนำอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตร 2) เกษตรปลอดภัย ให้ความรู้ สนับสนุนกลไกตลาด เปลี่ยนผ่านสู่เกษตรอินทรีย์ 3) เกษตรชีวภาพ ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากฐานเกษตรกรรมฐานทรัพยากรชีวภาพ 4) เกษตรแปรรูป เพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตรพรีเมียม 5) เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณห้อมและกำลังการผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ จึงต้องมีการนำชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมแพร่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ชีวนวัตกรรม คือ ความก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่สามารถพลิกฟื้นการเกษตรที่เป็นรากฐานของสังคมไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมกับอารยะประเทศ จากการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เข้ากับเกษตรแบบดั้งเดิม เพื่อให้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วยสารชีวภัณฑ์ (Bio product) ที่มีความปลอดภัย เพื่อลดการใช้สารเคมี และยาปฏิชีวนะที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยในการลดต้นทุน และสามารถควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ ความสำคัญของชีวนวัตกรรม คือ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สามารถช่วยในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระยะยาวได้ เนื่องจากชีวนวัตกรรม ถือเป็นโมเดลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการยกระดับสินค้าเพื่อให้ออกสู่ตลาดสากล และลดต้นทุนในกระบวนการผลิตในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร เป็นต้น โดยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้า และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Growth engine) อีกทั้งสามารถผลักดัน และพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศให้มีประสิทธิภาพ และใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างคุ้มค่า โดยการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะส่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่มั่นคง ซึ่งผู้วิจัยมีองค์ความรู้ในด้านชีวนวัตกรรมในการปลูกห้อมให้ทนต่อโรค เพิ่มการเจริญเติบโต เพิ่มคุณภาพสี ทั้งยังทำให้ได้ห้อมอินทรีย์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาการใช้เอนโดไฟติกแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากรากห้อม และคัดแยกจุลินทรีย์ในน้ำหมักห้อม (หม้อย้อม) ที่มีคุณภาพสูงต่อการย้อมห้อมและได้จดสิทธิบัตรงานดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น สิทธิบัตรจุลินทรีย์อัดแท่งเพื่อใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ สิทธิบัตรการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ผงต่อการก่อหม้อ สิทธิบัตรการใช้ห้อมผงเพื่อใช้ในการย้อม รวมทั้งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากห้อมโดยการใช้ห้อมผง หัวเชื้อจุลินทรีย์ผง เป็นชุด Kit พร้อมย้อมให้กับชุมชนจากทุนสนับสนุนของ BEDO ทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ณัฐพร (2563) ได้ทำการจดทะเบียนสิทธิบัตรเกี่ยวกับหม้อห้อมทั้งสิ้น 3 เรื่อง คือ 1) กระบวนการสร้างสีลิวโคอินดิโกแบบแห้ง เลขที่สิทธิบัตร 2001001405 2) การก่อหม้อและกรรมวิธีการผลิตสิ่งนั้น เลขที่สิทธิบัตร 2003000405 และ 3) ผลิตภัณฑ์ห้อมผงและกรรมวิธีการผลิต เลขที่สิทธิบัตร 2001001102 ซึ่งเป็นชีวนวัตกรรมที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อม และได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ห้อมผงนาตอง หัวเชื้อจุลินทรีย์ในการสร้างสี Leuco Indigo แบบแห้งเพื่อใช้ในการก่อหม้อในการย้อมผ้าหม้อห้อม ผลิตภัณฑ์ชุด Kit สีน้ำระบายสี และผลิตภัณฑ์ห้อมเปียกนาคูหา รวมทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์จากการสนับสนุนงบประมาณจาก BEDO และกำลังทำการวิจัยทดลองปลูกห้อมโดยใช้ ชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วย เรื่องผลของเอนโดไฟติกแบคทีเรีย Psenaloxanthomoras spadix MJUP08 ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของห้อมในจังหวัดแพร่อีกด้วย ตามธรรมชาติได้พบว่าการเจริญเติบโตของรากเบียน (Haustoria) ที่ต้องอาศัยรากพืชชนิดอื่นช่วยในการเจริญเติบโต อีกทั้งรากยังมีความเปราะบางมากจากการศึกษาการเพาะเมล็ดผักหวานป่าร่วมกับการใช้จุลินทรีย์ดินที่มีศักยภาพส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช (Plant Growth-Promoting (PGP) Microorganisms) กับการปลูกห้อมเป็นแนวความคิดที่เกิดจากการใช้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชและจุลินทรีย์ (Plant-microbe interaction) เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และความแข็งแรงของพืชโดยเฉพาะส่วนราก เนื่องจากห้อมมีระบบรากที่ไม่แข็งแรงและเปราะหักง่ายซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดหลังการย้ายปลูกที่ต่ำมาก มีรายงานการใช้จุลินทรีย์ PGP ในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของพืชป่า (Forest trees) และพบว่าได้ผลดีดังแสดงในบทความของ Saharan and Nehra (2011) รวมทั้งการใช้ใน Loblolly pine (Estes et al., 2004) และ Cardon cactus (Bashan et al., 2009) อีกทั้งห้อมต้องการปัจจัยทางอินทรีย์ในการเจริญ เช่น ไม่ชอบการใส่ปุ๋ย และต้องการความเป็นกรด-ด่างของดินต้องเหมาะสม ปัจจุบันพบว่าการเพาะปลูกห้อมต้องอาศัยยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีมากขึ้น ส่งผลให้ดินเสื่อมสภาพและลดความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมากโดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน (ยูเรีย) ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลเสียต่อความสมบูรณ์ของพืช และยังเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับเกษตรกร เพื่อช่วยลดการเสื่อมสภาพของดินที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหาทางเลือกอื่น ๆ เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และกระตุ้นการเจริญเติบโตและผลผลิตของสีครามของห้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมถึงการเพิ่มความสูงของต้น ขนาดกอของต้น ความยาวของรากห้อม ปริมาณเนื้อห้อม และคุณภาพสีครามของห้อม ด้วยเหตุนี้เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรรมในการปลูกห้อม จึงได้มีการศึกษาเชื้อแบคทีเรียที่ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและผลผลิตที่ดี เชื้อแบคทีเรียที่ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช หรือ เอนโดไฟติกแบคทีเรีย (Laskar et al., 2013) ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้มีหน้าที่สำคัญในการรักษาคุณภาพดินตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศและในดินให้อยู่ในรูปของแอมโมเนียม (NH4+) และไนเตรท (NO3+) ช่วยผลิตฮอร์โมน IAA และไซโตรไคนิน (Clay and Schardl, 2002) โดยสารทั้งหมดที่แบคทีเรียได้สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเพิ่มขึ้น (Herbert and Donald, 1973) นอกจากนี้เอนโดไฟติกแบคทีเรียยังมีการผลิตสารปฏิชีวนะในการต่อต้านเชื้อก่อโรคด้วย (ธนากร, 2557) สุทธวรรณ และคณะ (2559) ศึกษาการใช้แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนร่วมกับวัสดุตัวกลางชีวภาพเพื่อการส่งเสริมการเจริญของคะน้าสามารถช่วยให้ความสูงของลำต้น ความยาวของใบเจริญเติบโตได้ดีกว่าคะน้าที่ไม่เติมแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนลงดิน ณัฐพร และอัญศญา (2562) ได้คัดแยกเอนโดไฟติกแบคทีเรียจากรากของห้อม ผักหวานป่า และข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแพร่ โดยพบเอนโดไฟติกแบคทีเรียสายพันธุ์ Bacillus nealsonii MJUP09 ซึ่งสามารถสังเคราะห์สาร IAA สูงถึง 85 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยสามารถตรึงไนโตรเจนได้เท่ากับ 0.1036 เปอร์เซ็นต์ จวงจันทร์ และกุลวดี (2561) พบเชื้อ B. nealsonii ที่ได้จากการคัดแยกจากดินในจังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และชัยนาท พบว่าเชื้อ B. nealsonii มีความเหมาะสมต่อการนำไปศึกษาโครงสร้างทางเคมีเนื่องจากมีคุณสมบัติในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตได้สูง เห็นสมควรในการศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตในระดับโรงเรือน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชต่อไป กระแสการตื่นตัวในการอนุรักษ์และส่งเสริมใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งการย้อมผ้าจากสีที่ได้จากธรรมชาติถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า แต่กลับไม่ได้รับความสนใจหรือได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร การใช้สีย้อมจากธรรมชาติยังมีการใช้อยู่เพียงบางท้องถิ่น และนับวันยิ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ ทั้งผู้บริโภค และผู้ผลิต เนื่องจากหันมาใช้สารเคมีซึ่งใช้ได้ง่าย และสะดวกกว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิปัญญาในการย้อมสีธรรมชาติอาจเกิดการสูญหายได้ การย้อมผ้าดังกล่าวต้องใช้เวลาในการย้อมหลายครั้ง และหลายวันกว่าจะได้สีที่ติดทน และสวยงามตามจินตนาการ และประสบการณ์ของผู้ย้อม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย แต่ปัจจุบันความต้องการมีเพิ่มมากขึ้นกรรมวิธีดังกล่าวล่าช้าและไม่ทันต่อความต้องการของผู้ประกอบการหลาย ๆ รายได้หันมาใช้สารเคมีในการย้อมซึ่งทั้งถูกกว่าและสีติดดีกว่า รวมทั้งยังใช้เวลาน้อยกว่าหลายเท่าตัว แต่ผลเสีย คือ สีที่ใช้เป็นสีเคมีย่อมมีพิษต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นธรรมชาติ และสุดท้ายภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมมาอาจสูญหาย หรือลางเลือนไป น้ำหมักของห้อมน่าจะมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถช่วยกระบวนการย้อมผ้าหม้อห้อม ในน้ำย้อมห้อมแบบธรรมชาติมีเชื้อจุลินทรีย์เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโก โดยส่วนใหญ่เป็น Bacillus sp. และแม้ว่าปัจจุบันจะมีการคัดแยกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกบลู มากขึ้น แต่กระบวนการศึกษาถึงกลไกการทำงานของแบคทีเรีย ดังกล่าวยังมีไม่มากนัก เช่น Compton et al. (2005) รายงานว่า Clostridium isatidis สามารถเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโกได้จากการเข้าไปจับกับอนุภาคของอินดิโกบลูแล้วทำการย่อยไปเป็นลิวโคอินดิโก ในทางกลับกัน Takahara and Tanabe (1960) กล่าวว่าปฏิกิริยารีดักชั่นที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการส่งถ่ายอิเล็กตรอนในระบบ ดังนั้น การศึกษาการคัดแยก การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโก จึงยังเป็นที่สนใจ สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม (Sarethy et al., 2011) เนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีร่วมกับกระบวนการย้อมสีผ้าประกอบกับ ปัจจุบันความนิยมทางด้านผ้าย้อมธรรมชาติมีมากขึ้น จึงทำให้อุตสาหกรรมการย้อมสีห้อมแบบธรรมชาติได้รับ ความนิยมมากขึ้นตามลำดับ และจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถนำไปผลิตเป็นหัวเชื้อสำหรับประยุกต์ใช้ในกระบวนการย้อมสีห้อมแบบธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมีในอนาคต ซึ่งอาจช่วยลดระยะเวลาของการหมักน้ำย้อม อาจช่วยให้กระบวนการย้อมผ้าให้สั้นลง สามารถควบคุมคุณภาพของสีย้อมที่ได้อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผ้าหม้อห้อมได้ และช่วยดำรงรักษาภูมิปัญญาการย้อมผ้าหม้อห้อมของชาวทุ่งโฮ้งให้ยั่งยืนสืบไป ณัฐพร (2562) กล่าวว่าปัจจุบันใช้ผงครามหรือครามเกล็ดที่ได้จากกระบวนการทางเคมี (สารเคมี) มาก่อหม้อเพื่อใช้ในการย้อมผ้าแต่เทคโนโลยีที่ใช้ในครั้งนี้จะเป็นการใช้ห้อมผงที่ได้จากธรรมชาติ มาทำให้เป็นผงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาคุณภาพของการให้สีและการติดสีในผ้าด้วยวิธีการทางชีวเคมีร่วมกับจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้จากน้ำก่อหม้อที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีอินดิโก (Indigo) เป็นลิวโคอินดิโก (Leuco Indigo) ที่ดีที่สุด พร้อมส่งไปจำแนกสายพันทางชีวโมเลกุลด้วยเทคนิค 16S rRNA คือ สายพันธุ์ Bacillus cereuse MJUP09 ที่มีความเหมือนกับ Bacillus cereuse 99% โดยมีปริมาณ Leuco Indigo ที่สร้างขึ้นเท่ากับ 9.5688 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มาพัฒนาให้อยู่ในรูปของเชื้อแห้งในกระดาษกรองพร้อมใช้งาน สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของพืชเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่ คือ ห้อม จึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการ “การพัฒนากระบวนปลูกและการย้อมห้อมธรรมชาติด้วยชีวนวัตกรรม พื้นที่จังหวัดแพร่” เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในพื้นที่ต้นน้ำ คือ การปลูกห้อมด้วยชีวนวัตกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น มีคุณภาพสีดีขึ้น ต้นห้อมมีความแข็งแรงต้านทานต่อโรครากเน่าโคนเน่ามุ่งสู่การปลูกพืชในวิถีอินทรีย์ การทำห้อมเปียกและห้อมผง ส่วนพื้นที่กลางน้ำพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในการก่อหม้อด้วยเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ (ต่อยอดจากงานวิจัย สวทช. ปี 2561) ร่วมกับผงด่าง ผงกรด ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ ให้เป็นทางเลือกของพื้นที่ต้นน้ำที่จะใช้ห้อมเปียกหรือห้อมผงในการก่อหม้อก็ได้เพื่อให้เกิดทางเลือกที่จะต่อยอดและพัฒนากระบวนการผลิตของตนเอง และสามารถควบคุมคุณภาพของน้ำย้อมห้อมได้ และพื้นที่ปลายน้ำพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทันต่อความต้องการของตลาด อันจะนำไปสู่การสร้างทัศนคติและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจจังหวัดแพร่ แก่เกษตรกร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถขายใบห้อมสดได้ในราคาที่สูงขึ้นได้จากการใช้จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนกลุ่มเอนโดไฟติกแบคทีเรียสายพันธุ์ Psenaloxanthomoras spadix MJUP08 และสามารถควบคุมผลผลิตในนอกฤดูที่มีปริมาณห้อมน้อยลงได้ สามารถขยายพื้นที่ในการปลูกได้โดยไม่จำเป็นต้องปลูก บนดอยสูง อีกทั้งยังทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการปลูกได้อีกด้วย (ละเลิกการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง) จากการใช้ชีวนวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ทางชีววิทยาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถช่วยต่อยอดภูมิปัญญาการผลิตห้อมตั้งแต่ ต้นทางน้ำ (การปลูก) กลางน้ำ (การก่อหม้อและการย้อม) และปลายน้ำคือผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายได้จริงทางการตลาดเพื่อความยั่งยืนของหม้อห้อมแพร่ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืนสืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนปลูกและการย้อมห้อมธรรมชาติด้วยชีวนวัตกรรมให้แก่เกษตร ผู้ประกอบ ในพื้นที่จังหวัดแพร่
2 เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้กระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อมด้วยวิธีชีวนวัตกรรม
3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างการเป็นผู้ประกอบการที่สามารถสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมของสถาบัน/มหาวิทยาลัยได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรสามารถใช้ชีวนวัตกรรมในการปลูกห้อม
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ปริมาณห้อมให้ผลผลิตที่ดี ปริมาณเนื้อห้อมเพิ่มสูงขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 4 : จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยีการใช้ชีวนวัตกรรมในการปลูกห้อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 คน 60
ผลผลิต : ผู้ประกอบการสามารถใช้ชีวนวัตกรรมในการย้อมผ้า
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนร้านค้า/ผู้ประกอบการที่ได้รับการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยีการใช้ชีวนวัตกรรมในการย้อมผ้า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
7 ร้านค้า 7
KPI 4 : จำนวนนักศึกษาที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นผู้ประกอบการที่สามารถสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมของสถาบัน/มหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 5 : ผู้ประกอบการใช้สีจากห้อมธรรมชาติในการย้อม ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรสามารถใช้ชีวนวัตกรรมในการปลูกห้อม
ชื่อกิจกรรม :
อบรมการพัฒนากระบวนการปลูกห้อมด้วยชีวนวัตกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 31/05/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : ผู้ประกอบการสามารถใช้ชีวนวัตกรรมในการย้อมผ้า
ชื่อกิจกรรม :
อบรมการใช้ชีวนวัตกรรมในการการก่อหม้อและย้อมผ้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 31/05/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล