17139 : วิทยาลัยนานาชาติสู้ภัย Covid-19 ด้วยผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางจูลี่จาน่า ศิริคำปา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/5/2564 11:33:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/12/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  10 สถานที่ให้บริการวิชาการ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยนานาชาติ 2564 1,037,530.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ระพีพันธ์  แดงตันกี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. วินิตรา  ลีละพัฒนา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 64 MJU 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด 64 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ 64 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เทคโนโลยีซิลเวอร์นาโนเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากความรู้ของคนในแถบยุโรปยุคเก่านับร้อยปีที่นำเหรียญเงินแช่ลงในถังน้ำนม เพื่อชะลอการบูดเน่าและสามารถเก็บน้ำนมได้นานกว่าปกติ แต่ในปัจจุบันได้นำนาโนเทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาโดยทำให้เงินเป็นอนุภาคเล็กๆระดับนาโน หรือ 10-9 เท่า เพื่อสามารถแทรกลงไปในเนื้อผ้า พ่นเคลือบบนผิว ทำสารละลายกำจัดเชื้อโรค หรือนำมาเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ที่ต้องการ เมื่ออากาศเกิดความชื้นหรือมีละอองน้ำ ซิลเวอร์อิออนจะถูกปล่อยออกมาเกิดกลไกการยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค ผลึกของซิลเวอร์นาโนหรืออนุภาคเงินขนาดเล็กระดับนาโนเมตรมีพื้นที่ผิวมากทำให้โอกาสการสัมผัสกับเชื้อโรคมีมากเช่นกันเป็นผลให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคเพิ่มสูงขึ้น ซิลเวอร์นาโนมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างมากกับโปรตีนของเชื้อโรคที่มีองค์ประกอบของโปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักดังนั้นเมื่อเชื้อโรคสัมผัสกับอนุภาคเงินขนาดจิ๋วนี้ มันจะมีผลต่อระบบเมทาโบลิซึมเกิดการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มันยังทำลายระบบหายใจ ระบบขนย้ายอิเล็กตรอนในกระบวนการเมทาโบลิซึมและระบบขนย้ายซับสเตรทในเยื้อหุ้มเซลล์ ยิ่งไปกว่านั้นซิลเวอร์นาโนยังยับยั้งการเพิ่มจำนวนและการเจริญของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ,กลิ่น, อาการคัน และการเกิดแผล ซิลเวอร์นาโนที่ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นคอลลอยด์น้ำของอนุภาคซิลเวอร์นาโนขนาดอนุภาค 5 – 100 นาโนเมตร ความเข้มข้น 10 – 100,000 ส่วนในล้านส่วน (0.001 – 10% โดยน้ำหนัก) อนุภาคซิลเวอร์นาโนมีความเสถียรสูง สามารถเก็บไว้ได้นานมากกว่า 6 เดือนโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ คอลลอยด์ความเข้มข้นสูงนี้จะมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อทำให้เจือจางจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ Surface Plasmon Resonance ของอนุภาคซิลเวอร์นาโน คอลลอยด์น้ำความเข้มข้นสูงของอนุภาคซิลเวอร์นาโนนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเพิ่มสมบัติการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียและ/หรือกำจัดเชื้อโรคได้ทันที โดยใช้เป็นส่วนผสม ใช้เป็นสารเติมแต่ง หรือ ใช้เคลือบผิวผลิตภัณฑ์ อนุภาคซิลเวอร์นาโนจะเป็นแหล่งผลิตไอออนของเงิน (Silver Ion, Ag+) ซึ่งทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ในด้านประสิทธิภาพของซิลเวอร์นาโนกับเชื้อไวรัสนั้นมีงานวิจัยหลายชิ้นที่รวบรวมประสิทธิภาพของการทำลายเชื้อไวรัสของซิลเวอร์นาโน Gaodiaro และคณะ(2011) ได้รวบรวมงานวิจัยและสรุปผลประสิทธิภาพของโลหะอนุภาคนาโนโดยพาะซิลเวอร์นาโนพบว่าซิลเวอร์นาโนและโกลด์นาโนมีผลในการทำลายเชื้อไวรัสในวงกว้าง 7 กลุ่ม ซึ่งไวรัสโควิต 19 รวมอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ Morris และคณะ(2019) ได้สรุปกลไกในการฆ่าเชื้อไวรัสของซิลเวอร์นาโน ทั้งนี้วิทยาลัยนานาชาติจึงเห็นความสำคัญของการนำนำ้ยาซิลเวอร์นาโนเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการฆ่าเชื่อโรคให้กับอาคารสำนักงาน อาคารคณะ/สำนัก ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทุกอาคาร และอาคารที่จัดตั้งเป็น โรงพยาบาลสนาม รวมทั้งชุมชนต่างๆ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อใช้ผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโนในการฆ่าเชื้อโรคกับอาคารสำนักงาน อาคารคณะ/สำนัก ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทุกอาคาร และอาคารที่จัดตั้งเป็น โรงพยาบาลสนาม
เพื่อใช้ผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโนในการฆ่าเชื้อโรคภายในชุมชนต่างๆ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโน
KPI 1 : จำนวนน้ำยาซิลเวอร์นาโน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
8000 ลิตร 8000
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโน
ชื่อกิจกรรม :
สู้ภัย Covid-19

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/12/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์  แดงตันกี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตน้ำยา ซิลเวอร์ นาโน จำนวน 8,000 ลิตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,037,530.00 บาท 1,037,530.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1037530.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล